โอมิครอน หรือเป็นหวัด คำถามเกี่ยวกับอาการผู้เป็นโอมิครอนที่เรากำลังตั้งข้อสังเกตว่ามีอาการใหม่ใดบ้าง วันนี้แพทย์เผย 5 อาการสำคัญที่ตรวจพบในกลุ่มผู้ป่วยจริง
เช็ก 5 อาการ โอมิครอน ที่แตกต่างจากเดิมจากผู้ป่วยจริง!!
ไวรัสโควิด 19 ที่กำลังระบาดทั่วโลกในขณะนี้ นอกจากการค้นคว้าหาวิธีการรักษา หาวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอยู่เสมอแล้ว นักวิจัย ทีมแพทย์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายก็กำลังทำการเก็บข้อมูลในทุก ๆ ด้านของเจ้าไวรัสตัวนี้ ทั้งตัวดั้งเดิม และไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น อัลฟ่า เดลตา โอมิครอน เป็นต้น
ย้อนกลับไปในปี 2020 เราได้ทำการเก็บข้อมูลจนรู้แน่ชัดแล้วว่า Coronavirus รุ่นดั้งเดิม และเวอร์ชั่นอัลฟ่าทำให้เกิดอาการแก่ผู้ป่วยที่เด่นชัด 3 อาการ ได้แก่ อาการไอ มีไข้สูง และสูญเสียการได้กลิ่น และยังมีอาการอื่น ๆ อีกอย่างน้อย 20 รายการ เช่น เหนื่อยล้า ปวดหัว หายใจลำบาก ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย และมีผื่นที่ผิวหนัง เป็นต้น
เมื่อเดลตาปรากฎตัว!!
การกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรน่าต่อจากอัลฟ่า ก็ถึงคราวของไวรัสสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ดังนี้
จากการศึกษาจากสหราชอาณาจักรพบว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ไม่ค่อยมีอาการไอ หรือจมูกไม่รับกลิ่น แต่จะมีไข้ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเจ็บคอมากกว่า มีการศึกษาจากสก๊อตแลนด์ พบว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่าแอลฟาถึงสองเท่าในกลุ่มที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
คนที่ไม่ฉีดวัคซีนเสี่ยงติดเดลตามากกว่า
ในสหรัฐอเมริกามีข้อมูลว่า รัฐที่คนฉีดวัคซีนน้อย เช่นในทางใต้ของประเทศ มีการระบาดใหม่ของสายพันธุ์เดลตามากกว่า แม้ว่าบางรายได้รับวัคซีนแล้ว เด็กและคนอายุน้อยก็มีความเสี่ยงมาก เช่นข้อมูลในอังกฤษพบว่าเด็ก และคนอายุน้อยกว่า 50 ปีมีความเสี่ยงต่อเดลตาสูงกว่า เพราะวัคซีนในช่วงต้นไม่ได้รับการอนุมัติในเด็กด้วย แม้ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนใดป้องกันเด็ก 5-12 ปีในสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะเกิดปรากฏการณ์ติดสายพันธุ์เดลตาได้ เพราะวัคซีนไม่ได้ป้องกันได้ร้อยละ 100 โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์เบื้องต้น พบว่าในการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ได้ติดตามคนที่วัคซีนครอบ 2 เข็มแล้ว พบว่าวัคซีนไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) สามารถป้องกันไม่ให้มีอาการได้ ร้อยละ 88 และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 96 ในขณะออกซฟอร์ดแอสตราเซนาก้า ป้องกันไม่ให้มีอาการได้ ร้อยละ 60 และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 93 สำหรับข้อมูลของโมเดอร์น่า (Moderna) พบว่าสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ แต่เขียนบันทึกว่า มีการลดการสร้างแอนติบอดี้ที่กำจัดไวรัส (neutralizing titers)
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.rama.mahidol.ac.th
โอมิครอน ทักทายปลายปี!!
