วัคซีน PCV ฉีดฟรี พ่อแม่รู้ไว้โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอันตราย รุนแรงถึงชีวิต แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเด็ก วันนี้กทม.แจกให้เด็กเล็กฉีดฟรี รีบด่วน
วัคซีน PCV กทม.ฉีดฟรี! ให้ลูกน้อยห่างไกลปอดอักเสบ
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Streptococcus pneumoniae(สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกกลุ่มอายุ และมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว การติดเชื้อส่วนใหญ่มักทำ ให้เกิดโรคปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ
อาการ
โดยอาการจะเริ่มจากการมีไข้สูงคล้ายโรคติดเชื้อทั่วไป 2-3 วัน การติดเชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรครุนแรงขึ้น และแพร่กระจายที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Disease หรือ IPD ปกติแล้วอาการและความรุนแรงของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสจะขึ้นกับบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ ซึ่งอาการที่พบ ได้แก่
- หูชั้นกลางอักเสบ: ปวดหู สูญเสียการได้ยิน มีไข้
- ไซนัสอักเสบ: ปวดบริเวณใบหน้า คัดแน่นจมูก ปวดศีรษะ มีน้ำมูกสีเขียว-เหลือง
- ปอดอักเสบ: มีไข้ ไอ เจ็บบริเวณหน้าอก หายใจลำบาก
- การติดเชื้อในกระแสเลือด: มีไข้ ปวดเมื่อย เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
- การติดเชื้อบริเวณสมองและไขสันหลัง: มีไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง และอยู่ในภาวะวิกฤต
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส??
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีโอกาสเกิดโรคแบบรุนแรง ได้แก่
- เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
- ผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งได้แก่
- ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง หรือโรคตับเรื้อรัง
- ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
- ผู้ป่วยที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยเอชไอวี ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะอื่นๆ ที่มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีผลกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเนฟโฟรติก
- ผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease) ผู้ป่วยที่ม้ามทำงานบกพร่อง หรือไม่มีม้าม
- ผู้ที่สูบบุหรี่
ความรุนแรงของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็ก คาดว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสประมาณ 500,000 รายต่อปี ส่วนใหญ่มักเป็นเด็กในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับประเทศไทยพบว่า ใน พ.ศ. 2562 มีเด็กอายุต่ ากว่า 5 ปี ติดเชื้อนิวโมคอคคัส จำนาน 1,228 รายต่อประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวนหนึ่งแสนคน และในจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ติดเชื้อเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 11
เราสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างไร??
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสสามารถป้องกันได้จากการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส วัคซีน PCV
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส !!
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- วัคซีน PCV หรือ Pneumococcal Conjugate Vaccine เป็นวัคซีนชนิดคอนจูเกต ที่ได้จากการเชื่อมผนึกของสารพอลิแซ็กคาไรด์และสารโปรตีน ซึ่งสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หากได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ วัคซีนสามารถลดการเกิดพาหะในคอหอย และใช้ได้กับเด็กตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
- PPSV หรือวัคซีน Pneumococcal Polysaccharide Vaccine เป็นวัคซีนที่ได้จากแคปซูลของเชื้อที่เป็นสารพอลิแซ็กคาไรด์ สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด Immunological memory ในทุกอายุ ทำให้เมื่อมีการฉีดวัคซีนซ้ำจะไม่ทำให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นแบบ Boosting effect นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนชนิดพอลิแซ็กคาไรด์ จะลดลงภายหลังการฉีดวัคซีนประมาณ 5-10 ปี วัคซีนนี้ใช้เฉพาะกับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคที่อายุ 2 ปีขึ้นไป
วัคซีน PCV !!
ใช้ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อป้องกันโรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระเสเลือด (Bacteaemia) ปอดบวม (Pneumonia) และหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Acuteotitis meedia) เป็นต้น โดยใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
วัคซีน PCV ที่ขึ้นทะเบียน และมีใช้ในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่
- วัคซีน PCV10 มีชื่อทางการค้าว่า SynflorixTM ผลิตโดยบริษัท GlaxoSmithKline วัคซีนประกอบด้วยแอนติเจนที่เป็น พอลีแซคคาไรด์ของแคปซูลของเชื้อนิวโมคอคคัส 10 serotypes คือ 1, 4, 5, 6B, 7F, 9V,14, 23F นำมาจับกับโปรตีน D ของเชื้อ non-typeable Haemophilus influenzae ส่วน 18C และ 19F นำมาจับกับ Tetanus และ Diphtheria toxoid ตามลำดับ
- อีกชนิด วัคซีน PCV13 มีชื่อทางการค้าว่า Prevnar13TM ผลิตโดยบริษัท Pfizer วัคซีนประกอบด้วย แอนติเจนที่เป็น พอลีแซคคาไรด์ของแคปซูลของเชื้อนิวโมคอคคัสจำนวน 13 serotypes วัคซีนแต่ละโดสประกอบ ด้วยแอนติเจนของซีโรทัพ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19F และ 23F นำมาจับกับโปรตีน พาหะของเชื้อคอตีบ CRM 197 (a nontoxic mutant of diphtheria toxin) โดยมี aluminum phosphate เป็น adjuvant
อ่านต่อ >>วัคซีน PCV ข้อควรระวัง และอาการข้างเคียงที่พบ คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่