ซีสต์ในรังไข่ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว!! ผู้หญิงทุกคนเป็นได้ อาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า รู้ตัวอีกทีก็อาจส่งผลกระทบกับร่างกายไปมากแล้ว สังเกตตัวเองให้ดีจะได้รับมืออย่างถูกวิธี
วิธีสังเกตอาการ ซีสต์ในรังไข่
รู้ไว้ รักษาได้ทัน ไม่อันตราย!
ซีสต์ในรังไข่ หรือ ถุงน้ำในรังไข่ (Cystic Ovary ) พบได้ทั่วไปในผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปกติ แล้วมีไข่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ แต่ไข่กลับไม่ตกกลายเป็นประจำเดือน ส่งผลให้น้ำในมดลูกมีปริมาณเพิ่มขึ้น มีลักษณะท้องบวม คล้ายตั้งครรภ์ 1-2 เดือน กรณีคนมีปัญหาเกิดโรคนี้บ่อยๆ จะส่งผลต่อการมีลูกในอนาคต
- สัญญาณเตือนโรค “มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรรู้!
- ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี ควรดูแลตัวเองอย่างไร?
- ประจำเดือนเป็นก้อน เป็นลิ่มเลือด เกิดจากอะไร อันตรายมั้ย ต้องรู้!
อย่างไรก็ตาม ซีสต์ เป็นหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในหญิงไทย หากพบก่อนรีบรักษาก่อนก็จะไม่เป็นปัญหาอะไรให้หนักใจมาก แต่หากปล่อยไว้จนซีสต์อักเสบบวม และแตกในช่องท้อง อาจอันตรายกว่าเดิมมาก เช่นเดียวกับดารานางเอกสาวหน้าใส ออม สุชาร์ ที่ได้นำภาพเหตุการณ์ฟาดเคราะห์ครั้งใหญ่ล้มป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลด่วนนำมาโพสต์แชร์เรื่องราวลงในอินสตาแกรมเพื่อเตือนภัยสาวๆ โดยคุณออมได้โพสต์ภาพ มือที่ถูกเจาะสายน้ำเกลือลงในอินสตาแกรม @aom_sushar พร้อมกับเล่าเรื่องราวว่า…
“ภาพเมื่อ 4 วันก่อน ฟาดเคราะครั้งใหญ่ค่า ปวดท้องรุนแรงตอนตี 1 รีบมาโรงพยาบาล ทั้ง ฉีดสี ct scan ตรวจทุกอย่าง มาเจออีกวัน คือ ซีสต์ในรังไข่แตกกระจาย (ไม่เคยรู้มาก่อนค่ะว่าตัวเองมีซีสต์) เลือดออกในช่องท้องเยอะมากต้องผ่าตัดด่วนๆๆๆ ตอนนี้ออมเริ่มฟื้นตัวและก็กลับบ้านแล้วค่ะ
เลยหยิบโทรศัพท์มาพิมพ์ เตือนภัยผู้หญิงค่ะ โรคนี้หมอบอกว่า ผู้หญิง 10 คน จะเป็น 3 คนเลยค่ะ อันตรายมากๆ เลย หมั่นตรวจสุขภาพกันบ่อยๆนะคะ 🙂 ปล. ขอบคุณทุกๆกำลังใจที่ส่งมาให้เลยนะค้า”
ทั้งนี้อาการที่คุณออมเป็นคือหนึ่งในอาการข้างเคียงของการเป็นซีสต์แบบ “ถุงน้ำ” คือ ถุงน้ำแตก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้
ต้นเหตุของซีสต์ในรังไข่
ซีสต์มีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยของเหลว ซึ่งสามารถก่อตัวขึ้นได้ในรังไข่ เมื่อเกิดการตกไข่ผิดปกติจะทำให้เกิดการคั่ง มีถุงน้ำในรังไข่หรือไข่ไม่ตก ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำขนาดเล็กในรังไข่ทั้งสองข้าง หรือมีการแบ่งเซลล์ในรังไข่ที่ผิดปกติไป ทำให้รังไข่มีโอกาสเกิด ซีสต์ในรังไข่ ได้บ่อยกว่าอวัยวะอื่นๆ หากพบในคนอายุน้อยมักจะเป็นซีสต์ปกติที่หายได้ แต่ถ้าพบในคนวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจเป็นซีสต์ผิดปกติที่มีโอกาสเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งได้
- ถุงน้ำรังไข่ หรือ เดอร์มอยด์ซีสต์ อีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง!
- มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายเงียบ ทำผู้หญิงเสียชีวิตมากกว่ารอด
- หยุดพฤติกรรมเสี่ยง ทำลายรังไข่ และมดลูก
การผ่าตัดเพื่อรักษาจะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป บางกรณีรักษาโดยการฉีดยา หรือบางกรณีต้องผ่าตัด โดยส่วนใหญ่มักผ่าตัดกับก้อนที่มีขนาดใหญ่ ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งและชนิดที่เป็นมะเร็ง หลังจากรักษาแล้วโอกาสกลับมาเป็นได้อีกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำเป็นสำคัญ
หากเป็นช็อกโกแลตซีสต์ มีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้ ถ้าร่างกายมีฮอร์โมนอยู่หรือมีตำแหน่งที่ผิดปกติอยู่ แต่ถ้าเป็นชนิดของถุงน้ำทั่วไปและไม่ใช่มะเร็ง มีโอกาสหายขาดได้ และถ้าหากเป็นมะเร็งจะขึ้นอยู่กับระยะที่เกิด โดยในระยะแรกมีโอกาสหายขาดสูงแต่ก็ต้องได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถกลับมาเป็นอีกได้เช่นกัน
- เลือดออกทางช่องคลอด ไม่ใช่เลือดประจำเดือน สัญญาณอันตรายที่ต้องไปหาหมอ!
- ควรมี เซ็ก สัปดาห์ละกี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหนถึงจะฟินและดีต่อชีวิตคู่
- โรค PCOS กับการตั้งครรภ์ มีลูกยาก อยากท้อง อยากมีลูกต้องทำอย่างไร
การสังเกตตัวเอง ว่าเป็น ซีสต์ในรังไข่ หรือไม่ คือ หากมีอาการปวดหน่วงท้องน้อย ปวดประจำเดือน ท้องขยายใหญ่ขึ้น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง อ้วนขึ้นหรือท้องขยายใหญ่ขึ้นแต่รับประทานเท่าเดิม ให้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคถุงน้ำรังไข่ได้
สัญญาณเตือน ที่ควรรีบพบแพทย์
- ปวดท้องน้อย
- ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือปัสสาวะลำบาก
- มีอาการหน่วงๆ ท้องน้อย หรือปวดท้องน้อยเฉียบพลัน
- เจ็บหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีประจำเดือนผิดปกติ คือ มามาก มากระปริบกระปรอย ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน
รวมไปถึงอาการ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ท้องขยายใหญ่ขึ้น ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์
อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ ซีสต์ในรังไข่ ระยะแรกๆ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวและจะไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการใด ๆ กว่าจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อก้อนใหญ่และเกิดภาวะแทรกซ้อนไปแล้ว ถึงแม้โรคนี้ไม่ใช่มะเร็งร้ายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นควรให้ความสนใจหากมีอาการผิดปกติ ควรพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาต่อไปนะคะ
ขอบคุณภาพจาก : IG @aom_sushar
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangpakokhospital.com , www.rama.mahidol.ac.th , www.thonburihospital.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่างได้เลย ⇓
มีบุตรยาก ชี้เป้า 15 ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ช่วยสานฝันโอกาสให้ได้เป็นพ่อแม่สมปรารถนา