ใครที่มีคิวนัดฉีด วัคซีนโควิด -19 ควรเช็กก่อน! หากมี 6 อาการเหล่านี้ ต้องเลื่อนการเข้ารับฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปก่อน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการเกิดอาการข้างเคียง
6 อาการที่ฉีด วัคซีนโควิด ไม่ได้!
การฉีดวัคซีนโควิด -19 ก็เหมือนกับวัคซีนอื่นๆ ที่ไม่ได้ให้ผลในการป้องกัน 100% ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนและการตอบสนองของแต่ละบุคคล และแม้จะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบรุนแรงได้ดี ดังนั้นทุกคนจึงควรต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งนี้เพื่อให้การรับวัคซีนได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนจึงจำเป็นต้องเตรียมตัว เตรียมสุขภาพ เพื่อให้พร้อมสำหรับการฉีดวัคซีน ซึ่งทางศูนย์บริการฉีด วัคซีนโควิด – 19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ที่มีนัดหมายการฉีดวัคซีนที่มีอาการดังต่อไปนี้
- เป็นหวัด
- เจ็บคอ
- ไอ
- ท้องเสีย
- มีไข้ ( 7 วันก่อนวันนัดหมาย)
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะได้รับเชื้อโควิด-19
ควร เลื่อนฉีดวัคซีนโควิด ออกไป 7-10 วัน เพื่อควบคุมและลดโอกาสเสี่ยงจากการเกิดอาการข้างเคียงและการแพร่เชื้อ .. ทั้งนี้ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย
- ถ้าใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
- ฉีดวัคซีน COVID-19 ห่างจากการฉีดวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์
- กรณีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาลของดการฉีดวัคซีน
- อ่านเลย! ก่อน พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้าง?
- หมอสูติตอบชัด! คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดอย่างไรให้..ปลอดภัยทั้งแม่ลูก
- โอไมครอน (Omicron)ในเด็กมีสิทธิ์ติดเชื้อรุนแรงแค่ไหน?
อาการข้างเคียงหลังฉีด วัคซีนโควิด
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มักเป็นสัญญาณแสดงว่าร่างกายกำลังถูกวัคซีนกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป ไม่รุนแรง และหายได้เองในระยะเวลาไม่นาน เช่น
- อาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่วๆ เช่นมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่
- อาการรุนแรง พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อยเช่น มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
- อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรงความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว หากพบว่ามีอาการรุนแรง หลังการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที่ พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน
ทั้งนี้ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด) และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว ก็ยังคงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 กระตุ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรืออาการป่วยรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เป็นเพียงปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อวัคซีนเท่านั้น และแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่อไปอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ตัวเอาเองกลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากเราได้
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ , www.ram-hosp.co.th , คู่มือวัคซีนสู้โควิด (ฉบับประชาชน) , กรมควบคุมโรค
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความน่าสนใจ
รู้ก่อนป้องกันได้! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เด็กติดโควิดเสียชีวิต คืออะไร?