ระวัง! ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ อาจเป็นต้นเหตุจากโรคเหล่านี้ - Amarin Baby & Kids
ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ

ระวัง! ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ อาจเป็นต้นเหตุจากโรคเหล่านี้

Alternative Textaccount_circle
event
ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ
ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ

ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ อาการประจำของผู้หญิงหลาย ๆ คนระหว่างมีประจำเดือน จึงมักถูกมองข้าม เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หายเหมือนช่วงที่มีประจำเดือน

ระวัง! ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ อาจเป็นต้นเหตุจากโรคเหล่านี้

อาการที่มักเกิดกับผู้หญิงในระหว่างมีรอบเดือนคือ ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ บางคนปวดมากขนาดไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้เลย ได้แต่รับประทานยาและนอนอย่างเดียว แต่อาการปวดนี้คุณผู้หญิงไม่ควรไว้วางใจ ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวมข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการ ปวดท้องน้อย มาฝากเป็นความรู้ให้คอยระวังกันค่ะ

ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ
ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ

ระวัง! ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ อาจเป็นต้นเหตุจากโรคเหล่านี้

อาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) ในผู้หญิง เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว มีทั้งการปวดแบบเฉียบพลัน และการปวดแบบเรื้อรัง อาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนได้ อาการปวดท้องน้อย อาจจะเกี่ยวข้องกับ 4 ระบบภายในร่างกาย ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติภายในระบบสืบพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบลำไส้ และระบบกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน

อาการปวดท้องอย่างไร ที่ควรพบสูตินรีแพทย์

  • ปวดเฉียบพลัน ทันที และมีอาการรุนแรง
  • อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวด
  • อาการปวดที่เป็นนานเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเป็นมานานกว่า 6 เดือน
  • อาการปวดที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด มีประวัติมีบุตรยาก
  • ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งสาเหตุของอาการปวดนั้นมีได้ทั้งจากโรคเกี่ยวกับลำไส้ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นมาจากโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ ถุงน้ำ (cyst) รังไข่

ปวดท้องน้อย อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคดังนี้

  • โรคที่เกิดในระบบสืบพันธุ์

โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ โรคเนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri) และโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ในกลุ่มนี้จะมีอาการปวดประจำเดือนมาก ประจำเดือนมามาก มีลักษณะเป็นลิ่มเลือดหรือเป็นก้อน เวลาปวดจะปวดประจำเดือนและมักปวดร้าวไปทั้งหลัง ก้น จนถึงขา

ซึ่งในกลุ่มนี้หากมีอาการปวดท้องน้อย แพทย์จะต้องซักประวัติว่าก่อนว่าเคยมีประวัติโรคเกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่หรือไม่ เพราะโดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการสัมพันธ์กับรอบเดือน หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้องน้อย มีเลือดออกผิดปกติ มีปริมาณประจำเดือนมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ฯลฯ

    • โรคเนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri) อาการปวดมักเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกใหญ่จนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง การบิดขั้วของเนื้องอกจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรง ปวดท้องประจำเดือน หรือ มีเนื้อตายภายในเนื้องอก
    • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการ ปวดท้องประจำเดือน โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติมีบุตรยาก ปวดเรื้อรังนานกว่า 6 เดือน ปวดหน่วงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ยังรวมถึงโรค chocolate cyst อีกด้วย
    • เนื้องอก หรือ ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor) อาจเกิดการบิดขั้ว แตก รั่ว ของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบเฉียบพลัน อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือ ติดเชื้อได้ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุก เสียด ทานอาหารอิ่มง่ายได้
  • โรคที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ, นิ่ว, กรวยไตอักเสบ เป็นต้น มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับปัสสาวะสามารถที่สังเกตได้ทันที เช่น รู้สึกแสบขัดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด และปวดท้องน้อยร่วมด้วย หรือสีของน้ำปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีฟอง สีขุ่น

  • โรคที่เกิดในระบบลำไส้

โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งในกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติที่ทางเดินอาหารหรือสำไส้ คนไข้จึงมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือด หรือถ่ายเหลว ร่วมด้วย

  • โรคที่เกิดในระบบกล้ามเนื้อ

โรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบ มักพบว่าเป็นไปตามประวัติการใช้งานของคนไข้ อาการคือปวดบริเวณหน้าท้อง ท้องน้อย ไปจนถึงหัวหน่าว คนไข้ที่ปวดบริเวณนี้มักจะมีประวัติยกของหนัก หรือเกร็งกล้ามเนื้อ จากการออกกำลังกายอย่างหนัก

