ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ เสี่ยงมะเร็ง มดลูก - Amarin Baby & Kids
ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ เพิ่มโอกาสมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภัยร้ายที่มาพร้อมหนวดของสาว ๆ ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ หมอแนะรีบไปอัลตราซาวนด์ เสี่ยงมะเร็งได้!

ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจเป็นมะเร็งได้

นพ.อรัณ ไตรตานนท์ สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลราชวิถี ได้ออกมาเตือนผู้หญิงที่มีหนวดขึ้น ให้รีบไปตรวจอย่างละเอียด เพราะอาจป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ โดยโพสต์ในเพจ อรัณ ไตรตานนท์ โต๊ะทำงาน ไว้ว่า ผู้หญิงหลายคนมีหนวด ควรรีบไปหาหมอสูติ อัลตราซาวน์ดรังไข่ เพราะอาจจะเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ รักษาง่าย ไม่เจ็บตัว แค่กินยา แต่หากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

หมอสูติเตือน ผู้หญิงมีหนวดอย่านิ่งนอนใจ รีบไปตรวจ! ระวังเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ภัยร้ายเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ผู้หญิงมีหนวดเสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ

สำหรับผู้หญิงที่มีหนวด นี่เป็นสัญญาณของความเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) มาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS)

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นกลุ่มอาการที่รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยที่สุด กลุ่มเสี่ยงของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เริ่มตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์ 18 ปี ไปจนถึงราว ๆ 45 ปี สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้ ยังไม่มีแน่ชัด แต่มักจะพบว่า ผู้หญิงที่มีโรคนี้มีความผิดปกติของฮอร์โมนอยู่หลายตำแหน่ง รวมไปถึงรังไข่ ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ ทั้งยังอาจพบว่าระดับเอนไซม์อินซูลินในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

4 อาการอันตราย เสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  1. ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาแค่ 6-8 ครั้งต่อปี หรือประจำเดือนเว้นช่วงนานจนรอบเดือนมาห่างกันเกิน 35 วัน อาจพบรอบเดือนขาด มาไม่ติดต่อกันนานกว่า 3 รอบ หรือมาไม่ติดต่อกันยาวนานถึง 6 เดือน บางรายประจำเดือนขาดเป็นปี ซึ่งเป็นสัญญาณร่างกายที่บอกว่าเกิดภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
  2. ปริมาณของประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย 10-20 วัน บางครั้งมาพร้อมอาการปวดประจำเดือน แต่บางรายประจำเดือนมามากเกินไปหรือนานเกินไป อาจพบเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติได้
  3. ภาวะฮอร์โมนเพศชายสูง หรือภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน เกิดภาวะขนดกบริเวณ แขน ขา ร่องอก ท้องส่วนล่าง มีหนวด ใบหน้ามีผิวมัน สิวขึ้น ศีรษะล้านแบบเพศชาย
  4. น้ำหนักเกินเกณฑ์ อ้วน ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน

ความอ้วนส่งผลต่อภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

เมื่อน้ำหนักเกิน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน จนไขมันมาก ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงผิดปกติได้ จึงไม่มีการตกไข่ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศยังทำให้มีบุตรยากอีกด้วย

อันตรายจากโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • ภาวะมีบุตรยาก เกิดจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง เมื่อตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงดังนี้
  1. แท้งบุตรในช่วง 3 เดือนแรก
  2. เบาหวานขณะตั้งครรภ์
  3. ครรภ์เป็นพิษ
  4. ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
ผู้หญิงมีหนวดอย่านิ่งนอนใจ รีบไปตรวจ! ระวังเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS
ผู้หญิงมีหนวด ระวังเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS

การตรวจและวินิจฉัยโรค PCOS

  • ซักประวัติ ได้แก่ ประวัติครอบครัว โรคประจำตัว ประวัติการตั้งครรภ์ การมีประจำเดือน การใช้ยา โดยเฉพาะยาคุมกำเนิดและยาฮอร์โมน
  • ตรวจร่างกาย ได้แก่ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ดูภาวะอ้วนด้วยการคำนวณค่า Body Mass Index-BMI วัดความดันโลหิต ตรวจภาวะแอนโดรเจนเกิน ด้วยการเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมน ตรวจลักษณะการกระจายขน ดูเรื่องผิวมัน สิว
  • ตรวจภายในด้วยการอัลตราซาวนด์อุ้งเชิงกรานเพื่อดูรังไข่
  • ประเมินภาวะของโรคเบาหวานและไขมันในเลือด

วิธีการรักษา PCOS

  • ลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลดความอ้วนจนน้ำหนักกลับมาในเกณฑ์ปกติได้แล้ว ฮอร์โมนจะกลับมาทำงานใกล้เคียงกับปกติ ทั้งยังช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
  • ทานยาโดยแบ่งเป็น
  1. ผู้ที่ต้องการมีบุตร รักษาด้วยยากระตุ้นการตกไข่ หรือการผ่าตัดในกลุ่มที่มีบุตรยาก โดยส่องกล้องผ่านหน้าท้องแล้วจี้ด้วยไฟฟ้าหรือเลเซอร์ผิวรังไข่ให้เป็นจุด ๆ เพื่อกระตุ้นการตกไข่ ให้สามารถตั้งครรภ์ได้
  2. ผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร รักษาด้วยยาฮอร์โมนช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ แต่อาจพบผลข้างเคียงคล้ายยาเม็ดคุมกำเนิด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน

ในบางรายแพทย์อาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว เช่น รักษาอาการดื้ออินซูลินเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีการรักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว

วิธีป้องกันการเกิดโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  1. ควบคุมน้ำหนัก ดูแลร่างกายด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างพอดี เลี่ยงแป้ง ลดน้ำตาล ไม่กินอาหารไขมันสูง เลือกผักและผลไม้ พร้อมทั้งดื่มน้ำให้มาก เมื่อร่างกายมีน้ำหนักตามเกณฑ์จะทำให้ฮอร์โมนทำงานอย่างปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วนต้องลดน้ำหนักให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ
  3. พยายามผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ

หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายให้ดี หากมีขนดก มีหนวด ผิวมัน เกิดสิว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากจะยิ่งเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้

อ้างอิงข้อมูล : อรัณ ไตรตานนท์ โต๊ะทำงาน, bangkokhospital และ siphhospital

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เหงื่อ ออกมากหลังคลอด..ผิดปกติหรือเปล่า?

พุงยุบหุ่นปัง!งานวิจัยเผยแม่ให้นมเผาผลาญ500 แคลอรี่ /วัน

เมื่อฉัน “แพ้ น้ำอสุจิ จากสามี”

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up