อาการช็อก ในเด็กเป็นอาการที่แสดงว่าร่างกายกำลังวิกฤต อยู่ในภาวะอันตราย แต่เราสามารถตรวจพบภาวะช็อกได้ตั้งแต่ในระยะแรก ถ้าหาสาเหตุได้ไว เยียวยาทัน เด็กก็หายไว
เช็ก! อาการช็อก เบื้องต้นของลูก นิ้วมือนิ้วเท้าฝ่าเท้าช่วยได้
ช็อก (Shock) คือ ภาวะของร่างกายที่มีการไหลเวียนเลือดลดลงต่ำผิดปกติ ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์และอวัยวะเสียหายจากการขาดเลือดที่เป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหาร เมื่อเกิดกับอวัยวะสำคัญและรักษาไม่ทันเวลาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และยังพบว่า 1 ใน 5 คนที่มีภาวะช็อกมักเสียชีวิต
ภาวะช็อก เป็นภาวะที่อันตราย และมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาล่าช้า ซึ่งในผู้ป่วยเด็ก เป็นอีกกลุ่มที่คุณหมอจะทำการตรวจวินิจฉัยได้ยาก ด้วยปัญหาต่าง ๆ นานาเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มเด็ก เช่น ร้องไห้งอแง ไม่ยอมให้จับตัว ไม่สามารถสื่อสารอาการได้ เป็นต้น
การที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองไม่ละเลย สังเกตอาการของเด็ก เมื่อพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติ และรีบพาไปรักษา หรือสามารถเล่าอาการที่พบให้กับคุณหมอได้อย่างละเอียดก็เป็นส่วนช่วยลดขั้นตอน และความเสี่ยงในการเกิด อาการช็อก ได้
ภาวะฉุกเฉินในเด็กที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ทันที อาการดังต่อไปนี้
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือ เลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด
- หมดสติ
- ถูกงูกัด สัตว์มีพิษ หรือ แมลงต่อย และ เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ภายใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ ในอก บวมมาก หมดสติ
- หายใจไม่ออก หายใจลำบาก กระวนกระวาย หรือ หน้าเขียว
- เด็กอาจชัก เมื่อไข้สูง หรือ ลมบ้าหมู ฯลฯ ห้ามใช้ไม้งัดฟัน เพราะฟันอาจหักไปอุดตันหลอดลมได้ ถ้ามีไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามให้กินยาในขณะที่เด็กชัก
- ปวดท้องรุนแรง ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามใช้ยา ถ้ามีไข้และอาเจียนด้วยอาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือ โรคร้ายแรงอื่นๆ
- อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือด หรือ เป็นสีดำจำนวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
- ท้องเสียในเด็กอ่อน หรือ เด็กเล็กๆ การถ่ายอุจจาระเพียง 3-4 ครั้ง ก็เสียน้ำไปมาก ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อนผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลียมาก แสดงว่า ร่างกายขาดน้ำมาก
- อาการชักเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน – 6 ปี มักเกิดจากภาวะมีไข้สูง ถ้าเด็กมีอาการชัก ต้องประเมินเรื่องไข้ ถ้ามีไข้พิจารณาเช็ดตัวจะช่วยให้ไข้ลดลง และ หยุดชักได้ เป็นส่วนมากถ้ายังไม่หยุดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลพร้อมเช็ดตัวตามด้วยขณะเดินทาง
กรณีเด็กชัก โดยไม่มีไข้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที โดยนอนคว่ำ หรือ นอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก ถ้าเด็กชักจนหยุดหายใจ ตัวเขียว ต้องช่วยฝายปอด ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งงัดฟัน เนื่องจากฟันอาจหักหลุดไปอุดหลอดลมได้ ห้ามกรอกยาทุกชนิดทางปาก ให้คนไข้ที่มีรู้สึกตัว หรือ กำลังชัก
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.synphaet.co.th
อาการช็อก
ช็อกเป็นภาวะอันตรายที่ควรไปพบแพทย์ทันที ผู้ที่เกิดภาวะนี้ความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างรุนแรง และอาจพบอาการได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและประเภทของภาวะช็อก อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา หรือบางรายอาจไม่เต้น
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- หายใจตื้นและเร็ว
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
- ตัวซีดและเย็น
- ตาค้าง ตาเหลือก
- เจ็บแน่นหน้าอก
- คลื่นไส้
- รู้สึกสับสน วิตกกังวล
- ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
- กระหายน้ำและปากแห้ง
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ความรู้สึกตัวลดลงหรือหมดสติ
