โรคงูสวัดในเด็ก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม! - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
โรคงูสวัดในเด็ก

โรคงูสวัดในเด็ก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคงูสวัดในเด็ก
โรคงูสวัดในเด็ก

โรคงูสวัดในเด็ก มีอาการอย่างไร?

  1. มีอาการคล้ายไข้หวัดนำก่อน ประมาณ 2 – 3 วัน อาจมีไข้(มีได้ทั้งไข้สูงหรือไข้ต่ำ) หรือไม่มีไข้ก็ได้
  2. อาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดท้อง อ่อนเพลีย และเจ็บ ในบริเวณติดเชื้อมาก (ยังไม่มีผื่นขึ้น) หลังจากนั้นจึงขึ้นผื่น
  3. ผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน เป็นทางยาว และไม่กว้างมากนัก มักเป็นทางยาวตามแนว ประสาทของร่างกาย โดยมักเริ่มในแนวใกล้ๆ กลางลำตัวตามแนวปมประสาท เช่น ตามประสาทของลำตัว แขน ขา ตา และหู และมักเกิดเพียงด้านเดียว โดยทั่วไปมักพบที่ลำตัวบ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการคันในบริเวณขึ้นผื่น เจ็บปวดมาก อาจร่วมกับปวดแสบปวดร้อน บางคนร่วมกับอาการชาในบริเวณนั้นๆ
  4. อาการปวดมักนำมาก่อนเกิดผื่นแดง และเมื่อเกิดผื่นแล้ว อาการปวดก็ยังคงอยู่ และบ่อยครั้ง เมื่อโรคและผื่นหายแล้วก็ยังปวดได้ต่อเนื่อง อาจเป็นปีๆ แต่อาจปวดมากหรือน้อยไม่เท่ากัน ในทุกราย ซึ่งอาการปวดในบางราย (ทั้งระหว่างเกิดโรคหรือภายหลังโรคหายแล้ว) อาจปวดมากจนต้องใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดหรือใช้ยาชาหรือฉีดยาชาเข้าประสาท
  5. หลังเกิดผื่นได้ประมาณ 1 วัน ผื่นจะกลายเป็นตุ่มพอง ตุ่มพองมักเกิดใหม่ตลอดระยะเวลา 2 – 3 วัน โดยมีน้ำใสๆในตุ่ม แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นตุ่มสีเหลือง อาจเป็นน้ำเลือดในที่สุด จะตกสะเก็ดเป็นสีดำ และสะเก็ดค่อยๆหลุดจางหายไปภายใน 2 – 3 สัปดาห์ อาจหายโดยไม่มีแผลเป็น หรือเป็นแผลเป็นเมื่อตุ่มพองเกิดติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  6. ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทเช่นมีความผิดปกติที่ดวงตาและการมองเห็น หากตุ่มใสขึ้นในบริเวณของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับประสาทตา
  7. และในเด็กที่มีภาวะความคุ้มกันบกพร่องมาก ก็อาจเป็นงูสวัดที่รุนแรงได้ และมีโอกาสที่เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ปอดอักเสบ เป็นต้น

 

โดยทั่วไปโรคงูสวัดเป็นโรคไม่รุนแรง มักรักษาหายภายใน 2 – 3 สัปดาห์ และไม่ค่อยเกิดเป็นซ้ำ (แต่เมื่อเกิดเป็นซ้ำ มักไม่ค่อยเกิน 3 ครั้ง) เมื่อเกิดกับประสาทกล้ามเนื้อ อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง (ไม่มีใครรู้ว่านานเท่าไร) เมื่อเกิดกับประสาทหู หูอาจหนวกได้ นอกจากนั้น ภายหลังรักษาหายแล้ว ผู้ป่วยอาจยังมีอาการปวดเรื้อรังเป็นปีๆในตำแหน่งเกิดโรคได้ดังกล่าวแล้ว

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 ดูวิธีการรักษาและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคงูสวัดได้ที่นี่ 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up