รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในว่า จากข้อมูลสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า คนไทยเป็นโรคไตมากถึงร้อยละ 17 หรือประมาณ 10 ล้านคน จำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรัง จำเป็นต้องฟอกเลือด ล้างไตผ่านช่องท้องมากถึงร้อยละ 5 หรือราว 1-2 แสนคน
สาเหตุเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุดประมาณ 60-70% นอกจากนี้ เกิดจากโรคไตอักเสบ และโรคนิ่ว เป็นต้น แต่ที่น่ากังวลคือร้อยละ 5-10 นั้น เกิดจากการกินอาหารเสริม ยา และยาบำรุงต่าง ๆ มากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่ายิ่งกินยิ่งดีต่อสุขภาพ แต่จริง ๆ แล้วมีผลต่อไตด้วย ทำให้ไตเสื่อมด้วย
วิธีการสังเกตอาการโรคไตนั้น รศ. นพ. เกรียงศักดิ์ ได้กล่าวว่า วิธีที่ง่ายที่สุดและได้ผลชัดเจนที่สุดคือ การเจาะเลือดตรวจ โดยเฉพาะคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็กสภาพของไต แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ขอให้รีบไปพบแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไตคือ ใบหน้าบวมหลังตื่นนอน ปัสสวะมีฟอง ปัสสาวะบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน เป็นต้น
นอกจากนี้ ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ยาที่มีผลกระทบต่อโรคไตโดยตรงคือ
- ยาแก้ปวดข้อ เช่น ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ หรือยากลุ่ม NSAID หรือยาต้านการอักเสบ เพราะจะทำให้เลือดเกิดอาการคั่ง บวม เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง ทำให้ไตเสื่อม
- ยาไข้หวัด ลดน้ำมูก ซึ่งกินแล้วง่วง น้ำมูกแห้ง จะส่งผลให้ความดันขึ้น ทำให้ไตแย่ลง
- ยาโรคความดัน ก็มีผลให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงเช่นกัน
ดังนั้น อย่าลืมสังเกตตัวเองและคนรอบข้างกันให้ดีนะคะ ถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวละก็ อย่านิ่งเฉยค่ะ ให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งจะดีที่สุด
ขอบคุณที่มา: Pobpad และMGR Online
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่