ลูกติดโควิด ทำอย่างไรดีใครจะดูแล สธ.ผุดหลักใหม่"ไม่แยก" - Amarin Baby & Kids
หลักใหม่สธ. ไม่แยกเมื่อ ลูกติดโควิด

ลูกติดโควิด ทำอย่างไรดีใครจะดูแล สธ.ผุดหลักใหม่”ไม่แยก”

Alternative Textaccount_circle
event
หลักใหม่สธ. ไม่แยกเมื่อ ลูกติดโควิด
หลักใหม่สธ. ไม่แยกเมื่อ ลูกติดโควิด

พ่อแม่ติดโควิด ลูกติดโควิด ต้องกักตัว ใครจะดูแลลูก ลูกจะอยู่ได้ไหม ไม่ต้องห่วง กระทรวงสาธารณสุขแก้ปัญหายึดหลักใหม่ ไม่แยกดูแลพร้อมกันครอบครัวติดเชื้อโควิด19

ลูกติดโควิด ทำอย่างไรดีใครจะดูแล สธ.ผุดหลักใหม่”ไม่แยก”

จากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด – 19 ในสถานการณ์ปัจจุบันพบการติดเชื้อติดต่อกันภายในครอบครัวไปสู่ผู้สูงอายุ และเด็กเล็กเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการอยู่ร่วมกัน และการไปมาหาสู่ระหว่างกัน เมื่อพบว่าคนในครอบครัวติดเชื้อโควิด-19 มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการแยกผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เข้ารักษาในโรงพยาบาลสนาม หรือฮอสพิเทล หรือโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ติดเชื้อ และให้การรักษาตามอาการ ร่วมกับการให้ยาต้านไวรัสโควิด-19 อย่างน้อย10-14 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

แนวทางการรักษาล่าสุด (อัพเดท 17 เมษายน 2564)

การรักษาโควิด 19 แบ่งกลุ่มตามอาการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

1. ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีอาการ

  • แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และให้จำหน่ายจากโรงพยาบาลได้
  • หากมีอาการปรากฏขึ้นมาให้ตรวจวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุ
  • ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ

  • ให้ดูแลรักษาตามอาการ ส่วนมากหายได้เอง
  • แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีไข้หรือไม่มีอาการอื่น ๆ ของโรคแล้วอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง พิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยได้
  • พิจารณาให้ฟาวิพิราเวีร์ (ตามดุลยพินิจของแพทย์)

 

เด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 ลูกติดโควิด
เด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 ลูกติดโควิด

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อยซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4

  • ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ได้แก่อายุ >60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก.)
  • ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำและ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.
  • แนะนำให้นอนโรงพยาบาล อย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • แนะนำให้ฟาวิพิราเวียร์ ระยะเวลา 5 ถึง 10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิกตามความเหมาะสม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  • กรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง คือ มี progression of infiltrates หรือค่า room air SpO2 ≤96% หรือพบว่ามี SpO2 ขณะออกแรงลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรก (exercise-induced hypoxia) อาจพิจารณาให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ ร่วมกับ ฟาวิพิราเวียร์

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation <96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

  • แนะนำให้ฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก
  • อาจพิจารณาให้ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์)
  • แนะนำให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์

 

เมื่อ ลูกติดโควิด ต้องแยกกักตัวหรือไม่
เมื่อ ลูกติดโควิด ต้องแยกกักตัวหรือไม่

แนวทางดูแลผู้ป่วยและจัดการเตียง (ล่าสุด 24 เมษายน 2564)

1. ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 วัน นับจากวันแรกที่ตรวจพบเชื้อ และให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านต่ออีก 14 วัน

2. ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการน้อย ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 วัน นับจากวันที่มีอาการ เมื่อครบกำหนดแล้วหากยังมีอาการ ให้อยู่รักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาล หรือ สถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ จนไม่มีอาการเป็นระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง และให้กลับไปพักที่บ้านต่ออีก 14 วัน

