สาว ๆ ควรรู้ : วิธีตรวจมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตัวเอง
1. ยืนส่องกระจกปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
- ดูว่าเต้านมทั้งสองข้าง มีการเปลี่ยนแปลงจากปกติหรือไม่
- หัวนมมีการเปลี่ยนสี หรือมีของเหลวออกจากหัวนมหรือไม่
2. ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ
- เพื่อดูด้านหน้าและด้านข้างของเต้านมว่ามีความผิดปกติ เช่น รอยยุบ รอยบุ๋ม หรือไม่
3. เอามือเท้าเอวเกร็งหน้าอก โค้งตัวมาข้างหน้า
- ดูเต้านมที่ห้อยมาข้างหน้าว่าผิดปกติหรือไม่
- หัวนมบิดเบี้ยวหรือไม่
4. ท่านอนราบ
- สอดผ้าขนหนูม้วนใต้ไหล่ข้างที่จะตรวจ โดยให้แขนตั้งฉากกับไหล่
- ใช้ปลายนิ้ว 3 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางคลำทั่วทั้งเต้านมไปจนถึงรักแร้และไหปลาร้า
5. ท่าขณะอาบน้ำ
- ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำในลักษณะเดียวกันกับท่านอนราบ
- ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดใหญ่ให้ใช้มือข้างเดียวกับเต้านม และตรวจคลำจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำจากด้านล่าง
6. วิธีการคลำ
- คลำจากบริเวณใต้ราวนมจนถึงกระดูกไหปลาร้า โดยวนนิ้วมือเป็นวงกลมเล็กๆ ในแนวขึ้น และลงสลับกันไป เรื่อยๆ จนทั่วเต้านม
7. วิธีการกด 3 ระดับ
- กดเบา ให้รู้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง
- กดปานกลาง ให้รู้สึกถึงกึ่งกลาง
- กดหนัก ให้รู้สึกถึงส่วนลึกเนื้อนมใกล้กระดูกอก[3]
7 เรื่อง มะเร็งเต้านม ที่หลายคนอาจยังไม่รู้!!
1. นมเล็ก เสี่ยงเป็นมะเร็งน้อยกว่าจริงหรือไม่??
ขนาดของหน้าอก ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ขนาดหน้าอกมีขนาดแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับ เนื้อเยื่อไขมัน (fatty) ส่วนมะเร็งเต้านมนั้นเกิดขึ้นในเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเซลล์ที่อยู่ในท่อน้ำนม (ductal cancer) บางส่วนเกิดขึ้นในเซลล์ที่อยู่ในต่อมผลิตน้ำนม (lobular cancer) และส่วนน้อยเกิดจากเนื้อเยื่ออื่น ๆ
อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านม (breast density) มากกว่า 75% มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 4-6 เท่า
การวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงข้ามเพศ ที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ชายปกติทั่วไป การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันในผู้หญิงข้ามเพศที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน
ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์มาติน เดน ไฮเจอร์ (Professor Martin den Heijer) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยในอัมสเตอร์ดัม พบว่าผู้หญิงข้ามเพศมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายประมาณ 47 เท่า โดยการศึกษาผู้หญิงข้ามเพศจำนวน 2,260 คน อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มการรักษาด้วยฮอร์โมนคือ 31 ปี และใช้เวลาในการรักษาโดยเฉลี่ย 13 ปี พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 15 ราย ที่อายุเฉลี่ย 50 ปีและหลังจากได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเฉลี่ย 18 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าความเสี่ยงในสตรีข้ามเพศจะเพิ่มขึ้นในระหว่างการรักษาด้วยฮอร์โมน แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไป
3.มะเร็งเต้านม ไม่จำเป็นต้องมีก้อนในเต้านมเสมอไป
ปกติเซลล์มะเร็งเต้านมจะก่อตัวเป็นเนื้องอกที่มักตรวจพบได้จากการเอกซเรย์หรือคลำได้เป็นก้อน หากตรวจพบก้อนเนื้องอก ต้องเข้าใจว่า ก้อนเนื้อในเต้านมส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย และไม่ใช่มะเร็ง การเกิดเนื้องอกในเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็งคือการเติบโตที่ผิดปกติ แต่จะไม่แพร่กระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ และไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เนื้องอกบางชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งเต้านมได้
มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่เริ่มในท่อที่นำน้ำนมไปที่หัวนม (มะเร็งท่อน้ำนม) บางส่วนเริ่มต้นในต่อมที่สร้างน้ำนม (มะเร็งต่อมน้ำนม) นอกจากนี้ยังมีมะเร็งเต้านมประเภทอื่นๆ ที่พบได้น้อย เช่น ก้อนเนื้องอกชนิดกึ่งมะเร็ง (phyllodes tumor) และมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (angiosarcoma)
แม้ว่ามะเร็งเต้านมหลายชนิดอาจทำให้เกิดก้อนในเต้านม แต่ก็ไม่เสมอไป ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองประจำปี การตรวจพบมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มาจากการตรวจคัดกรองแมมโมแกรม ซึ่งสามารถตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและก่อนมีอาการ ความจริงที่น่าสนใจคือหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี มะเร็งเต้านมก็เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
