แม่รีบอ่าน..ก่อนซื้อ!! ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจ เครื่องดื่มวิตามินซี เครื่องดื่มผสมวิตามิน พบ 8 จาก 47 ตัวอย่าง ไม่พบปริมาณวิตามินซี ตามที่แจ้งบนฉลาก
เผยรายชื่อ 8 ตัวอย่าง เครื่องดื่มวิตามินซี
ตรวจไม่พบปริมาณวิตามินซี!?
ปัจจุบันเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและมีการเติบโตทางการตลาดสูงก็คือ เครื่องดื่มวิตามินซี ซึ่งจัดเป็นเครื่องดื่มประเภทฟังก์ชันนัล (Functional Drinks) หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Health Beverage) โดยเครื่องดื่มเหล่านี้มักจะมีการกล่าวอ้างสรรพคุณว่าช่วยเพิ่มเติมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในแต่ละวัน เช่น เสริมวิตามินซี เสริมกรดอะมิโน เสริมคอลลาเจน หรือมีวิตามินบีรวมต่าง ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำขั้นต่ำต่อวันก็คือ 60 มิลลิกรัม (อ้างอิงจากค่า Thai RDI ซึ่งเป็นค่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป) ส่วนความต้องการวิตามินซีขั้นต่ำต่อวันถ้าแยกตามเพศและวัยแล้วจะมีความต้องการแตกต่างกันไป ดังนี้
- เด็กวัยรุ่นอายุ 9-13 ปี : 45 มิลลิกรัม
- เด็กวัยรุ่นอายุ 14-18 ปี : 65-75 มิลลิกรัม
- ผู้ใหญ่ (หญิง) : 75 มิลลิกรัม
- ผู้ใหญ่ (ชาย) : 90 มิลลิกรัม
- หญิงตั้งครรภ์ : 85 มิลลิกรัม
- หญิงให้นมบุตร : 120 มิลลิกรัม
- ผู้สูบบุหรี่ : ควรได้รับเพิ่มขึ้นกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 35 มิลลิกรัม/วัน เช่น ผู้ใหญ่ชายที่สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีขั้นต่ำวันละ 125 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่าในผู้ใหญ่ ผู้สูบบุหรี่ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ร่างกายจะต้องได้รับวิตามินซีเพิ่มขึ้นอีกจากปริมาณที่แนะนำต่อวัน และในอนาคตทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะมีการปรับปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับขั้นต่ำจากวันละ 60 มิลลิกรัม เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 90-100 มิลลิกรัมด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้รับปริมาณวิตามินซีที่เพียงพอมากขึ้นนั่นเอง
- 13 วิตามินที่ร่างกายของลูกน้อยขาดไม่ได้
- อาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กและทารก
- หมอชี้!!ลูกขาด วิตามินซี อันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงเดินไม่ได้
- รีวิว “4 วิตามินซีเด็ก วิตามินรวม” อีกหนึ่งตัวช่วยที่แม่ควรรู้จัก!
ซึ่งหากใครที่ชอบหาซื้อ เครื่องดื่มวิตามินซี มาเพื่อเพิ่มปริมาณวิตามินให้กับร่างกาย ควรอ่านบทความนี้ก่อน!! เพราะล่าสุดทางศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้ออกมาเผยผลทดสอบปริมาณวิตามินซีใน เครื่องดื่มผสมวิตามินซี จำนวน 47 ตัวอย่าง ที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด พบว่ามีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลากสินค้า และมี เครื่องดื่มวิตามินซี ถึง 8 ตัวอย่างที่ไม่พบปริมาณวิตามินซี ได้แก่
- ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์ Yanhee VITAMIN C WATER กราสเจลลี่ (เครื่องดื่มผสมน้ำเฉาก๊วยสกัดและวิตามินซี) ขนาด 460 มล. (วันผลิต 07-10-2020/07-10-2021)
- นูริชเมท Nurish Mate ขนมเยลลี่บุก และคาราจีแนน ผสมคอลลาเจน วิตามินซี และน้ำองุ่นขาว 15% กลิ่นสตรอเบอร์รี และพีช ขนาด 150 มล. (วันผลิต 11-08-2020/10-08-2021)
- มีมิกซ์ เครื่องดื่มเข้มข้นกลิ่นส้มผสมวิตามิน ขนาด 48 มล. (วันผลิต12-06-2019/12-06-2021)