ทั้งนี้ระหว่างพักฟื้นที่บ้าน ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามตำแนะนำที่ได้รับก่อนกลับบ้านอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ให้โรงพยาบาลมีระบบติดตามอาการเพื่อ ให้เกิดความมั่นใจและปลอดภัยต่อผู้ป่วย รวมถึงผู้ใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ ทุกวันจนครบกำหนด หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ผู้ป่วยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาลได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แนวทางการรักษาโรคดังกล่าว ทำให้เกิดความกังวลใจแก่พ่อแม่เป็นอย่างมากในเรื่องการปฎิบัติตัวอย่างไรเมื่อพบว่าตนเองติดเชื้อ หรือลูกติดโควิด แล้วต้องทำการแยกกักตัวห่างกัน หากเป็นเช่นนั้นใครกันจะดูแลลูก ลูกจะอยู่ได้ไหมในช่วงเวลากักตัว และรักษาตัวที่มีระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน เกือบครึ่งเดือนเป็นอย่างต่ำ
กระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ต่างตระหนักในปัญหาดังกล่าว เมื่อปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 กันทั้งครอบครัวมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดแนวทางใหม่ ให้ยึดหลักในการปฎิบัติดูแลผู้ป่วยในกลุ่มเด็ก และครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด -19 โดยมีหลักในการดูแลแบบ “ไม่แยก ดูแลพร้อมกัน” โดยได้รับการเปิดเผยจากเพจไทยคู่ฟ้า ดังนี้
สธ.ยึดหลักไม่แยกดูแล สำหรับเด็ก- ลูกติดโควิด
สธ.ยึดหลักไม่แยกดูแล สำหรับเด็ก- ลูกติดโควิด

 

ยึดหลัก “ไม่แยก ดูแลพร้อมกัน” ในกลุ่มเด็ก – ครอบครัวติดเชื้อโควิด-19
.
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า มีเด็กปฐมวัยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,557 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8
.
รัฐบาลโดยกระทรวงธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติ สำหรับดูแลเด็กและครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด-19 เน้นหลักไม่แยกดูแลพร้อมกัน ดังนี้
.
1. เด็กและผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อให้เข้ารับการรักษาโดยให้จัดอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว
2. เด็กเป็นผู้ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่เป็นผู้ติดเชื้อ โดยผู้ปกครองที่อายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว สามารถเข้าดูแลเด็กในสถานพยาบาลได้
3. เด็กไม่เป็นผู้ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองเป็นผู้ติดเชื้อ ให้ญาติเป็นผู้ดูแล แต่หากไม่มีผู้ดูแล ให้ส่งเด็กไปยังสถานสงเคราะห์ หรือบ้านพักในสังกัดกระทรวง พม.(กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)เป็นผู้ดูแลต่อไป แต่ถ้าในชุมชนพบเด็กไม่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจำนวนมาก อาจพิจารณาใช้พื้นที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนเป็นที่ดูแลเด็ก โดยพิจารณาจากความพร้อมของสถานที่ บุคลากร และการบริการจัดการตามดุลพินิจคณะกรรมการป้องกันโรคจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร
4. หากเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้คณะกรรมการป้องกันโรคจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร พิจารณาให้เหมาะสมตามบริบทเพื่อดำเนินการดูแลเด็กต่อไป
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.facebook.com/ThaigovSpokesman

เมื่อลูกติดโควิด…การดูแลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19

ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน บางครอบครัวมีการเจ็บป่วย ติดเชื้อโควิด -19 พร้อมกันหลายคนในบ้าน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีจากเดิมที่รับดูแลเฉพาะผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า15ปี ได้ปรับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิด เป็นการบริบาลแบบครอบครัว ผู้ปกครองหรือคุณพ่อคุณแม่ที่แม้ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 สามารถเข้ารับบริการและรับการรักษาดูแลเป็นครอบครัวแบบผู้ป่วยในได้

