ฝุ่นละออง PM2.5 เด็กต่ำกว่า 5 ขวบสูด เสี่ยงสมองช้า สมาธิสั้น
3. ภูมิคุ้มกันเสื่อม, ติดเชื้ออย่างรุนแรง
สำหรับเด็กเล็กที่อยู่ในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อง่าย อาจจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้นกันเสื่อม และมีอาการติดเชื้อรุนแรงมากกว่าปกติได้
4. ถุงลมขยายไม่เต็มที่, มะเร็งปอด
ในระยะยาวของระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้สมรรถภาพปอดลดลง และในระยะยาวกว่านั้น ในบางการศึกษาพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้หรือมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้หากเด็กมีการสะสมฝุ่นพิษต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งการพัฒนาการทางสมองของเด็ก สติปัญญาหรือสมาธิได้ด้วยเช่นกัน
9 วิธีป้องกันลูกน้อยจาก ฝุ่นละออง PM 2.5
กรมอนามัยได้กำหนดแนวทางการดูแลเด็กเล็กสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยง เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ดังนี้
- ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th แอพพลิเคชั่น Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ หรือ AirVisual
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ในช่วงที่ปริมาณ PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเขียว (26-37 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
- เด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์
- หากค่า PM 2.5 อยู่ในระดับสีแดง (91 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ห้ามออกนอกบ้าน
- ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศ (บทความแนะนำ 9 ต้นไม้กันฝุ่น-ดูดสารพิษ ฟอกอากาศในบ้านให้บริสุทธิ์)
- งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM 2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะ
- ไม่ติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดและเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
ทั้งนี้หากผู้ปกครองพบอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ไอ แน่นหน้าอก หายใจเร็ว หรือในกรณีที่รุนแรง อาจจะมีลักษณะที่อกหรือช่องตรงซี่โครงบุ๋ม ควรพาเด็กออกจากบริเวณที่มีฝุ่น และไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย และทำการรักษาทันที
อ่านต่อ บทความดี ๆ คลิก
วิจัยเตือนพ่อ! พิษจากควันบุหรี่อันตรายกว่า ฝุ่น PM 2.5
รีวิว หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 เลือกใส่แบบไหน ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อย
หมอเตือนระวัง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) โรคที่มากับยุง
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, พลิกปมข่าว ThaiPBS
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่