4.มะเร็งเต้านมมักเกิดในผู้หญิง แต่ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน
แม้ความเสี่ยงของผู้ชายจะเป็นเพียง 1- 0.5 ของผู้หญิง 100 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่ไม่ควรที่จะละเลยต่อโรคนี้ว่าเกิดได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เนื่องจากมีผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมน้อยมาก ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายมีน้อยหรือเป็นไปด้วยความลำบาก จึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึงโรคนี้สักเท่าไหร่ และเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และส่งผลให้ผู้ชายโดยมากไม่ให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมของตน ส่วนในรายที่พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมก็มักจะอยู่ในระดับขั้นที่รุนแรงแล้ว ทำให้ยากต่อการรักษาและมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง
5.มะเร็งเต้า แพร่กระจายผ่านท่อน้ำเหลือง
มะเร็งเต้านมสามารถแพร่กระจายได้เมื่อเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบเลือดหรือน้ำเหลืองและถูกส่งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ต่อมน้ำเหลืองพบได้ทั่วร่างกาย ท่อน้ำเหลืองทำหน้าที่ขนส่งน้ำเหลือง ซึ่งประกอบด้วยของเสีย รวมทั้งเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ท่อน้ำเหลืองจะนำน้ำเหลืองออกจากเต้านม ในกรณีที่เป็นมะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งสามารถเข้าไปในท่อน้ำเหลืองและเริ่มเติบโต จากนั้นก็เดินทางผ่านระบบน้ำเหลือง แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ยิ่งมีต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งเต้านมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะพบมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ มากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่มีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองจะมีการแพร่กระจาย และผู้ป่วยที่ไม่มีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองก็อาจจะเกิดการแพร่กระจายในภายหลังได้
6.แมมโมแกรม ตัวช่วยสาว ๆ ห่างไกล มะเร็งเต้านม
แมมโมแกรม เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจภาพรังสีเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดภายในเนื้อเต้านมได้ชัดเจนขึ้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การเอกซเรย์เต้านม
ความถี่ในการการตรวจคัดกรอง หรือการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม ขึ้นอยู่กับอายุ และความเสี่ยงของแต่ละคน ผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มทำแมมโมแกรมเมื่ออายุ 40 ปีและทำทุก 1-2 ปี สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society) แนะนำให้ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยตรวจคัดกรองแมมโมแกรมทุกปีเมื่ออายุ 45 ปีจนถึงอายุ 54 ปีจากนั้นให้ทำต่อทุก 2 ปี สำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมอาจเริ่มตรวจคัดกรองแมมโมแกรมก่อนอายุ 40 ปีรวมถึงปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยง
7.ผู้ที่เสริมหน้าอก อาจตรวจเต้านมด้วยวิธีการคลำได้ลำบาก
การตรวจเต้านมของผู้ที่ได้รับการเสริมหน้าอก อาจตรวจเต้านมด้วยวิธีการคลำได้ลำบาก ต้องใช้การตรวจแมมโมแกรม ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติของเต้านมได้ทั้งผู้หญิงที่มีอาการหรือไม่มีอาการของโรค หากเป็นการตรวจในผู้ที่ไม่มีอาการจะเป็นการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม (Screening Mammogram) แต่หากตรวจในผู้ที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น คลำเจอก้อนที่เต้านม เจ็บบริเวณเต้านม เนื้อเต้านมหนาตัวขึ้นผิดปกติ มีของเหลวไหลออกจากหัวนม ลักษณะหรือขนาดเต้านมเปลี่ยนแปลงไป จะเป็นการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อค้นหาสาเหตุของก้อนเนื้อหรือความปกติที่พบว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ เพราะสัญญาณเหล่านี้ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม แม้จะเป็นโรคที่คร่าชีวิตสาว ๆ เป็นอันดับต้น ๆ แต่เราสามารถป้องกันโรคร้ายไม่ให้เกิดกับตัวเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ เพียงแค่คุณหมั่นดูแล ตรวจหาความผิดปกติของเต้านม และคอยเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถห่างไกลโรคมะเร็งร้ายนี้ได้ มะเร็งเต้านม รักษาให้หายขาดได้หากเจอเชื้อก่อนในระยะเริ่มต้น ดังนั้น อย่าประมาทกันนะสาว ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1มะเร็งเต้านม. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
2,3มะเร็งเต้านม. กรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
โรคผื่นกุหลาบ ในเด็ก ลูกไข้สูงเฉียบพลัน ตัวร้อนไม่หาย พ่อแม่ต้องระวัง!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่