เตือนภัย! ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ไม่ช่วยให้หาย เสี่ยงตายไม่รู้ตัว - amarinbabyandkids
ยาชุดแก้ปวดเมื่อย

เตือนภัย! ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ไม่ช่วยให้หาย…แถมเสี่ยงตายไม่รู้ตัว

event
ยาชุดแก้ปวดเมื่อย
ยาชุดแก้ปวดเมื่อย

เป็นกลุ่มยาที่ถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ และ ไมเกรน ปวดฟัน ปวดหลังทำการผ่าตัด และอาการปวดอื่นๆ โดยจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งกระบวนการสร้างสารสื่อกลางการอักเสบ

โดยเอ็นเสดนั้นจะไปยับยั้งเอนไซม์ “ไซโคลออกซีจีเนส (cyclooxygenase)” ที่มีส่วนในการสร้างสาร “พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin)” ที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น ควบคุมปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไต สร้างเมือกและด่างเพื่อปกป้องกระเพาะอาหาร

อันตรายจากการกินยาชุด

  • ได้รับยาเกินขนาด เนื่องจากในยาชุดมักมีตัวยาซ้ำซ้อนกัน เช่น ยาชุดแก้ปวดเมื่อย 1 ชุด จะมียาแก้ปวด 2-3 เม็ด เมื่อรับประทานเข้าไป โอกาสในการได้รับอันตรายจากสารพิษของยาจึงมีเพิ่มขึ้น
  • ยาชุดที่มีจำหน่าย มักมียาสเตียรอยด์ร่วมด้วย เพื่อทำให้อาการของโรคบรรเทาโดยเร็ว แต่ยาสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงสูง หากรับประทานไม่ถูกต้อง จะทำให้กระดูกผุ บวมน้ำ ความต้านทานต่ำ
  • ได้รับประทานเกินจำเป็น เช่น ยาชุดแก้ไข้หวัด ประกอบด้วย ยาแก้ปวดแก้ไข้ ยาลดน้ำมูก ยาทำให้จมูกโล่ง ยาแก้ไอ ยาปฏิชีวนะ ซึ่งในบางครั้งผู้ซื้ออาจไม่มีอาการไอ หรือไข้ ก็ไม่จำเป็นต้องทานยาเหล่านี้
  • ได้รับยาไม่ครบขนาด เช่น ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจำเป็นต้องทานให้ครบขนาด มิฉะนั้นจะเกิดการดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
  • ในยาชุดมักมียาเสื่อมคุณภาพ ยาปลอม หรือยาไม่ได้มาตรฐาน

ยาชุดแก้ปวดเมื่อย

คำแนะนำในการซื้อยา

  • ควรซื้อยาจากร้านที่ได้รับอนุญาต อย่าซื้อยาจากรถเร่ หรือหลงเชื่อคำโฆษณา
  • ยาซื้อควรบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีฉลากปิดเรียบร้อย เก็บให้พ้นจากแสงแดด ความชื้น
  • ก่อนกินยาควรอ่านวิธีใช้ ข้อควรระวัง คำเตือน เอกสารกำกับยาให้ละเอียดทุกครั้ง
  • หากเจ็บป่วยเล็กน้อย ให้เลือกใช้ยาสามัญประจำบ้าน
  • อย่าซื้อ และอย่าใช้ยาชุด ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

อย่างไรก็ดี ยารักษาโรคต่างๆ ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่ถ้าใช้ยาไม่ถูกวิธีก็อาจจะเป็นพิษร้ายแรงต่อตัวเราเองได้ สิ่งสำคัญคือ การใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง และควรศึกษาวิธีการใช้ยาและสรรพคุณของยาให้ละเอียด และเลือกซื้อยาจากสถานที่ที่ได้รับการรับรองเท่านั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเองนะคะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,

finance.rabbit.co.th , elib.fda.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up