โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน ไวรัสโควิด 19 ที่สามารถกลายพันธุ์ เปลี่ยนอาการ หลบภูมิ ลดหรือเพิ่มระดับความรุนแรง เรื่องที่เราควรรู้เพื่อเตรียมตัว มิใช่ตื่นตระหนก
โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน รู้จัก เข้าใจ ไม่ตื่นกลัว!!
ไวรัสโควิด 19 อยู่กับโลกเรามาจนถึงปัจจุบัน คงทำให้ใครหลาย ๆ คนเริ่มปรับตัวเพื่ออยู่กับเจ้าไวรัสร้ายนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่หลาย ๆ ฝ่ายกังวล เห็นจะเป็นการกลายพันธุ์ของเจ้าเชื้อไวรัสโควิด19 นี้ว่าจะกลายพันธุ์ไปเป็นแบบใด เมื่อกลายพันธุ์แล้วระดับความรุนแรงของโรคจะรับมือกันอยู่อีกหรือไม่ ความสามารถใหม่ของเจ้าเชื้อกลายพันธุ์นั้นจะเป็นอย่างไร และมันสามารถหลบภูมิคุ้มกันทั้งของร่างกาย และวัคซีนที่ฉีดกันไปแล้วได้มากน้อยแค่ไหน
โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน ชื่อเรียกไวรัสโควิด 19 ที่กลายพันธุ์ที่หลายคนกำลังตื่นตระหนก กังวล และเฝ้าจับตามองถึงความร้ายแรงของไวรัสที่กลายพันธุ์นี้ แม้ว่าเราควรตื่นตัวในการรับรู้ความเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันตัวจากไวรัสโควิด-19 แต่ก็มีคำเตือนจากหลาย ๆ ฝ่ายว่าตื่นรู้ แต่อย่าตื่นกลัว เพราะไวรัสโควิด -19 นี้ยังคงต้องอยู่กับโลกเราไปอีกพักใหญ่
ทำความรู้จัก เข้าใจโควิด-19 ป้องกันการตื่นกลัว!!
รู้จัก เข้าใจ …เดลตา!!
โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) มีความสามารถจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดง่ายขึ้น แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) 1.4 เท่า หรือ 60% และแรงกว่าโควิด-ลงปอดได้เร็วขึ้น และยังอยู่ในร่างกายเราได้นานขึ้น อีกทั้งยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตา พลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป โควิดสายพันธุ์เดลตายังเป็นที่จับตามองต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทยเนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
สรุปการระบาดของสายพันธุ์เดลตา
- พบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
- WHO เปิดเผยว่าโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา คือ ไวรัสกลายพันธุ์ที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก
- ปัจจุบันพบการระบาดมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อสายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ในช่วงเวลาสั้น จากข้อมูลพบว่าใช้เวลาแค่ 5-10 วินาที หากอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือพบเจอผู้ติดเชื้อ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ และยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ถึง 16 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นหากเราเข้าไปอยู่ในห้องที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์มาใช้นี้ ก็ยังมีโอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์นี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะเด็กเล็ก และจากความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย ทำให้มีโอกาสเพิ่มยอดผู้ติดเชื้อ 10 เท่าในทุก ๆ 11 วัน
สายพันธุ์เดลตาพลัส (Delta Plus) คืออะไร
สายพันธุ์เดลตาพลัส ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งจะมีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโน ที่เรียกว่า k417n เป็นกรณีกลายพันธุ์ที่คล้ายกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิต้านทานได้ดีกว่า และติดต่อได้ง่ายที่สุดในไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์
อาการที่พบในโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
ข้อมูลอ้างอิงจาก vichaivej-nongkhaem.com
รู้จัก เข้าใจ…โอมิครอน!!
ปัจจุบันพบรายงานผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้แล้ว แม้ว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีอาการไม่รุนแรงหรือแทบไม่มีอาการ อย่างไรก็ตาม เราควรต้องเฝ้าระวังและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนและใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แนะนำให้รีบไปรับวัคซีนป้องกันโควิดโดยเร็ว
และใครที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป สามารถรับวัคซีนเข็ม 3 (Booster Dose) เพราะร่างกายของเราต้องการระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะเคยติดเชื้อโควิดมาแล้ว หรือฉีดวัคซีนครบแล้ว ก็ยังคงติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนี้ได้!
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (B.1.1.529) จากรายงานส่วนใหญ่ในผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเล็กน้อยหรือแทบจะไม่แสดงอาการเลย โดยอาจพบอาการเหล่านี้ได้
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่าย
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- ไม่ค่อยมีไข้
- จมูกยังได้กลิ่น
- ลิ้นยังสามารถรับรสได้
- อาจมีอาการไอเล็กน้อย
- ปอดอักเสบ
ล่าสุด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเทศอังกฤษ ได้อัพเดทอาการใหม่ของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มเติม 5 อาการ ซึ่งอาการเหล่านี้แตกต่างจากโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- ไอแห้ง
- เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sikarin.com /Amir Khan (2021)
ทำไม โอมิครอน ถึงมีแนวโน้มความรุนแรงของโรคลดลง??
- พบการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ทั้งนี้อาการมักจะรุนแรงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
- ผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว อาการของโรคจึงลดลง
- การศึกษาในสถานการณ์จริง เช่น ในแอฟริกาใต้ พบว่าไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา
- จากการศึกษาในเซลล์ทดลอง ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนชอบเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนต้นมากกว่าเนื้อเยื่อปอด เป็นเหตุให้ไวรัสลงปอดได้น้อยกว่า
ข้อมูลอ้างอิงจาก ศ.นพ.ยง ภู่สุวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก วันที่ 10 มกราคม 2565
รู้จัก เ ข้าใจ เดลตาครอน!!
นักวิจัยไซปรัส ค้นพบ “เดลตาครอน” โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ “เดลตา” กับ “โอมิครอน”
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ลีออนดิโอส คอสตริกิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยไซปรัส ผู้คนพบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ ได้ตั้งชื่อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ว่า “เดลตาครอน” เนื่องจากมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายโอมิครอนภายในจีโนมเดลตา
จนถึงขณะนี้ คอสตริกิส และคณะนักวิจัยของเขา ได้พบผู้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ 25 รายแล้ว แต่ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อีกหรือไม่ หรือผลกระทบที่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์นี้เป็นอย่างไรบ้าง
“ในอนาคต เราจะได้เห็นว่า สายพันธุ์นี้จะเป็นไปทางโรคติดต่อทางพยาธิวิทยามากกว่า หรือจะเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น หรือจะเกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์ที่รุนแรง อย่าง เดลตา และโอมิครอน”
โดยบอกด้วยว่า คณะนักวิจัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจำนวน 25 รายการในไซปรัส หลังจัดลำดับพันธุกรรม 1,377 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในไซปรัส ความถี่ของการกลายพันธุ์มีแนวโน้มสูงในหมู่ผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งอาจแปรความได้ว่า เดลตาครอนมีความเชื่อมโยงกับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขณะนี้ เดลตาครอนยังไม่น่ากังวลแต่อย่างใด
ปัจจุบัน ไซปรัสกำลังเข้าสู่การระบาดของโควิด-19 เป็นระลอกที่ 5 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึงวันละ 5,500 รายโดยประมาณ ขณะที่มีประชากรเพียงล้านคน
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.sanook.com วันที่ 9 /1/2565
เดลตา + โอมิครอน = เดลตาครอน จริงหรือ???
