วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ทารกอายุน้อยกว่า 1 ขวบ
- ยังไม่หมดสติ
ใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง กดหน้าอก 5 ครั้ง
วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น เด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ
- ยังไม่หมดสติ
- ใช้วิธี รัดท้องอัดยอดอก (Heimlich maneuver)
แต่หากเด็กหมดสติ ให้ทำการช่วยเหลือดังนี้
- จับผู้ป่วยนอนหงาย
- ใช้มือเชยคางขึ้น กดศรีษะลงเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
- ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมชัดเจนให้เอาออกด้วยความระมัดระวัง ถ้าอยู่ลึกไปหรือมองไม่เห็นห้ามใช้นิ้วล้วง
- ช่วยหายใจด้วยการเป่าปาก 2 ครั้ง
- สำหรับเด็กอายุมากกกว่า 1 ปี ให้รัดท้องดันยอดอกในท่านอนหงาย 6-10 ครั้ง สำหรับทารก ให้กดหน้าอก 5 ครั้ง ตบหลัง 5 ครั้ง ทำสลับกับช่วยหายใจ ตรวจช่องปาก จนทีมช่วยเหลือมาถึง
ถ้าหัวใจหยุดเต้น
CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary Resuscitation การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เป็นการช่วยผู้ที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้น ให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา
หากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 4 นาที จะทำให้สมองตายเนื่องจากขาดออกซิเจนและเลือด ดังนั้นควรช่วยให้เร็วที่สุด
- ประเมินสถานการณ์ว่ามีความพร้อมที่จะเข้าไปช่วย และมีความปลอดภัยในการเข้าไปช่วยหรือไม่ เช่น ถ้าคนไข้ถูกไฟช็อต ก็ต้องตัดไฟก่อนเข้าช่วยเหลือ
- ประเมินว่าคนไข้หมดสติไปจริงหรือไม่ โดยปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อประเมินการตอบสนองของผู้ป่วย หากพบว่าไม่รู้สึกตัว ให้รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 พร้อมร้องขอเครื่อง AED ที่อยู่ใกล้ที่สุด ให้มาที่จุดเกิดเหตุทันที
- ช่วยเหลือด้วยการทำCPRกดหน้าอก จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางส้นมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างของกึ่งกลางกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอก ในอัตราเร็ว 100-120ครั้งต่อนาที
- กดหน้าอก หากเป็นเด็กกด 15 ครั้งในกรณีที่มีอีกคนช่วยเป่าปาก แต่หากอยู่คนเดียว กดหน้าอก 30 ครั้ง หากเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่กดหน้าอก 30 ครั้ง และเป่าปาก 2 ครั้ง ทำสลับกันไปจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล หรือทีมฉุกเฉินมาถึง
- การกดหน้าอก จะช่วยให้สิ่งแปลกปลอมหลุดได้
เครื่อง AED หรือเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ เครื่องจะวินิจฉัยจังหวะของการเต้นของหัวใจ และให้การรักษาด้วยการช็อคไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นได้อีกครั้ง เครื่องจะออกคำสั่งให้เราทำตาม ทำสลับกับการทำCPRจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง
การได้ร่วมฟังสัมนาของ ทีมกองบรรณาธิการ ABK เรื่อง “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ CPR (การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก)” ในวันนี้ ได้รับความรู้มากมาย หากคุณแม่อยากร่วมฟังสัมนาดี ๆ แบบนี้ สามารถเข้าร่วมฟังได้ภายในงาน Amarin Baby & Kids Fair ซึ่งจะจัดงานสัมนาในหัวข้อที่น่าสนใจเป็นประจำทุกครั้ง คุณแม่สามารถอัพเดทหัวข้อสัมนาได้ที่เพจ Amarin Baby & Kids นะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก : แพทย์หญิงนงนภัส เก้าเอี้ยน กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก และทีมพยาบาล โรงพยาบาลพระรามเก้า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่