ซาลโมเนลลา คืออะไร?
โรคติดเชื้อ ซาลโมเนลลา หรือโรคซาลโมเนลโลสิส เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา มักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้
ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดท้อง ท้องเสีย (โดยอุจจาระอาจมีเลือดปน) อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร โดยปกติแล้วอาการจะคงอยู่ประมาณ 2-7 วัน ส่วนอาการท้องเสียอาจคงอยู่ประมาณ 10 วัน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนจนกว่าลำไส้จะกลับมาทำงานปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีสุขภาพดีบางคนอาจฟื้นตัวจากอาการต่าง ๆ ได้เองภายใน 2-3 วันโดยไม่ต้องรับการรักษา หรือบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้
อาการแบบไหนคือสัญญาณอันตราย?
ในกรณีที่มีอาการผิดปกตินานเกิน 7 วัน ควรไปพบแพทย์อีกซ้ำ โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง แล้วมีอาการอุจจาระเป็นเลือด มีไข้สูง หรือมีภาวะขาดน้ำ เกิดขึ้นนานกว่า 2-3 วัน ควรไปพบแพทย์ซ้ำ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะเลือดเป็นพิษ (เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ กระดูกอักเสบ ได้) โรคข้ออักเสบรีแอคทีฟ
อ่านต่อ ลูกป่วยเป็น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะว่ายน้ำ
พบเชื้อ ซาลโมเนลลา ได้ที่ไหนได้บ้าง?
ซาลโมเนลลา เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคนหรือสัตว์และสามารถปนออกมากับอุจจาระได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักติดเชื้อจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียนี้ อาหารที่มักพบเชื้อนี้ ได้แก่
- เนื้อดิบ เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นอาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ในระหว่างกระบวนการผลิตได้
- ไข่ดิบ โดยแม่ไก่ที่มีเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลาอาจส่งผ่านเชื้อโรคไปสู่ไข่ไก่ตั้งแต่เปลือกไข่ยังไม่ก่อตัว จึงทำให้การรับประทานไข่ดิบหรือรับประทานอาหารที่มีไข่ดิบเป็นส่วนผสมอาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้
- ผักและผลไม้ ผักและผลไม้อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา จากการใช้น้ำที่มีเชื้อโรคดังกล่าวในระหว่างเพาะปลูก ล้างผักหรือผลไม้ด้วยน้ำที่ปนเปื้อน หรือสัมผัสกับน้ำจากเนื้อดิบที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ในระหว่างประกอบอาหาร
- สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงบางชนิดอาจมีเชื้อซาลโมเนลลาได้โดยที่เจ้าของไม่ทราบ เช่น สุนัข แมว นก กิ้งก่า หรืองู เป็นต้น เมื่อใช้มือสัมผัสขนหรือผิวหนังของสัตว์เลี้ยงที่ปนเปื้อนเชื้อนี้จากอุจจาระสัตว์แล้วนำนิ้วมือเข้าปาก อาจเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้
แม้ว่าเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่หากเกิดกับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ก็สามารถทำให้มีอาการที่รุนแรงจนอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ไม่สุก การทานอาหารสดแต่ไม่สุกหรือทานค้างไว้ ก็อาจทำให้ได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ลูกชอบอมมือ-เอามือเข้าปาก พรากชีวิตลูกได้จากโรคท้องเสียในเด็ก
เอาของเข้าปาก อย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์
รู้ทัน…ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ในเด็ก
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจแม่มาเม้าท์, Pobpad
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่