ติดจอ

ติดจอ เล่นสมาร์ทโฟนหนัก เสี่ยงภัยทางสายตา

Alternative Textaccount_circle
event
ติดจอ
ติดจอ

ในยุคของโลกดิจิตอล ทุกๆ คนต่างก้มหน้าก้มตาจ้องอยู่แต่กับสมาร์ทโฟน แท็บเลต และทีวีดิจิตอล หลายคนเอาแต่ก้มหน้าไม่พูดคุยกับคนรอบข้าง โดยเฉพาะเด็กๆ ในยุคปัจจุบันที่เป็นโรค ติดจอ จนบางครั้งก็ทำให้เกิดปัญหา ปวดคอ และส่งผลต่อปัญหาสายตา ทำให้สายตาล้าเรื้อรัง

ติดจอ เสี่ยงภัยทางสายตา

ในปัจจุบันเด็กไทยมีปัญหาทางสายตาผิดปกติมากถึง 6.6% และต้องใส่แว่นอีก 4.1% ซึ่งเป็นทั้งเด็กในเมือง และชนบท เพราะพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในระยะที่ใกล้มาก ทั้งทีวี คอมพิวเตอร์ แท็บเลต และสมาร์ทโฟน

นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในปัจจุบัน เด็กๆ มีการอ่านหนังสือ และใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตามาก ส่งผลต่อปัญหาทางสายตา ทำให้มีสายตาสั้นมากขึ้น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เด็กที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะมีปัญหาทางสายตาอยู่ 10% ขณะที่เด็กที่อยู่นอกเขตตัวเมืองมีปัญหาทางสายตาเพียง 3-4% แต่ในปัจจุบันเด็กทั่วประเทศมีปัญหาทางสายตาไม่แตกต่างกันเลย

ติดจอเด็กที่สายตาสั้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาให้ถูกต้องก่อนวัย 6 ขวบ อาจจะทำให้มีปัญหา กลายเป็นโรคตาขี้เกียจตามมา ทำให้การมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่งด้อยกว่า ตาข้างนั้นจะเห็นภาพมัว และส่งผลให้เกิดปัญหาตาเหล่ตามมา เนื่องจากมองเห็นไม่ชัด จึงต้องเพ่ง ทำให้กล้ามเนื้อสายตาเข สุดท้ายตาก็จะเหล่ได้

การพัฒนาของสายตานั้น จะเริ่มตั้งแต่แรกคลอด และสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ แล้วสายตาจะคงที่ไปจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ การมีความผิดปกติของตาตั้งแต่เด็ก จะมีผลอย่างมากต่อการมองเห็นไปตลอดชีวิต คุณพ่อ คุณแม่จึงควรสังเกตความผิดปกตินี้ เช่น อาการตาเข ตาเหล่ ตาลอย เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ ตามวง ตาเอียง ฉะนั้นอย่าให้ลูกน้อยเอียงหน้า เอียงคอมอง อย่าดูหนังสือ หรือสื่อเทคโนโลยีในระยะใกล้ คอยสังเกต ถ้าลูกน้อยบ่นปวดศีรษะในตอนเย็น หรือหลังเลิกเรียน บ่นว่ามองไม่ชัด ขอให้คุณพ่อ คุณแม่พาลูกน้อยไปหาจักษุแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาก่อนที่จะสายเกินไป

และมีข่าวดีสำหรับลูกน้อย ในปี 2560 นี้ กระทรวงสาธารณะสุข ได้จัดโครงการ “เด็กไทยสายตาดี” เพื่อตรวจคัดกรองสายตาให้เด็กๆ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ รวม 1,040,000 คน พร้อมมอบแว่นตาอันแรกแก่เด็กๆ ที่มีปัญหาทางสายตาฟรี 43,006 คน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “อันตรายของการติดจอกับการรักษาด้วยเลสิก” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up