ใครป่วยเป็นโรค G6PD ระวังให้ดี!! หนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่สามารถใช้ยารักษา COVID-19 บางตัวได้ .. เตือนทุกคนที่เสี่ยงติดเชื้อง่ายควรปฏิบัติตามมาตรการควบคุม COVID-19 ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด
ระวัง!! “ลูก เป็น G6PD” หนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ใช้ยารักษา COVID-19 บางตัวไม่ได้
โรคแพ้ถั่วปากอ้า หรือ โรค G6PD ย่อมาจาก Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency โดยทางการแพทย์จะเรียกโรคนี้ว่า ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได้เป็นปกติ จึงอาจส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงสลายตัวจนเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ หรือ ทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายนั่นเอง
โดยสาเหตุของการพร่องเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโครโมโซมเพศชนิดโครโมโซมเอกซ์ มีการถ่ายทอดยีน G6PD เป็นแบบ X-linked recessive จากแม่ … โดยมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในเด็กผู้ชายได้มากกว่าเด็กผู้หญิง
Must read >> 5 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่พบได้บ่อยในครอบครัวไทย
โรคนี้ในภาวะปกติจะไม่มีอาการ แต่มักเกิดขึ้นหลังมีภาวะติดเชื้อ โดยจะมีอาการซีดเมื่อมีเหตุปัจจัยภายนอกที่เป็นสิ่งกระตุ้นได้แก่ การติดเชื้อต่างๆ เช่น ไข้หวัด ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ไข้เลือดออก มาลาเรีย เป็นต้น รวมไปถึงการได้รับยาปฏิชีวนะในกลุ่มซัลฟา แอสไพริน ยารักษามาลาเรียพวก primaquine ได้สัมผัสสารเคมี เช่น ลูกเหม็น รับประทานถั่วปากอ้า ที่จะเป็นตัวชักนำให้เกิดการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง อาการประกอบด้วย ซีด เหลืองหรือดีซ่าน และปัสสาวะสีโคคาโคลา ถ่ายปัสสาวะน้อยจนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้การควบคุมสมดุลของสารเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกายเสียไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ซึ่งมีความรุนแรงมากและมีอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
Must read >> โรค G6PD หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้าคืออะไร? ห้ามกินอะไรบ้าง?
ซึ่งจากอาการข้างต้นที่กล่าวมาของโรค G6PD ถือเป็น หนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ทางกรมการแพทย์ของไทย ได้มีเอกสารแจ้งถึงแนวทางการดูแลรักษา และการใช้ยาต้านไวรัส กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ว่าหนึ่งในนั้นมีการใช้ยารักษามาลาเรีย ซึ่งยาตัวนี้หากใช้ในคนที่เป็น G6PD จะทำให้เม็ดเลือดแดงเขาแตกและเป็นอันตรายได้
จากเรื่องนี้เองจึงทำให้มีคุณแม่ท่านหนึ่งได้โพสต์ภาพขึ้นในเฟซบุ๊ก โดยต้องขึ้นป้ายเตือนหน้าบ้านว่า “ลูกชายบ้านนี้ เป็น G6PD ไม่สามารถใช้ยาบางตัวในการรักษาไวรัสโควิด-19 ได้”
นั่นเป็นเพราะออปชั่นในการรักษาของพวกเขา น้อยกว่าคนทั่วไป จึงขอความร่วมมือเพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกชายของคุณแม่จะติดเชื้อโดยการห้ามเข้ามาในบ้าน (ทางบ้านของคุณแม่เป็นร้าน ออกแบบ+ติดตั้งงานป้าย)
ซึ่งหากใครที่เห็นป้ายเตือนแบบนี้ หรือคนที่เป็นโรค G6PD ก็ถือเป็น กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ต้องระวัง และให้ทำตามที่ป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด เพราะสำหรับคนไทยแล้วโรคนี้ไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้นที่เป็นกัน แต่ผู้ใหญ่ที่เป็นภาวะนี้ ประมาณ 10% ของประชากร จึงจำเป็นต้องระวังเป็นอย่างดีที่สุดกว่าคนอื่นด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก คุณแม่แก้ม (จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ อิ กิม)
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- จีนออก คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 (ฉบับภาษาไทย) ต้องทำยังไงเพื่อให้รอดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า
- เด็กติดโควิด-19 เพิ่ม เตือนพ่อแม่ระวัง อย่าพาเชื้อเข้าบ้าน
- ข้อควรปฏิบัติ! เมื่อต้อง พาลูกไปโรงพยาบาล ช่วงโควิด-19 ระบาด
- วิจัยพบ! คนสูบบุหรี่ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ง่ายกว่าคนอื่น!
ดูต่อ >> “7 กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่