การติดต่อของโรคไข้ดำแดง
เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งทางอากาศหรือโดย ละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้เป็นโรค และอาจแพร่สู่ผู้อื่นได้ตั้งแต่วันแรกที่อาการปรากฏ หรือหลังจากที่หายจากโรคไปแล้วเป็นเดือน บางคนเป็นพาหะนำโรคโดยที่ตนเองไม่เป็นโรคเลยก็ได้
ซึ่ง ผื่น ของโรคไข้ดำแดง จะเริ่มตรงทรวงอกและหลังส่วนบน ต่อมาที่หลังส่วนล่าง แขน หน้าท้อง และขา ส่วนมากผื่นจะไม่ขึ้นที่ใบหน้า แต่ใบหน้าจะแดง ยกเว้นรอบๆ ริมฝีปากจะเป็นสีขาวซีด ผื่นสีแดงจะกลายเป็นซีดเมื่อใช้นิ้วกด ส่วนใหญ่พบผื่นเป็นตุ่มพุพองเล็ก ๆ เมื่อผื่นค่อย ๆ หายไปผิวหนังก็จะเริ่มลอก
และในต่อมน้ำเหลืองที่คอโตมากบางครั้งพบว่าเป็นฝีโรคแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาได้แก่ โพรงจมูกอักเสบ หูตอนกลางอักเสบ ปุ่มกกหูอักเสบ หรือโรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้แก่ ไขข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบหัวใจและไตถูกทำลายความรุนแรงของโรคลดน้อยลงมาก จึงทำให้อันตรายตายลดลงด้วย
ใครเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้อีดำอีแดงบ้าง?
- เด็กที่มีฐานะยากจน (อายุระหว่าง 5-15 ปี) เนื่องจากมีอาหารการกินที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กขาดสารอาหาร จึงมีภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ น้อยลง
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด โดยเฉพาะในเด็กที่มีฐานะยากจนทั้งในเมืองและในชนบท มักจะอาศัยอยู่ในห้องนอนที่คับแคบและอยู่กันอย่างแออัด จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ง่าย
- ผู้ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไข้ดำแดง
เมื่อไรที่ควรพาลูกพบแพทย์
1. มีอาการไข้ เจ็บคอ โดยเฉพาะเมื่อมีผิวหนังขึ้นผื่นร่วมด้วย
2. เมื่อได้การรักษาแล้ว กลับเกิดอาการข้างเคียงแทรกซ้อนตามมา เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอโตขึ้น เจ็บ และปวดหู หรือ กลับมามีไข้อีก ไอ หายใจเร็ว (ซึ่งเป็นอาการของโรคปอดบวม)
3. เมื่อมีอาการ เหนื่อยง่าย ปวดข้อ มีตุ่ม หรือก้อน ขึ้นใต้ผิวหนัง หรือมีลักษณะคล้ายลมพิษขึ้น (เป็นอาการของโรคไข้รูมาติก)
4. มีอาการบวม ปัสสาวะมีสีแดง/สีเลือด (มีเลือดปน) ซึ่งเป็นอาการของไตอักเสบ
วิธีการรักษาโรคไข้ดำแดง
การติดเชื้อ Group A hemolytic streptococci เป็นโรคที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้รูมาติกเฉียบพลัน และเพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยหายเร็วขึ้น อีกทั้งป้องกันการติดเชื้อระบาดไปสู่ผู้อื่น
ในเด็กที่มีอาการของโรคไข้ดำแดง ชัดเจนนั้น คถณหมอควรให้ยาปฏิชีวนะทันที แต่สำหรับผู้ที่อาการไม่ชัดเจน ต้องรอผลเพาะเชื้อจากสารคัดหลั่งในลำคอ หรือผลการตรวจแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทานสำหรับเชื้อ Group A hemolytic streptococci นี้ก่อน ส่วนการหาสารภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี้ นั้นจะต้องใช้เวลานาน เพราะแอนติบอดี้ จะขึ้นในเลือดจนมีปริมาณเพียงพอให้ตรวจพบได้ ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งที่ร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อ และต้องตรวจ 2 ครั้งห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่า แอนติบอดี้ครั้งที่ 2 ขึ้นจากการติดเชื้อครั้งใหม่ เนื่องจากการติดเชื้อครั้งก่อนๆ อาจทำให้มีแอนติบอดี้ขึ้นได้ระดับหนึ่ง และยังคงระดับสูงกว่าปกติอยู่นาน
- ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคไข้ดำแดงได้ผลดีคือ ยาเพนนิซิลิน วี (Penicillin V) ให้รับประทานเป็นเวลา 10 วัน แม้ว่าอาการอาจจะหายไปใน 3-4 วันแล้วก็ตาม ต้องเน้นรับประทานยาให้ครบ
- หากมีประวัติการแพ้ยา เพนิซิลิน (Penicillin) สามารถให้ยา อีริโธรมัยซิน (Erythromycin) แทนได้ แต่ต้องให้หลังอาหารทันที เพราะ ยาอีริโธรมัยซิน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ และปวดท้อง
ในผู้ป่วยที่รักษาได้ยาปฏิชีวนะครบ 10 วัน และอาการต่างๆของเด็กกลับเป็นปกติดีแล้ว ไม่ต้องมีการติดตามผลรักษา ยกเว้นเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงตามมา แต่หากเด็กยังมีอาการผิดปกติต่อเนื่อง หรือกลับมามีอาการผิดปกติอีก คุณพ่อคุณแม่จึงควรต้องรีบนำเด็กกลับมาพบแพทย์ทันที
อ่านต่อ >> “วิธีการป้องกันโรคไข้ดำแดง” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่