เยื่อบุโพรงมดลูก ของคุณยังดีอยู่ไหม มาดู 3 ข้อที่ผู้หญิงควรรู้ไว้ เพื่อห่างไกล มะเร็งโพรงมดลูก โรคร้ายอันดับ 3 ที่คร่าชีวิตผู้หญิง
3 ข้อรู้ไว้ห่างไกลมะเร็ง เยื่อบุโพรงมดลูก โรคร้ายอันดับ3 ของผู้หญิง!!
ร่างกายของผู้หญิง มีลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่ทำให้ต้องดูแลเป็นพิเศษ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามช่วงวัย การเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราได้รู้ก่อนโรค เพราะในปัจจุบันมีโรคมากมายที่น่ากลัว และคร่าชีวิตผู้หญิงไม่น้อย
มะเร็ง เป็นอีกโรคหนึ่งที่นับว่าเป็นโรคร้ายที่มีความอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้น เราได้รวบรวม มะเร็งร้ายที่ผู้หญิงป่วยมากที่สุดมาไว้ให้ เพื่อให้คุณผู้หญิงได้รู้เท่าทัน และคอยระแวดระวัง เมื่อเกิดความผิดปกติของร่างกายที่ทำให้สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ เรียกได้ว่ารู้ก่อน รักษาก่อน ปลอดภัยกว่า
กราฟ 10 อันดับมะเร็งในเพศหญิงของประเทศไทย ASR per 100,000 (2010-1012)
ที่มา : หนังสือสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย Cancer In Thailand 2010-2011 Vol.8
1. มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้อาจมีการแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง ไปสู่ต่อมน้ำเหลือง หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกลเช่น กระดูก ปอด ตับ เป็นต้น การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
- เพศหญิงมีฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมได้
- อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม
- พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
- การใช้ชีวิตที่ทำลายสุขภาพ น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย หรือ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.มะเร็งปากมดลูก
อาการป่วยในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ เลย ดังนั้น หากพบว่ามีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ประจำเดือนมานานผิดปกติ มีเลือดออกทั้งที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว บางรายมีอาการตกขาวมากและมีกลิ่นผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะเมื่อตรวจแล้วพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกก็แสดงว่าโรคได้ลุกลามแล้ว
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์
- อายุระหว่าง 40-50 ปี
- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- มีบุตรหลายคน
- มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ดังนั้น ผู้หญิงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปีเพื่อลดความเสี่ยง
3.มะเร็งตับและถุงน้ำดี
มะเร็งถุงน้ำดี (Gallbladder Cancer) คือ การเกิดเนื้องอกชนิดร้าย หรือมะเร็งภายในเนื้อเยื่อถุงน้ำดี ที่อยู่ใต้ตับ บริเวณชายโครงด้านขวา จะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดี มักจะมีอาการเจ็บท้องด้านขวา และโรคนี้มักจะไม่ออกอาการในระยะแรกๆ การวินิจฉัยจึงทำได้ยาก และหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งถุงน้ำดีมีการลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะต่ำลง จึงทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดีต่ำมากเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดี
- ความผิดปกติในถุงน้ำดี เช่น มีติ่งเนื้อขนาดใหญ่บริเวณถุงน้ำดี หรือการมีแคลเซียมเกาะที่ผนังถุงน้ำดี
- ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีกว่าบุคคลปกติ 38 เท่า
- ผู้หญิงอายุ 50 ปี ขึ้นไป ที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
- ผู้หญิงที่ประจำเดือนครั้งแรกมาเร็ว และวัยหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ
- ผู้หญิงที่มีตั้งครรภ์ และคลอดบุตรหลายครั้ง
- ผู้ที่น้ำหนักตัวเยอะ
- ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งถุงน้ำดี
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ
- การบริโภคอาหารประเภทหมักดอง รสจัด รวมทั้งอาหารจากการทอดที่มีไขมันสูง
4.มะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง
อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในระยะต้นๆ มักไม่มีความผิดปกติใดๆ จนกระทั่งโรคพัฒนาขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก รู้สึกถ่ายไม่หมด ปวดมวนท้องไม่ทราบสาเหตุ อุจจาระมีเลือดปน ลักษณะอุจจาระเล็กเรียวยาวกว่าปกติ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- เคยถูกตรวจพบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มาก่อน
- มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
- สูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- ขาดการออกกำลังกาย
- น้ำหนักเกิน
- ชอบทานอาหารไขมันสูงและไม่ค่อยรับประทานผัก ผลไม้
ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรตรวจคัดกรองเร็วขึ้นคือเริ่มที่อายุ 40 ปี
5.มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นโรคที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน ประเทศไทยพบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งในเพศหญิงรองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 40 ถึง 70 ปีซึ่งมักจะอยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว ในปัจจุบันมีข้อมูลพบว่าผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น
สาเหตุการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
สาเหตุของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบว่าการมีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลโดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ นอกจากนั้นยังพบปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนี้อีกหลายประการ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- อายุ มะเร็งชนิดนี้พบได้มากในผู้ป่วยอายุ 40 ถึง 70 ปี โดยพบว่าส่วนมากเป็นผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว แต่ในปัจจุบันพบโรคนี้มากขี้นในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนได้
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างฮอร์โมนชนิดนี้ และฮอร์โมนเพศหญิงอีกชนิดคือโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่สามารถลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือนได้จนเกิดการหนาตัวผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
- การได้รับฮอร์โมนเสริมจากภายนอก เช่นการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในผู้หญิงบางรายที่มีอาการอันเนื่องมาจากภาววะวัยทอง
- ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เนื่องจากมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นจากเนื้อเยื่อไขมันบางส่วนจนกลายเป็นสาเหตุของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ยาบางชนิด เช่น ยารักษาเสริมสำหรับมะเร็งเต้านมชื่อ tamoxifen เมื่อได้รับต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งอาจมีผลกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูกจนกลายเป็นมะเร็งขึ้นในที่สุด
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome, PCOS) ซึ่งมักมีอาการขาดประจำเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ร่วมกับอาการแสดงอื่นๆ ได้แก่ สิว ผิวหน้ามัน ขนดกแบบผู้ชาย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกได้
- พันธุกรรม (Hereditary non-polyposis colorectal cancer, HNPCC) ในปัจจุบันมีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งซึ่งเป็นยีนที่ใช้ในการซ่อมแซมความผิดปกติ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกร่วมกันกับมะเร็งลำไส้ในผู้ป่วยรายเดียวกันได้
อ่านต่อ >>3 ข้อรู้ไว้ห่างไกล มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่