15. มะเร็งผิวหนัง
ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบๆ และเมื่อเป็นมาก จะเป็นก้อนคล้ายดอกกะหล่ำปลี มะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว รวมถึงอาการมีแผลหรือตุ่มที่ผิวหนังซึ่งไม่ยอมหาย ตกสะเก็ด เป็นอาการบ่งชี้ของโรคมะเร็งผิวหนัง แต่การที่มีตุ่มซึ่งดูเงามัน หรือสะเก็ดแห้งที่ผิวหนัง ก็เป็นลักษณะของมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีหรือมะเร็งไฝ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
16. มะเร็งเม็ดเลือดขาว
สัญญาณแรกพบรอยฟกช้ำตามนิ้วและมือ หรือเลือดออกไม่หยุด เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง เหงือก มีอาการเลือดจาง ซีด หน้ามืด เวียนศีรษะ มีอาการไอเรื้อรังหรือเจ็บหน้าอกร่วมด้วย เหนื่อยง่าย ต่อมน้ำเหลืองโต อาจพบก้อนในท้องเนื่องจาก ตับ ม้าม โต ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย มีไข้ อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติและจะไปเบียดเบียนเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ ทำให้ร่างกายขาดความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค แพทย์มักตรวจพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ใหญ่ที่ป่วยและมาพบแพทย์ซ้ำๆ ด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยตัว และอาการคล้ายไข้หวัดเป็นเวลานาน
17. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการคือต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีก้อนที่โตเร็วไม่เจ็บบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ มีอาการปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง แผลเรื้อรังที่กระพุ้งแก้ม โพรงจมูก มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ แต่อาการดังกล่าวส่วนมากไม่พบแต่เฉพาะในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น อาจพบในมะเร็งระบบอื่นได้เช่นกัน
18. มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท
อาการของเนื้องอกในสมอง คือ ปวดศีรษะ ตามัว อาเจียน เป็นอัมพาตแขน ขา ตาบอด เดินเซ หูหนวก ชักกระตุก ความจำเสื่อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ก้อนเนื้องอกนั้นเกิดขึ้นที่ใด และกดอวัยวะส่วนใดของสมอง อาการของเนื้องอกในไขสันหลัง คือ ปวดหลัง แขนขาชาและอ่อนแรง เดินเซ เดินไม่ถนัดหรือเป็นอัมพาต การควบคุมการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก อาการของเนื้องอกที่ประสาทส่วนปลาย คือ คลำพบก้อนหรือรู้สึกชา หรือร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อาการต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจเกิดจากสาเหตุหรือโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่เนื้องอกก็ได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป
19. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มาจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก) จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีเจริญพันธุ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในระยะแต่งงานกันใหม่ๆ ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า Honey Moon Cystitis อาการมักมีปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียด ตึง ถ่วง บริเวณท้องน้อย มีกลิ่นผิดปกติ มีเลือดปน
แต่ทั้งนี้โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักพบได้บ่อยเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของมะเร็งที่พบมากในเพศ มีอาการปวดหลัง หรือ เกิดโรคไตเรื้อรัง หรือภาวะไตวายได้ ซึ่งเกิดจากการลุกลามของโรคมะเร็งไปอุดตันท่อไต นอกจากนั้นอาจมีอาการที่เกิดจากการที่โรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ เช่น คลำต่อมน้ำเหลืองได้ที่ขาหนีบ หรือเหนือไหปลาร้า เมื่อมีโรคกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองนั้นๆ อาจมีอาการไอ หายใจลำบากหากมีโรคกระจายไปปอดหรือมีอาการปวดกระดูก หากโรคกระจายไปกระดูก
การรักษาโรคมะเร็งต่างๆ
การตรวจพบโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ย่อมเป็นผลดีต่อการรักษา ซึ่งวิธีการรักษานั้นมีดังนี้
1. การผ่าตัด เป็นการเอาก้อน ที่เป็นมะเร็งออกไป
2. รังสีรักษา เป็นการให้รังสีกำลังสูง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
3. เคมีบำบัด เป็นการให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
4. ฮอร์โมนบำบัด เป็นการใช้ฮอร์โมนเพื่อหยุดการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็ง
5. การรักษาแบบผสมผสาน เป็นการรักษาร่วมกันหลายวิธี ดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
ซึ่งจากอาการข้างต้นนั้นมักเป็นบ่อยๆหรือเป็นต่อเนื่องยาวนานผิดปกติจากที่เราเคยเป็นหรือไม่เคยเกิดขึ้นแต่เกิดขึ้นแล้วหายช้าหรือเรื้อรังหรือเกิดร่วมกับอาการอื่นๆได้ค่ะ เพราะฉะนั้นควรใส่ใจสุขภาพตรวจร่างกายปีละครั้งเพื่อความไม่ประมาท มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก อย่าละเลยสัญญาณเตือนทั้ง 20 ข้อข้างต้นกันนะคะ ถ้าร่างกายเริ่มส่งสัญญาณเตือนดังกล่าวแล้ว ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุได้ทันท่วงที
ขอบคุณข้อมูลอ้าวอิง จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 121 ธันวาคม 2553 โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
www.manager.co.th , www.healthtodaythailand.com , www.thaibreastcancer.com