14 ข้อสำคัญ เพื่อรับมือกับลูกน้อยที่เป็น “เด็กออทิสติก”
การรักษาโรคออทิสติกเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- ควรเริ่มรักษาตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อเพิ่มพัฒนาการทางภาษาและทักษะทางสังคมด้านอื่นๆ
- จิตแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เด็กเข้ารับการบำบัด ซึ่งพฤติกรรมบำบัดก็เป็นหนึ่งในนั้น
- การรักษาโรคออทิสติกไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮวบฮาบ ที่จริงการเปลี่ยนแปลงไม่ส่งผลดีกับการรักษาเด็กกลุ่มนี้ เพราะเด็กจะมีอาการวิตกกังวลหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
- จัดตารางกิจวัตรประจำวันเพื่อให้ลูกรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป นี่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา
- ตารางกิจวัตรที่มีกิจกรรมต่อเนื่องชัดเจนจะทำให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
- ถ้าจะส่งลูกไปโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ ต้องแน่ใจว่าลูกรู้สึกปลอดภัยและไม่กดดัน
- ความบกพร่องในการสื่อสารทำให้เด็กออทิสติกขาดทักษะทางภาษาที่ดี จึงมักพูดคำหรือวลีที่ไม่รู้เรื่อง อีกทั้งความบกพร่องด้านความคิดและความรู้สึกทำให้เด็กมักจะสื่อสารด้วยภาพ
- รูปภาพและบัตรคำศัพท์เป็นตัวช่วยที่ดีในการใช้สื่อสารกับลูก และยังช่วยในการฝึกพูดอีกด้วย
- ถ้าลูกหงุดหงิดหรือไม่สามารถบอกความต้องการออกมาเป็นคำพูดได้ การใช้รูปภาพจะเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับเขาในการสื่อสาร
- อีกวิธีหนึ่งเพื่อช่วยเรื่องทักษะการสื่อสารคือการใส่ใจในสิ่งที่เด็กกำลังพูด เด็กออทิสติกมักจะใช้คำพูดซ้ำๆ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับสิ่งที่ลูกกำลังพยายามสื่อสารกับคุณ คุณจึงต้องตีความและจดบันทึกไว้เพื่อจะได้เข้าใจเมื่อลูกใช้คำหรือท่าทางแบบนั้นอีก
- จดบันทึกคำหรือท่าทางที่ลูกใช้เสมอ ไม่นานคุณจะเห็นแบบแผนการสื่อสารของลูก
- การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเด็กออทิสติก
- อย่าหงุดหงิด เพราะความหงุดหงิดของคุณจะยิ่งทำให้ลูกอาละวาด
- การให้รางวัลและการชมเชยจะช่วยในการรักษาเด็กออทิสติกได้
เด็กออทิสติก จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นในช่วงอายุตั้งแต่ 18 เดือนเป็นต้นไป พ่อแม่จึงต้องมองให้ออก การมองเห็นสัญญาณแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดผลกระทบในด้านลบของโรคออทิสติกได้ …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า เพราะอะไร แล้วจะพัฒนาได้ไหม ?
เรากำลังเลี้ยงลูกให้เป็น “ออทิสติกเทียม” ด้วย ทีวี แท็บเล็ต และเร่งเรียน หรือเปล่า?
ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
momjunction