ตุ่มที่ผิวหนัง

ตุ่มที่ผิวหนัง 1 ในสัญญาณบอกโรคมะเร็ง

Alternative Textaccount_circle
event
ตุ่มที่ผิวหนัง
ตุ่มที่ผิวหนัง

5 สัญญาณเตือน ความผิดปกติของผิวหนัง ที่บอกโรคมะเร็งภายในได้

  1. พบบ่อยมากที่สุด คือ เป็นลักษณะขึ้น ตุ่มที่ผิวหนัง ซึ่งอาจไม่เจ็บ เป็นตุ่มกลมหรือรูปไข่ มีลักษณะค่อนข้างแข็ง ส่วนใหญ่มีสีเหมือนผิวหนังแต่ก็อาจมีสีอื่นได้ เช่น สีน้ำตาล ดำ หรือน้ำเงิน อาจจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงการเป็น โรคมะเร็งของไต และมะเร็งของต่อมไทรอยด์ อาจมีสีแดง และม่วง ตุ่มที่ผิวหนัง เหล่านี้มีขนาด ตั้งแต่มองแทบไม่เห็น จนขยายกลายเป็นก้อนเนื้องอกก้อนโตได้
  2. ผิวหนังอักเสบบวมแดงเหมือนมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือในบางครั้งอาจมีอาการหลอดเลือดฝอยขยายตัวร่วมด้วย รวมถึงบางครั้งผิวหนังจะดูตะปุ่มตะป่ำลักษณะคล้ายเปลือกส้ม อาจจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงการเป็น โรคมะเร็งเต้านม ซึ่งมักเกิดในเพศหญิงมากที่สุด
  3. ผิวหนังบริเวณหน้าอก ท้อง และหลัง พบว่ามีความผิดปกติเกิดรอยคล้ายโรคเป็นโรคงูสวัด มักเป็นที่หน้าอกหรือท้อง อาจจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงการเป็น โรคมะเร็งปอด ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในเพศชายมากที่สุด
  4. ผิวหนังแห้งแตกลักษณะเหมือนเกล็ดปลาขั้นรุนแรง อาจจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงการเป็น มะเร็งในเม็ดเลือด
  5. คันผิวหนังทั้งตัวจนนอนแทบไม่ได้ ทั้งๆที่ไม่มีผื่นแพ้ ไม่มีเป็นลมพิษ หรือ ตุ่มที่ผิวหนัง รวมถึงมีอาการคัน หลังจากการอาบน้ำ อาจจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงว่า มีอาการตับหรือไตทำงานไม่ปกติ เนื่องจากมีของเสียสะสมในร่างกาย และยังเป็นอาการแสดงเบื้องต้นของ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ด้วย รวมถึงอาจคลำพบก้อนที่บริเวณคอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มักไม่เจ็บต่างจากการติดเชื้อทั่วไป

 

 เพศหญิง มะเร็งภายในที่แพร่กระจายสู่ผิวหนังบ่อยที่สุดคือ มะเร็งเต้านม

เพศชาย มะเร็งภายในที่แพร่กระจายสู่ผิวหนังบ่อยที่สุดคือ มะเร็งปอด

 

อย่างไรก็ตาม การจะวินิจฉัยว่า ความผิดปกติของผิวหนัง ตุ่มที่ผิวหนัง หรืออื่นๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีต้นตอจากมะเร็งภายในชนิดใด เพื่อความชัดเจนมากที่สุด ก็ควรจะต้องมีการตัดผิวหนังบริเวณที่พบการเปลี่ยนแปลงส่งให้แพทย์เฉพาะทางตรวจดูอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งจะพบเซลล์มะเร็งที่แสดงลักษณะเฉพาะของมะเร็งต้นตอ

แต่ในบางครั้งเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายสู่ผิวหนังอาจมีลักษณะเหมือนเซลล์ที่ยังพัฒนาไม่เต็มวัย ทำให้ดูลักษณะไม่ออกว่าต้นตอเป็นมะเร็งของอวัยวะใดก็เป็นได้ ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาด้วยเทคนิคเฉพาะ เช่น เทคนิคย้อมด้วยอิมมูโนฮิสโทเคมิคอล การทำเอ็มอาร์ไอ การทำซีทีสแกน และอัลตราซาวด์ พบว่าบางครั้ง ผื่นผิวหนังหรือ ตุ่มที่ผิวหนัง ที่เกิดจากมะเร็งภายใน อาจมีลักษณะคล้ายโรคผิวหนังที่ไม่ร้ายแรง เช่น เหมือนแค่เป็นซีสต์ เป็นไฝแดง หรือเป็นโรคผิวหนังชนิดไม่ร้ายแรง จึงทำให้ผู้ป่วยละเลยที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ทำให้พลาดโอกาสในการวินิจฉัยมะเร็งภายใน และอาจจะทำให้การรักษายิ่งช้าลง

 

ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆได้ด้วย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up