เมื่อเจ้าไวรัสโคโรน่าปล่อยให้มนุษย์เรารู้จักกับไวรัสกลายพันธุ์ชนิดเดลตา และเดลตาพลัสอยู่สักพัก ก็ปล่อย โอมิครอนตัวใหม่มาทำความรู้จักกับเราช่วงปลายปี และดูเหมือนโอมิครอนจะดำเนินลักษณะต่าง ๆ ทั้งอาการ และการแพร่ระบาดต่อไปคล้ายเดลตา มันทำให้เกิดอาการที่คล้ายกับการเป็นหวัดปกติ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และมีอาการทางระบบทั่ว ๆ ไปน้อยลง เช่น คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง และผื่นที่ผิวหนัง
ข้อมูลอาการดังกล่าวได้จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ในเดือนธันวาคม ซึ่งผลการตรวจ PCR ในเชิงบวกนั้นต้องสงสัย หรือยืนยันการติดเชื้อ Omicron จากสหราชอาณาจักร เปรียบเทียบกับข้อมูลตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ช่วงเดลตาระบาด ไม่พบความแตกต่างของอาการอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อพูดถึงความชุกโดยรวมของอาการ มีความแตกต่างที่ชัดเจนบางประการ ตัวอย่างเช่น ภาวะไม่ปกติ (สูญเสียกลิ่นหรือรส) อยู่ใน 10 อันดับแรกในเดือนตุลาคม แต่ตกลงมาอยู่ที่ 17 สิ่งที่เคยเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของโควิด คือ ตอนนี้มีผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 5 คนที่มีผลตรวจเป็นบวก และจากข้อมูลของเรา น้อยกว่าหนึ่งในสามของคน (29%) เคยเป็นไข้ ซึ่งพบได้น้อยกว่าที่เราเคยเห็นในอดีตมาก
สรุปความเบื้องต้นได้ว่า เราพบว่าผู้ป่วยโควิดเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่มีอาการไข้ ไอ หรือสูญเสียการดมกลิ่น
5 อาการสำคัญที่ตรวจพบในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิครอน
แม้ว่าอาการที่แตกต่างของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะมีอาการแตกต่างไม่มากจากสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่เราพอจะกล่าวได้ว่าความแตกต่างของอาการของโอมิครอนนั้น ไปเด่นที่อาการอื่น ๆ ที่เป็นอาการที่สายพันธุ์อื่นก็มีอยู่เพี่ยงแต่ความชุกของจำนวนคนเกิดอาการนั้นเด่นชัดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงสามารถนำมาเป็นจุดสังเกตได้ ดังนี้
แพทย์เผย 5 อาการสำคัญที่ตรวจพบในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิคอน ซึ่งแตกต่างไปจากอาการเดิมเล็กน้อย
จากสถานการณ์ที่ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็น “โอมิครอน” (Omicron) ซึ่งเจ้าสายพันธุ์นี้มีความพิเศษตรงที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย และรวดเร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังมีผู้คนติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากขึ้นเรื่อย แม้ก่อนหน้านี้จะมีการเปิดเผย อาการสำคัญหลังจากติดโควิดสายพันโอมิครอน จะแตกต่างจากสายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ที่ ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง, ไอ และ ไม่ได้กลิ่นไม่รู้รส ปรากฏว่ามีอาการเบาลง ส่วนอาการอื่นยังไม่แน่ชัด
กระทั่งล่าสุด ทีมแพทย์จากแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตรวจพบเชื้อโอมิครอนนี้เป็นครั้งแรก ได้ค้นพบ 5 อาการสำคัญ ประกอบด้วย
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
- เหนื่อยมาก
- ไอแห้ง
- เหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะนอนหลับในห้องแอร์ ซึ่งทำให้เปียกโชกจนคุณอาจต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนเสื้อผ้า
ทั้งนี้อาการดังกล่าวจะแสดงให้เห็นในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีน อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านี้ จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ส่วนวิธีที่ป้องกันโควิดได้ดีที่สุด ยังคงเป็นการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลักเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัด รักษาระยะห่าง รับประทานอาหาร 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างคุมกันให้กับร่างกายอยู่ตลอดเวลา
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.pptvhd36.com
โอมิครอน หรือหวัดกันนะ?
จากอาการโดยรวมของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้น บอกว่าอาการนั้นคล้ายกับอาการหวัดปกติมาก ซึ่งหมายความว่าคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีอาการหวัดธรรมดา หรือเป็นโควิดกันแน่
ดังนั้น หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวรู้สึกไม่สบาย ก็มีโอกาสสูงที่อาจเป็นโควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณหายใจลำบาก และจามมาก วิธีปฏิบัติตัวที่ดีที่สุด คือ คุณควรอยู่บ้าน และได้รับการตรวจเชื้อหาโควิดเพื่อความแน่ใจ ในระหว่างนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส และสวมหน้ากากหากต้องออกไปข้างนอก เพื่อมิให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังผู้อื่น
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์
-
ไวรัสกลายพันธุ์ได้อย่างไร
เมื่อไวรัสได้แพร่กระจายเข้าในตัวคนหนึ่ง ๆ จะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคงอยู่ของตัวมันเอง แต่เมื่อไวรัสมีการแพร่กระจายประชากรกลุ่มใหญ่มากขึ้น โอกาสการเปลี่ยนแปลงสารทางพันธุกรรมก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย พอติดเชื้อมากในระยะเวลาหนึ่ง สารพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมอย่างชัดเจนจนกลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ เช่น เพิ่มความสามารถที่จะจับได้แน่นขึ้น โดยภูมิคุ้มกันกำจัดยากขึ้น หรือแพร่เชื้อได้มากขึ้น
-
การเรียกชื่อไวรัสกลายพันธุ์
สำหรับการเรียกไวรัสกลายพันธุ์นั้น เคยใช้เป็นอักษรตามด้วยตัวเลขทางพันธุศาสตร์ เช่น B.1.617.2 variant แต่ต่อมาคนนิยมเรียกเป็นชื่อประเทศที่ค้นพบครั้งแรก เช่น สายพันธุ์อังกฤษ หรือสายพันธุ์อินเดีย ดังนั้นทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดให้มีการเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เป็นตัวอักษรกรีกเพื่อลดการตีตรา
ข้อมูลอ้างอิงจาก www1.racgp.org.au/ www.rama.mahidol.ac.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
โควิดไทยระลอกใหญ่สุด รอบ 2 ปี “ติดเชื้อเพิ่มขึ้น” แต่ “รุนแรงน้อยลง”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่