โรคพราเดอร์-วิลลี่
โรคพราเดอร์-วิลลี เป็นโรคที่สามารถติดตัวลูกน้อยมาได้ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะทำให้ทารกมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เป็นอุปสรรคในการดูดนม และมีปัญหาต่อการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จากนั้นในช่วงของวัยทารกตอนปลาย เด็กจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น เริ่มเดินได้ ทำให้อยากกินอาหารมากขึ้น และกินอาหารอยู่ตลอดเวลา จนทำให้ดูเหมือนว่าทานเท่าไรก็ไม่รู้จักอิ่มเสียที
ความอันตรายของโรค หากทารกไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที ก็จะส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงเรื้อรัง จนทำให้ลูกสามารถเสียชีวิตได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งนอกจากนี้โรคดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้สมองของลูกถูกทำลายได้อีกด้วยค่ะ
อาการของเด็กที่เป็นโรคนี้
- ลักษณะตัวอ่อน นอนนิ่ง ๆ ร้องเสียงไม่ดัง
- พัฒนาการช้า
- ถ้าหากเด็กมีไอคิวต่ำ ก็จะมีพัฒนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ถ้ามีระดับไอคิวสูง ก็จะมีพัฒนาที่ดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่คือบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้อีกด้วย
โรคแพนเดร็ด
เป็นโรคที่เด็กทารกมีอาการหูหนวกตั้งแต่กำเนิด บางรายมีการทรงตัวไม่ดี มีอาการต่อมไทรอยด์โตหรือคอพอกแบบไม่เป็นพิษ เป็นต้น
โรคแองเจลแมน
เริ่มมีอาการหลังอายุ 6-9 เดือน โดยมีพัฒนาการช้า มีปัญหาในการเคลื่อนไหวเด็กจะเดินเซ ไม่มั่นคง มีการปัญหาในการพูด มักจะยิ้มง่าย หัวเราะเก่ง อารมณ์ดี ตื่นเต้นง่าย ชอบตบมือ และสมาธิสั้น เป็นต้น
อ่านต่อ >> โรคหายากที่พบได้ในเด็กไทย
เครดิต: Sanook