ลูกติดโควิด สธ.ยึดหลักใหม่ ไม่แยกดูแล ครอบครัวติดเชื้ออยู่ด้วยกันได้
ลูกติดโควิด สธ.ยึดหลักใหม่ ไม่แยกดูแล ครอบครัวติดเชื้ออยู่ด้วยกันได้

ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ที่มีอาการไม่มากและได้รับการประเมินวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเข้าทำการรักษา สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้จัดทีมแพทย์-พยาบาลดูแล ให้การพยาบาลทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครอง มีกล้องวงจรปิด สามารถสื่อสารผ่านอินเตอร์คอมและโทรศัพท์ติดต่อพยาบาลได้ตลอดเวลา

รวมทั้งการให้คำแนะนำแต่ละครอบครัวถึงการปฏิบัติตัวภายในห้องผู้ป่วย และหอผู้ป่วย แนวทางให้ผู้ปกครองได้บริหารจัดการดูแลลูกด้วยตนเอง ทั้งการวัดไข้ การวัดความดัน ซึ่งจะมีอุปกรณ์ต่างๆ จัดเตรียมไว้ภายในห้องโดยเฉพาะไม่ปะปนกับห้องผู้ป่วยรายอื่น การจัดการแยกขยะ แยกเสื้อผ้า จัดอาหารครบ 3 มื้อสำหรับผู้ปกครอง และอาหารตามวัยสำหรับผู้ป่วยเด็ก ทางสถาบันสุขภาพเด็กฯ ดูแลผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองจนมั่นใจว่าอาการดีขึ้น สามารถกลับบ้านและหรือพิจารณาย้ายไปยัง hospitel เพื่อสังเกตอาการต่อจนครบ 10-14วัน

นอกจากนั้น ทางโรงพยาบาลได้จัดให้มีการประเมินตอบข้อสงสัย ให้คำแนะนำ การดูแลผู้ป่วยระหว่างรอการเคลื่อนย้ายมารับการรักษาในโรงพยาบาล ที่บ้าน ผ่านสายด่วน 1415 หรือติดต่อผ่านช่องทาง Line Official COVID QSNICH โดย add ผ่าน Line ID : @080hcij สำหรับผู้ป่วยเด็กทุกราย จะได้รับการประเมินโดยกุมารแพทย์ เพื่อแยกระดับความรุนแรง เป็นสีเขียว เหลือง แดง โดยกลุ่มที่เป็นสีเขียวจะมีการโทรติดตามประเมินอาการที่บ้านอย่างต่อเนื่อง

ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัย หยุดเชื้อโควิด-19
ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัย หยุดเชื้อโควิด-19

ในกรณีที่เตียงยังไม่พร้อม หากมีการเปลี่ยนแปลง จะมีการประสานรับผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ในกรณีที่รุนแรงระดับสีเหลืองหรือสีแดงจะประสานให้ได้รับรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน โดยทางทีมรับปรึกษาได้เตรียมขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินผู้ป่วย โดยผู้ป่วยหรือญาติสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดผ่านทาง google form ที่เชื่อมโยงกับ Line จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินผู้ป่วยได้เร็ว ละเอียด และครบถ้วน ประสานจัดการเรื่องของการส่งผู้ป่วยต่อได้อย่างรวดเร็ว การปรับรูปแบบการบริบาลแบบครอบครัว เป็นความภาคภูมิใจ เต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถของบุคลากรชาวสถาบันสุขภาพเด็กฯ เพราะทุกลมหายใจที่ได้คืนมา มีค่ามากว่าคำชื่นชม

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.bangkokbiznews.com / กรมอนามัย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สิทธิบัตรทอง เพิ่มสิทธิ์ดูแลและป้องกันโรคให้ทุกช่วงวัยฟรี!

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA โรคทางพันธุกรรมที่ไม่ควรมองข้าม

รอบนี้ดุ! โควิดระบาดในเด็ก เชียงใหม่ ติดแล้วเกือบร้อย!

เปิดจองสิทธิ์ประกันสังคมพื้นที่กทม ลงทะเบียนตรวจโควิดฟรี ต้องทำอย่างไร

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up