ปวดท้องน้อย ระวังโรคต่างๆ
ปวดท้องน้อย ระวังโรคต่างๆ

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการปวดท้องน้อย

สำหรับผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนเป็นประจำ อาจป้องกันไม่ให้มีอาการปวดที่รุนแรงได้ โดยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักผ่อนคลายความเครียดเพื่อให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ในช่วงที่มีประจำเดือน ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้ลำไส้เกิดการบีบรัดเกินไป จะช่วยทุเลาอาการปวดท้องน้อยได้

สำหรับอาการปวดท้องน้อยจากสาเหตุอื่น สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร รวมถึงมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุของอาการปวดท้องน้อยได้

สิ่งที่สำคัญ! คือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ส่วนในกลุ่มที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ควรตรวจภายในปีละครั้งเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี หากตรวจติดต่อกัน 3 ปีแล้วไม่พบความผิดปกติก็สามารถตรวจเว้นปีได้

การตรวจและการวินิจฉัย

  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. การตรวจภายใน
  3. การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
  4. การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน

อาการปวดท้องน้อยจากเนื้องอกมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการดังนี้

  1. รักษาด้วยการให้ยา มีทั้งยาทานและยาฉีด ยาทั่วไปที่แพทย์มักจะใช้ในการรักษาโรคปวดท้องน้อยก็คือ ยาลดปวด ยาคุมกำเนิด และยาฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ
  2. รักษาด้วยการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง และมีสาเหตุของโรคที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, มีเนื้องอกขึ้นตามอวัยวะต่าง ๆ ที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม แพทย์จะทำการวินิจฉัยอีกทีว่าควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่
    โดยการผ่าตัดทำได้ 2 วิธีคือ ผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งมีข้อดีคือมีแผลเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว และคนไข้ไม่เจ็บตัวมาก และการผ่าตัดเปิดหน้าท้องที่คนไข้จะต้องพักฟื้นนานกว่า  แต่ก็มีข้อดีคือค่าใช้จ่ายถูกกว่า
  3. รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ยังสามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ อีก เช่น ทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ รวมไปถึงการฝึกบุคลิกภาพแบบใหม่ เป็นต้น
ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดส่องกล้อง
ข้อดี ใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่มาก หรือมีการลุกลามอวัยวะข้างเคียง – ใช้ได้ดีในโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เพราะสามารถเห็นรอยโรคชัดเจน
แผลเล็ก
– ฟื้นตัวเร็วระยะการนอนโรงพยาบาลและการพักฟื้นที่บ้านสั้น
– เสียเลือดน้อย
-ปวดหลังผ่าตัดน้อย
ข้อเสีย – เสียเลือดมากกว่า
– เกิดพังผีดหลังการผ่าตัดมากกว่า
– ไม่ใช้ในบางกรณี เช่น มีการติดเชื้อกระจายในช่องท้อง
– ไม่สามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีภาวะช็อค

ทั้งนี้การรักษาจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ดี ล้วนขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ป่วยร่วมด้วย หากผู้ป่วยสามารถจดจำรายละเอียด หรือให้ข้อมูลในขณะปวดท้องได้อย่างชัดเจน ย่อมมีโอกาสที่แพทย์จะหาสาเหตุให้ตรงกับโรคที่เป็นอยู่ได้มากยิ่งขึ้น

เพราะอาการปวดท้องน้อย อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังบอกว่าระบบการทำงานของอวัยวะที่อยู่ในหรือใกล้กับท้องน้อยของเรากำลังมีปัญหา ดังนั้น คุณผู้หญิงไม่ควรชะล่าใจ หากสังเกตพบความผิดปกติจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาตามสาเหตุของโรค ความรุนแรงและอายุของผู้ป่วย และควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยคัดกรองโรคทางนรีเวชเหล่านี้ได้ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ไว ก็จะช่วยให้กลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิมได้

บทความเกี่ยวกับการ ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ ที่ทีมกองบรรณาธิการ ABK รวบรวมข้อมูลมาฝากนี้ คงเป็นประโยชน์สำหรับคุณผู้หญิงที่มีอาการดังกล่าวนี้นะคะ หากคุณผู้หญิงเกิดอาการ ปวดท้องน้อยใต้สะดือ ขึ้นมา ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ไม่ใช่คุณไสยฯ!ก้อนเส้นผมในรังไข่เป็น โรคเดอร์มอยด์ซีสต์

เพราะเวลาทั้งหมดเพื่อลูก! ระวัง”แม่ฟลูไทม์” ซึมเศร้า

ลดน้ำหนักหลังคลอด วิธีง่ายๆ แค่ “กินกล้วย” ก็ผอมได้

อาหารสร้างภูมิคุ้มกันตาม “กรุ๊ปเลือด” หลีกหนีภูมิแพ้ !!!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.phyathai.com, https://www.nakornthon.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up