รีบไปด่วน ตรวจไวรัสตับอักเสบบี และซี ฟรี! ระหว่างวันที่ 31 ก.ค. – 3 ส.ค. 2561 ใน 83 โรงพยาบาลทั่วประเทศ คลิกดูรายชื่อรพ. และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องตรวจได้ที่นี่
คัดกรองฟรี! กรมควบคุมโรค ชวน ตรวจไวรัสตับอักเสบบี – ซี
กรมควบคุมโรค ร่วมกับสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แถลงข่าว รณรงค์สัปดาห์ตับอักเสบโลก “ตรวจเร็ว รักษาได้ ห่างไกลมะเร็งตับ” เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนมองเห็นความสำคัญของโรค ไวรัสตับอักเสบ หนึ่งในสาเหตุของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
โดยไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิด ได้แก่ เอ บี ซี ดี และอี แต่ที่พบมากในไทยคือ ไวรัสตับอักเสบบี และ ซี ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยเรามีผู้ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง ประมาณ 2 – 3 ล้านราย และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ 300,000 – 700,000 ราย …ซึ่งที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เนื่องจากไม่ทราบว่าตัวเองเป็น หรือ ติดเชื้อ เพราะการติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ เมื่อไม่ได้รับการรักษาทำให้ลุกลามแพร่เชื้อเป็นโรคมะเร็ง โดยพบว่าชายไทยมีอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็ง เป็นอันดับหนึ่ง ขณะที่ เพศหญิง พบเป็นอันดับ 3 โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมะเร็งตับมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งเพศหญิงและชาย
สำหรับ โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ประเทศไทยได้ดำเนินการป้องกัน ควบคุมและดูแลรักษาอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ปี 2556 โดยรัฐบาลไทยสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหายา Pegylated Interferon และ Ribavirin รักษาผู้ป่วยได้ประมาณปีละ 3,000 ราย แต่ยามีประสิทธิผลในการรักษาเพียงร้อยละ 60-80 ใช้เวลารักษานานถึง 48 สัปดาห์ และมีผลข้างเคียงสูง ทำให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเครือข่าย พยายามจัดหายากลุ่ม Direct Acting Antivirals (DAAs) เช่น Sofosbuvir, Ledipasvir และ Velpatasvir เป็นต้น
ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิผลรักษาโรคให้หายขาดสูงมากกว่าร้อยละ 90 มีผลข้างเคียงจากยาต่ำ ใช้เวลารักษาประมาณ 12 สัปดาห์ และในปี 2561 นี้ คณะกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้บรรจุยาบางชนิดในกลุ่ม DAAs สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว