โรคพิษสุนัขบ้าระบาด

เตือนพ่อแม่! เฝ้าระวัง โรคพิษสุนัขบ้าระบาด หนักในไทย!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคพิษสุนัขบ้าระบาด
โรคพิษสุนัขบ้าระบาด
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือ โรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเรียกว่า “โรคหมาว้อ” จัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคน สุนัข แมว ลิง กระรอก ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก สกังก์ แรคคูน พังพอน ฯลฯ พาหะนำโรคที่สำคัญในประเทศไทย คือ สุนัข ประมาณ 95% รองลงมาคือแมว
โรคพิษสุนัขบ้าระบาด
โดยโรคพิษสุนัขบ้านี้ เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการทางประสาท โดยเฉพาะที่ระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าเป็นแล้วจะเสียชีวิตทุกราย หากฉีดวัคซีนป้องกันโรคไม่ทัน ทั้งนี้ คาดกันว่าในแต่ละปี ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า ปีละกว่า 60,000 คน

แค่โดนหมาข่วนหรือกัด ติดโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร

สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่โดน หมากัด สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ หากรับเชื้อจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้านี้ โดยสามารถรับเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ 2 ทางคือ

1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัดหรือข่วน โดยเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค จะเข้าสู่บาดแผลที่ถูกกัด

2. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลียปกติจะไม่ติดเชื้อ นอกจากว่าบริเวณที่ถูกเลียจะมีบาดแผล หรือรอยถลอก ขีดข่วน รวมทั้งการถูกเลียที่ริมฝีปาก หรือนัยน์ตา

 หากคุณหรือลูกน้อยถูกสุนัขกัดควรดำเนินการต่อไปนี้

  1. ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดฟอกสบู่ 2-3 ครั้ง ถ้ามีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น
  2. ใส่ยาเช่น เบตาดีน ทิงเจอร์ไอโอดีน แอลกอฮอล์ 70% จะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผล ไม่ควรเย็บแผล และไม่ควรใช้รองเท้าตบแผล เพาะอาจทำให้เชื้อกระจายไปรอบบริเวณเกิดแผลได้ง่าย และอาจมีเชื้อโรคอื่นเข้าไปด้วย ทำให้แผลอักเสบ
  3. กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย 15 วันโดยให้น้ำและอาหารตามปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์นั้นดุร้าย กัดคนหรือสัตว์อื่น หรือไม่สามารถกักสัตว์ไว้ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
  4. รีบพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและเซรุ่ม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรรอดูอาการสุนัข เพราะอาจสายเกินไป
  5. หากสุนัขตายให้นำซากมาตรวจหาเชื้อหากสุนัขไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ แต่หากติดตามสัตว์ที่กัดไม่ได้ ต้องรีบมารับการฉีดวัคซีนโดยทันที

ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ มีข้อสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ โทร. (02) 653-4444 ต่อ 4141, 4142, 4117 นะคะ

ขอบคุณที่มา: ข่าวสด มหาวิทยาลัยมหิดล และกองควบคุมโรค

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up