จากวันเดียวกัน ( 9/1/2565) ที่มีข่าวว่าพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ติดเชื้อแล้ว 25 ราย ตั้งชื่อให้ว่า เดลตาครอน นั้น ก็มีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของไวรัส มาให้ความเห็นกันว่า ยังเร็วเกินไปที่บอกว่า เดลตาครอน เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นลูกผสมระหว่าง เดลตา และโอมิครอน ยังต้องรอผลตรวจสอบที่แน่ชัด และชื่อ เดลตาครอนนั้นก็ยังไม่นับว่าไม่เป็นชื่อทางการ เพราะทางองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้รับรอง
วันที่ 9 ม.ค. 65 ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โควิดกลายพันธุ์ เดลตาครอน ว่าจากข่าวใหม่ ที่บอกว่า “ทีมนักวิจัยไซปรัส พบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ พบผู้ติดเชื้อแล้ว 25 ราย ตั้งชื่อให้ว่า เดลตาครอน” … ต้องเน้นเหมือนเดิมว่า “ใจเย็นๆ ครับ” It’s still too early to tell whether there are more cases of the strain or what impacts it could have. ยังเร็วเกินไปที่บอกว่า จะมีคนติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น หรือจะมีผลกระทบอะไรต่อมนุษย์บ้างคือแม้ว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านพันธุกรรม จากการกลายพันธุ์บนจีโนมของไวรัส ก็ต้องดูก่อนว่า 1. มันก่อโรคที่รุนแรงขึ้นมั้ย 2. มันดื้อวัคซีนที่มีอยู่แค่ไหน 3. มันระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่หรือเปล่า … ถ้าไม่ใช่ ก็ยังไม่น่าจะนับว่าเป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” ครับ
อ่อ.. แล้วจริงๆ เชื้อนี้ ควรจะเรียกว่าเป็น “เดลต้ากลายพันธุ์” ตัวใหม่ ที่บังเอิญมีหลายจุดกลายพันธุ์ไปคล้ายโอมิครอน (omicron-like genetic signatures within the delta genomes) อย่าเข้าใจผิดกันว่ามันเป็นลูกผสมระหว่างเดลต้ากับโอมิครอนนะครับ ข่าวยังไม่ระบุแบบนั้น
แถมนิดนึงว่า ชื่อ “เดลตาครอน” นี้ ไม่นับว่าเป็นชื่อทางการขององค์การอนามัยโลกนะครับ อ่อ แล้วก็คนละเรื่องกับเชื้อ “เดลมิครอน” ด้วยนะครับ อันนั้นมันข่าวลือปลอมๆ
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.amarintv.com
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา ระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ เดลตาครอน (Deltacron) ว่ายังต้องรอผลตรวจสอบจึงจะสรุปได้ ถ้าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่จริงก็ต้องติดตามเก็บข้อมูลต่อไปว่า กระทบกับ 3 มิติทางด้านสาธารณสุขหรือไม่ ถ้าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นั้นมีผลกระทบกับทางด้านสาธารณสุขแล้ว จึงจะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการอักษระกรีกว่า พาย Pi ซึ่งต่อจากโอมิครอน
ข้อมูลอ้างอิงจาก today.line.me
ไวรัสโควิด 19 แม้ว่าจะอยู่กับโลกเรามาสักพักใหญ่แล้ว แต่ความที่เป็นไวรัสที่สามารถกลายพันธุ์ได้ จึงทำให้เหมือนเป็นเรื่องใหม่อยู่ตลอดเวลา การติดตามข่าวสาร เพื่อให้รู้จัก และเข้าใจในไวรัสแต่ละตัวจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ไม่ว่าเจ้าไวรัสจะกลายเป็นกี่สายพันธุ์ การสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่างระหว่างกัน ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไว้ช่วยป้องกันให้เราห่างไกล รอดพ้นจากไวรัสโควิด 19 ในทุกสายพันธุ์ได้ในระดับที่น่าพอใจอยู่ดี ดังนั้นเราจึงไม่ควรตื่นตระหนกกันมากเกินไปนัก ควรเรียนรู้เพื่อหาวิธีที่จะต้องมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมไปกับไวรัสโควิด 19 ให้ได้
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
อุทาหรณ์..แม่เตือน ล้างขวดนม ผิดวิธี เสี่ยงทำลูกติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่