♦ คออักเสบ และต่อมทอนซิลอักเสบ
ต่อมทอนซิล เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในลำคอ เป็นต่อมน้ำเหลืองที่ทำหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายคล้ายกองทหารด่านหน้า แต่บ่อยครั้งที่เราจะสังเกตว่าสมาชิกตัวน้อยในบ้านบ่นเจ็บคอ สาเหตุเพราะการอักเสบภายในลำคอ และต่อมทอนซิลอักเสบซึ่งพบบ่อยในเด็กวัยเรียน สาเหตุเกิดจาก
- เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่การรักษาทำได้ไม่ยาก เพียงรับประทานยา รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ เจ้าหนูน้อยก็จะฟื้นตัวหายดีภายในระยะเวลาอันสั้น
- เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ผู้ป่วยจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากได้รับการรักษาไม่ถูกวิธี รับประทานยาไม่ครบขนาด หรือใช้ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อชนิดนี้ได้แม้อาการจะทุเลาลงแต่ก็มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้
อาการลูกน้อยถ้าทอนซิลอักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- ไข้สูง ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ บางรายอาจมีไข้สูงจนชักได้
- อ่อนเพลีย หรืออาจโยเย ร้องกวนไม่ยอมนอน
- เบื่ออาหาร
- คอหรือต่อมทอลซิลแดง บางรายอาจมีหนองร่วมด้วย อาจกลืนอาหารและน้ำลำบาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
- อาจอาเจียน ปวดท้อง หรือมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
การรักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบของลูกน้อย
เมื่อลูกติดเชื้อไม่สบาย สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำ นอกจากรีบรักษาอาการป่วยของลูกให้หายแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้
- เข้ารับการรักษาโรคตั้งแต่เกิดอาการเริ่มแรก ไม่ควรปล่อยให้อาการลุกลาม
- เตรียมอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกรับประทานอย่างครบถ้วน งดอาหารที่จะทำให้อาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เช่น อาหารที่มีรสจัด หรืออาหารที่ไม่สะอาด ควรทานอาหารที่สุกใหม่
- กรณีที่ได้รับยาปฏิชีวนะ ต้องดูแลและเคร่งครัดในการให้ลูกรับประทานยาครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง
- ให้ลูกได้นอนหลับอย่างเพียงพอและออกกำลังกายให้พอเหมาะ
- ระมัดระวังเรื่องสภาวะแวดล้อม และหลีกเลี่ยงจากผู้ป่วยอื่นๆ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนได้อีก
หากลูกมีไข้ เจ็บคอมาก ควรนึกถึงโรคคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบไว้ด้วยเสมอ และควรรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมทั้งควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการใช้ยาอย่างเคร่งครัดนะคะ4
♦ อีสุกอีใส (Chicken pox)
โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิด โรคงูสวัด ติดต่อได้ด้วย การไอ จาม หายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัส ตลอดจนการใช้ของใช้ร่วมกับผู้เป็นโรค โดยปกติจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ มักจะระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อนเช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี พบมากในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-12 ปี รองลงมาจะเป็นกลุ่มเด็กอายุ 1-4 ปี กลุ่มวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาวตามลำดับ
อาการอีสุกอีใส
เนื่องจาก โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่หายเองได้ โดยมีไข้อยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆ หายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีไข้สูงใช้ยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้ ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดอาการ กลุ่ม “ไรน์” (Reye’s syndrome) ได้ ทำให้ผู้ป่วยเด็กถึงแก่ชีวิตได้ ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฆ่าเชื้อฟอกผิวหนังให้สะอาด กรณีที่มีสิ่งสกปรกปนเปื้อน เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียมาแทรกซ้อน ควรตัดเล็บให้สั้นและหลักเลี่ยง การแกะ หรือเกาตุ่ม ในรายที่มีอาการคันมาก อาจให้รับประทานยาช่วยลดอาการคันหรือใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือล้างแผลปิดบาดแผล
การรักษาอีสุกอีใส
ในปัจจุบันมียาที่ใช้ยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใส แต่ต้องใช้ขนาดสูงและแพงมาก นอกจากนี้จะต้องเริ่มใช้ภายในวันแรกที่มีอาการมิฉะนั้นอาจไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดี
⇒ บทความแนะนำควรอ่าน : อีสุกอีใส รักษาได้ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ภายใน 3 วัน
โรคอีสุกอีใสเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก นั้นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะโรคอีสุกอีใสที่เดิมเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) หรือ Human herpes virus type 3 แต่ในปัจจุบันมีไวรัสโรคอีสุกอีใสสายพันธุ์ใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าเดิมด้วย ดังนั้น หากคนที่เคยเป็นอีสุกอีใสในวัยเด็กไปแล้ว เกิดตอนนี้ได้รับเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ก็ยังสามารถกลับไปเป็นอีสุกอีใสได้อีกรอบ เพราะเป็นเชื้อไวรัสคนละตัวกันนั่นเอง และหากเป็นตอนโตยังอาจมีอาการหนักกว่าเด็ก ๆ ด้วยซ้ำ หรืออย่างน้อยก็มีแผลเป็นให้รำคาญใจอีกต่างหาก5
อ่านต่อ >> “ระวังโรคที่ลูกป่วยแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่