ยาลดน้ำมูก ควรหลีกเลี่ยงหากสงสัยลูกติดเชื้อ rsv หมอแนะอันตราย ทำให้น้ำมูกเหนียว เป็นสาเหตุให้เด็กต้องนอนโรงพยาบาล อาการหนักกว่าเดิม พร้อมแนะวิธีดูแล 4 ข้อ
rsv ระบาดคร่าชีวิตเด็กแล้ว 1 ราย หมอแนะ!! ควรเลี่ยง ยาลดน้ำมูก
วันที่ 13 กันยายน 2565 นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า สุดยื้อ RSV เสียชีวิตแล้ว 1 คน เป็นการเปิดเกมในฤดูระบาดในเมืองโคราชที่โหดมาก กลุ่มที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่นเคสนี้ มีความเสี่ยงสูงที่จะอาการรุนแรงมาก ถ้าไม่หยุดการระบาดนี้ เคสที่ 2, 3, 4 ตามมาแน่นอน เพราะเรามีเด็กที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง รักษาอยู่เป็นจำนวนมาก และกลุ่มนี้ก็ได้รับผลกระทบโดยตรง
rsv โรค คร่าชีวิตกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังพิเศษ!!
ปัจจุบันเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรงนั้นน้อยมาก เพราะไวรัส RSV ไม่ใช่เชื้อโรคที่ร้ายแรง แต่สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักมาจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กมาก ๆ หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจจะเกิดภาวะรุนแรงถึงขั้นการหายใจล้มเหลว ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิตได้
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังพิเศษ มีใครบ้าง??
- เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง
- เด็กที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
- มีภาวะโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ
- โรคระบบประสาทผิดปกติ
- โรคความผิดปกติ ทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ หากเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง อาการป่วยจะหายได้เอง แต่ถ้าหากเกิดในเด็กเล็ก ๆ ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจทำให้มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกัน
เชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย มักติดต่อผ่านทางการ ไอ จาม รวมถึงการสัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ แม้ว่าในเด็กเล็กจะมีโอกาสได้รับเชื้อได้น้อยเพราะอยู่บ้าน แต่หากเป็นเด็กที่มีพี่ในวัยเข้าโรงเรียนแล้ว ก็จะพบความเสี่ยงได้มากขึ้น รวมทั้งการนำเด็กเข้าฝากเลี้ยงในเนอสเซอรี่ หรือศูนย์ดูแลเด็กเล็ก สถานที่ที่เป็นการรวมตัวของเด็กมาก ๆ หากลูกมีอาการแม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรให้พักผ่อนอยู่ที่บ้าน ดีกว่าส่งไปเสี่ยงรับเชื้อจากโรงเรียน
ความรุนแรงของ RSV ขึ้นกับอะไร
- อายุ
- โรคประจำตัว
- ภาวะเสี่ยงของเด็ก เช่น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
วิธีสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัส RSV หรือไม่
เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส RSV ระยะเริ่มต้นนั้นใช้เวลาในการฝักตัวประมาณ 3-6 วัน หลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เริ่มจากการมีน้ำมูก จาม ไอ ทำให้ คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองรู้ตัวช้า ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกหลานอย่างใกล้ชิด และต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มด้วย เช่น อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ไอ จาม มีเสมหะจำนวนมาก หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าหลอดลมตีบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ
อ่านต่อ 4 >>ข้อแนะนำจากคุณหมอกุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจเมื่อลูกน้อยติดเชื้อ RSV คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่