รู้จัก โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ปวดเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้ - Amarin Baby & Kids
โรคไฟโบรมัยอัลเจีย

รู้จัก โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ปวดเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event
โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
โรคไฟโบรมัยอัลเจีย

รู้จัก โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ปวดเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ บ้านนอกจากต้องเลี้ยงลูกแล้ว ก็ยังทำงานเต็มเวลา และทำอย่างหนักจนบางท่านอาจรู้สึกปวดไปทั่วร่างกายเป็นระยะเวลานาน ๆ แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจคิดว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม แต่จริง ๆ แล้ว อาการปวดเรื้อรังนี้อาจเป็นอาการของ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคนี้ส่งผลต่อร่างกายคุณพ่อคุณแม่อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย

เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ รวมทั้งอาจนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท โรคนี้รักษาไม่หายขาด แพทย์จึงจะประคับประคองอาการโดยให้รับประทานยา ออกกำลังกาย และปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเครียดเป็นหลัก

อาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

โรค Fibromyalgia ส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายส่วน แต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกันไป และความรุนแรงของอาการป่วยอาจไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับระดับความเครียด สภาพอากาศ และสุขภาพของผู้ป่วยในขณะนั้น อาการ มีดังนี้

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ปวดเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้
  • ปวดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลังและคอ บางรายอาจรู้สึกแสบหรือเจ็บแปลบร่วมด้วย
  • ไวต่อความรู้สึกปวด อาจไวต่อความรู้สึกปวดมากกว่าปกติ หรือมีอาการปวดจากสิ่งที่ไม่ควรทำให้รู้สึกปวด เช่น การสัมผัสเบา ๆ
  • กล้ามเนื้อตึง ทำให้ขยับร่างกายได้ลำบาก อาการมักรุนแรงขึ้นหลังจากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เช่น หลังจากตื่นนอนในตอนเช้า
  • ปวดศีรษะ อาการปวดตามร่างกายและกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่แข็งเกร็ง อาจทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะบ่อย ๆ โดยอาจปวดเพียงเล็กน้อยหรือปวดศีรษะแบบไมเกรนอย่างรุนแรง รวมทั้งอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ เป็นต้น
  • นอนหลับไม่สนิท อาการป่วยอาจทำให้นอนไม่หลับ นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับไม่ลึกพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียและไม่สดชื่นหลังตื่นนอน
  • อ่อนเพลีย ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือรู้สึกหมดเรี่ยวแรงจนไม่อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • มีปัญหาด้านการคิดและการเรียนรู้ เช่น ไม่มีสมาธิ พูดช้า พูดไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
  • ลำไส้แปรปรวน มีอาการคือ ท้องอืด รู้สึกจุกแน่นในท้อง ท้องผูก หรือท้องเสีย

นอกจากอาการข้างต้น ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกร้อนหรือหนาวผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ มีอาการขาอยู่ไม่สุข รู้สึกเจ็บคล้ายมีเข็มทิ่มตามมือและเท้า ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ หรือวิตกกังวล นอกจากนี้ อาการป่วยอาจก่อให้เกิดความเครียดและระดับฮอร์โมนบางชนิดลดต่ำลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้าตามมา

สาเหตุของไฟโบรมัยอัลเจีย

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แต่อาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ความผิดปกติของระบบสมอง อาการปวดทั่วร่างกายอาจเป็นผลมาจากการมีสารสื่อประสาทที่กระตุ้นให้รู้สึกเจ็บปวดในปริมาณมากขึ้น และตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดของสมองตอบสนองไวกว่าปกติ
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม นักวิจัยเชื่อว่าร่างกายมียีนบางตัว ที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด การกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
  • ปัญหาทางการนอนหลับ แพทย์ไม่ทราบแน่ชัดว่า การนอนไม่หลับ หรือหลับไม่เต็มอิ่มนั้นเป็นอาการหรือสาเหตุของโรคนี้กันแน่ เพราะเป็นไปได้ว่าปัญหาด้านการนอนหลับ อาจกระทบต่อระดับสารเคมีในสมองบางชนิดและส่งผลให้เกิดโรค
  • สิ่งกระตุ้นบางชนิด อาการบาดเจ็บทางร่างกาย ความบอบช้ำทางจิตใจ หรือการติดเชื้อ แม้ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่อาจกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้แสดงอาการป่วยออกมาได้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อม โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือผู้ที่มีคนใกล้ชิดในครอบครัวป่วยเป็น Fibromyalgia อาจเสี่ยงเกิดโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป และยังพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

การรักษาโรค

จุดประสงค์ของการรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย คือบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และฟื้นฟูสุขภาพจิตที่ได้รับผลกระทบมาจากโรคนี้ ซึ่งทางแพทย์อาจมีการใช้ยา ควบคู่กับบำบัดทางกายภาพร่วมดังนี้

  • ยาบรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium) เป็นต้น หรือยาลดความปวดเมื่อยอื่น ๆ ตามภาวะสุขภาพในระยะเวลานั้นๆ
  • ยาต้านโรคซึมเศร้า ที่อาจเข้ามามีส่วนช่วยลดความเหนื่อยล้า ความเครียด และส่งเสริมการนอนหลับให้คุณได้อย่างดี เช่น ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) และมิลนาซิแพรน (Milnacipran) เป็นต้น
  • ยาป้องกันโรคลมชัก ในตัวยากาบาเพนติน (Gabapentin) และยาพรีกาบาลิน (Pregabalin) มีสารบางอย่างที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดบางประเภท และเป็นยาที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหาร และยาเพื่อใช้รักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

นอกจากการรับประทานยาตามที่แพทย์ได้ทำการอนุญาตแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการทำกายภาพบำบัด โดยอาจเป็นการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น เล่นโยคะ ไทเก๊ก หรือการฝังเข็ม และนวดบำบัดร่วม เพื่อเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อคุณให้กลับมามีการใช้งานได้ปกติดังเดิม

การดูแลตัวเอง

สามารถดูแลตัวเองด้วยการการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อรับมือกับโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ดังนี้

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. รับประทานผัก และผลไม้ ให้มากกว่าเนื้อสัตว์
  4. ควรทานธัญพืชจำพวก ถั่ว อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ที่มีใยอาหารปราศจากน้ำตาล ดื่มนมที่มีไขมันต่ำ แต่ให้โปรตีน และพลังงานสูง
  5. ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่พอดีแก่ร่างกายต้องการต่อวัน
  6. ลดการทานอาหารที่มีระดับน้ำตาลสูง
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน (Gluten)
  8. ลดการทานอาหารที่อยู่ในกลุ่ม (Fermentable Oligo-Di-Monosaccharide and Polyols; FODMAP) ที่มีผลกระทบต่อลำไส้ หรือช่องทางเดินอาหาร เช่น ครีมชีส โยเกิร์ต นมข้นหวาน ผลไม้แห้ง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก

เดลินิวส์ออนไลน์, pobpad

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เล็บบอกโรค พบขีดที่เล็บนิ้วโป้งให้ระวังมะเร็งผิวหนังใต้เล็บ

ห่วง! อาการ Long COVID-19 เสี่ยงเกิด โรคผมผลัด

เปลือกตากระตุก ลางบอกโรค!! โรคอะไร ป้องกันอย่างไร

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up