- มีมิกซ์ เครื่องดื่มเข้มข้นกลิ่นเบอร์รีเลมอนผสมวิตามิน ขนาด 48 มล. (วันผลิต 07-03-2019/07-03-2021)
- เครื่องดื่มรสมะนาวเลมอน ตรามินิ Lemonade Vitamin C200 ขนาด 345 มล. (วันผลิต 00-00-0000/03-10-2021)
- เฟสต้า-ซี เดลี่ ไฟเบอร์ ลิ้นจี่ เฟลเวอร์ เครื่องดื่มน้ำรสลิ้นจี่ 12% ผสมวิตามินซี และใยอาหาร 100 ขนาด มล. (วันผลิต 02-09-2019/01-03-2021)
- มินิ พิงค์เลม่อนเนด เครื่องดื่มรสเลมอนผสมเบอร์รี่ ขนาด 345 มล. (วันผลิต 00-00-00/26-08-21)
- ดี.อาร์.ดริ้งค์ D.R.DRINK เจนไม วิตามิน วอเตอร์ (เครื่องดื่มผสมวิตามินซี วิตามินบี 3 บี 6 บี 12 ไบโอติน กรดโฟลิค แซฟฟลาเวอร์และแคลเซียมจากสาหร่ายลิโทรามเนียน) ขนาด 500 มล. (วันผลิต 09-11-2020/09-11-2021)
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณวิตามินซีกับคำกล่าวอ้างบนฉลาก มากกว่าหรือน้อยกว่า ร้อยละ 30 บนฉลากทพบว่า มีผลิตภัณฑ์จำนวน 37 ตัวอย่าง มีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลาก มีทั้งปริมาณมากและน้อยกว่าที่อ้างบนฉลาก
- 10 วิตามินคนท้อง ที่ควรกินเพื่อบำรุงแม่และลูกในท้อง
- รู้หรือไม่? ทารกที่ขาด “วิตามินเค” เสี่ยงตายจากโรคเลือดออก
- โรคขาดวิตามินเอ เสี่ยงทำลูกตาบอดไม่รู้ตัว
ภาพจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามจากผลตรวจสอบนี้ ทางด้านบริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด
ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว ดังนี้
“อ.อ๊อด” แจงวิตามินซีใน “น้ำผสมวิตามินซี” สลายตัวง่ายมาก
ทั้งนี้รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรืออาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า >> วิตามินซี สลายตัวได้ง่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวต่อออกซิเจนมาก (มีความ ไวต่อปฎิกิริยา Oxidation) อย่าลืมว่าในน้ำดื่มมีออกซิเจนเพียบ นอกจากนี้ยังสามารถสลายตัวได้ง่ายในบรรยากาศที่มีความร้อน แสง ความชื้น โลหะหนัก (เช่น เมื่อตั้งทิ้งไว้ในบรรยากาศที่มีทองแดง) และในสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพเป็นด่าง เป็นต้น
เรื่องความร้อน ขวดน้ำวิตามินแค่อัดแพคลงลัง ใส่สิบล้อ ขนส่งไม่ถึง 5 ชั่วโมง วิตามินซีก็ลดลงอย่างมาก แต่วิตามินซีจะกลายไปเป็นสารอื่นแทนคือ L-tartrate ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์และช่วยให้มีสุขภาพที่ดี (สสารไม่สูญหายไปไหน แค่เปลี่ยนรูปเปลี่ยนฟอร์ม) ดังนั้น การตรวจไม่เจอคือตรวจอะไร เอื้อธุรกิจบางยี่ห้อไหม? และที่ตรวจเจอเยอะ เจอเท่าเดิม เจอเยอะกว่าเดิม คือมั่วมาหรือไม่ มีเบื้องหลังคืออะไร สารวิตามินซีเหล่านี้ในน้ำแต่ละยี่ห้อไม่มีวันลดลงจนเหลือศูนย์และไม่มีวันมีมากเท่าฉลากหรือมีเกิน
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รับประทานผักหรือผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น ส้ม,หม่อน, ฝรั่ง, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, มะเขือเทศ, ผักหวาน, ผักคะน้า, ผักโขม, กะหล่ำ, ดอกกะหล่ำ, ถั่วฝักเขียว, มันเทศ, มันฝรั่ง ฯลฯ ก็อาจไม่จำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มผสมวิตามินซี ทั้งนี้การรับประทานวิตามินซีปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไตได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.amarintv.com , mgronline.com , medthai.com , www.sentangsedtee.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓
รีวิวนมพาสเจอร์ไรส์ ยี่ห้อไหนดี?…มีวิตามินและแคลเซียมสูง เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!