- เหงื่อออกมาก
- นิ้วและปากบวม
Capillary Refill (แคปปิลารี่ รีฟิว)
CRT จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือตรวจสอบอย่างง่ายที่สามารถช่วยแจ้งการคัดแยก การรักษา และการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะระบบไหลเวียนโลหิตเฉียบพลันที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อ
วิธีการตรวจ
ตรวจเด็กอย่างไรไม่ให้พลาดเรื่องช็อก?เด็กป่วยมักมาห้องฉุกเฉินตอนดึกๆผู้ป่วยเด็กตรวจยาก เพราะงอแง ไม่ยอมให้จับเด็กพูดไม่ได้ บอกอาการไม่ได้บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าเด็กกำลังอาการแย่หรือเปล่า?.การตรวจเส้นเลือดฝอยที่ฝ่าเท้าช่วยได้เยอะครับเรียกว่า Capillary Refill (แคปปิลารี่ รีฟิว)แคปปิลารี่ แปลว่า เส้นเลือดแดงฝอยรีฟิว แปลว่าการไหลคืนกลับของเส้นเลือด.เราจะใช้นิ้วมือกดที่ฝ่าเท้า…แล้วก็ปล่อยจุดสีขาวที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่ถูกกด…จะคืนตัวกลับมามีสีชมพูดังเดิม ภายในไม่เกิน 2 วินาทีครับ (นับในใจ หนึ่งและสอง)แปลว่าเลือดไหลเวียนดี.แต่ถ้ากดแล้วเป็นจุดสีขาวนานมากแสดงเลือดไปเลี้ยงเส้นเลือดฝอยส่วนปลายไม่ดีแปลว่าเด็กกำลังช็อกอยู่ครับ!!!.ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 1 ปี ท้องเสีย อาเจียนจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กช็อก (Shock) หรือกำลังแย่?– ร้องไห้ไม่มีน้ำตาเหรอ? ไม่เสมอไป…เคยเจอเด็กดราม่าการละครไหมครับ?– เด็กซึม? หรือว่าแค่หลับ? มาหาหมอตอนตีสาม หมอก็ง่วงครับ– ความดันตกเหรอเปล่า?เราไม่ได้วัดความดันโลหิตเด็กทุกคนแบบผู้ใหญ่เพราะวัดยาก เด็กไม่ยอมให้วัด ดิ้น บางที่ไม่มีเครื่องวัดของเด็กก็มีครับ– ชีพจรเร็ว? เด็กร้องกรี๊ดๆ ชีพจรก็เร็วครับ.นี่แหละครับ หลายคนไม่ชอบตรวจเด็ก.ลองตรวจการคืนตัวของเส้นเลือดฝอยที่ฝ่าเท้าดูนะครับ(Capillary Refill) ช่วยไ้ด้มากครับการตรวจง่ายๆที่เรามักละเลย.ในผู้ใหญ่เราตรวจจากปลายเล็บแต่เด็กนิ้วเล็กกระจิ๋วหลิว ตรวจที่ฝ่าเท้าง่ายกว่าครับ.มีคำที่น่าสนใจ คือ Compensated กับ Decompensated Shockคอมเพนเซส (Compensated) แปลว่า ชดเชย เยียวยา.ถ้าพูดถึงคำว่าช็อก เราก็คิดถึงความดันตก ซึม หมดสติ ปั๊มหัวใจอันนั้นมันช็อกไกลไปมากแล้วแต่จริงๆช็อกในระยะแรก จะไม่มีความดันตก อาจมีแค่ชีพจรเต้นเร็ววิงเวียน เพลีย วูบ แค่นั้นครับเพราะร่างกายคนเราฉลาด มีการชดเชยไม่ทำให้เราแย่ขนาดนั้นนี่แหละครับที่เรียกว่า การชดเชยภาวะช็อก (Compensated Shock).เหมือนเขื่อนจะแตก มันก็ไม่ได้ปั๊ง แตกกระทันทันมันค่อยๆร้าว เป็นสัญญาณเตือนมาก่อนร่างกายคนเราก็เหมือนกันครับ.ถ้าเรารักษาทัน เยียวยาทัน คนไข้จะหายไวแต่ถ้าเราละเลยหรือไม่สังเกตสัญญาณเตือน ปล่อยให้แย่ลงต่อให้เทวดามารักษา ก็ไม่อาจยื้อชีวิตได้ครับ.เด็กเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่อึดมากๆ จัดการเยียวยาการช็อกด้วยตนเองได้เก่ง(Compensated Shock) เด็กยังดูดีอยู่เลยแม้ว่าช็อกไปแล้วถ้าเราปล่อยให้ความดันตก หรือเกินเยียวยา (Decompensated Shock)อาการจะแย่ลงเหมือนลงเหวอย่างรวดเร็ว!รักษาอะไรก็เอาไม่อยู่แล้วครับ….ดังนั้นการตรวจพบช็อกระยะแรกในเด็กจึงสำคัญมากต้องรีบหาสาเหตุที่ทำให้ช็อกและรีบให้น้ำเกลือ หรือยาฆ่าเชื้อ หรือให้เลือด ตามแต่สาเหตุนั้นๆอย่าปล่อยให้สายเกินแก้ไขครับ.เขียนมาซะยาว ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับสรุปว่า อย่าลืมตรวจการคืนตัวของเส้นเลือดแดงฝอยที่ฝ่าเท้านะครับ(แคปปิลารี่ รีฟิว-Capillary Refill).วันนี้ไม่ได้วาดรูปครับ พักหนึ่งวัน แต่ไม่พักเขียนโพสต์ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก เพจ ห้องฉุกเฉินต้องรู้
เรื่องลูกป่วยฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่มีเวลา เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการที่พ่อแม่ศึกษาความรู้รอบตัวเหล่านี้เอาไว้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การสามารถบอกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษา หรือหากสามารถช่วยเหลือลูกเมื่อยังไม่ถึงมือหมอ ก็เป็นเรื่องที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิต และการเจ็บป่วยร้ายแรงได้ดีทีเดียว
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.siamhealth.net/www.pobpad.com /www.nursingtimes.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่