ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา - amarinbabyandkids
ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก

แม่เตือนแม่! ระวัง ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา

event
ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก
ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก

ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก

ไซนัสคืออะไร1

ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้วขอบจมูกและโหนกแก้ม หน้าที่ปกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบแน่นอน  แต่อาจทำให้กะโหลกเบา  เสียงก้อง  สร้างเมือกและภูมิคุ้มกันให้กับโพรงจมูก  โดยปกติเมือกโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูก ผ่านช่องเล็ก ๆ (Ostium) ที่ผนังข้างจมูกเพื่อใช้ในการต่อสู้เชื้อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอมจากจมูกลงสู่ลำคอ หรือออกทางจมูก

ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก

การเกิดไซนัสอักเสบ

เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกดังกล่าวอุดตันและเกิดคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงไซนัส และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ก็จะแบ่งตัว และทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัสและมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกบวมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียกว่าเกิดโรค“ไซนัสอักเสบ” อาการของโรคไซนัสอักเสบอาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่ โดยในผู้ใหญ่จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียได้มากกว่าในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมักไม่ค่อยมีอาการดังกล่าว เมื่อช่อง (Ostia) ที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกเปิดออกเป็นครั้งคราว หนองและเมือกจากโพรงไซนัสก็จะไหลลงสู่จมูกและคอทำให้เด็กเกิดอาการดังนี้

  • น้ำมูกไหลโดยสีของน้ำมูกอาจเป็นสีเขียว เหลือง หรือขาวเป็นมูก
  • ไอ เพราะเมือกหรือหนองไหลลงคอ กระตุ้นให้เกิดอาการไอโดยเฉพาะตอนนอนในกลางคืน
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : สีของน้ำมูก สามารถบอกสุขภาพของลูกได้

เมื่อคุณหมอตรวจร่างกายลูกน้อย อาจพบ มีอาการกดเจ็บบริเวณไซนัส อาการ บวมรอบตา เยื่อบุโพรงจมูกบวม น้ำมูกข้น เหลือง เขียว เมื่อใช้ไม้กดลิ้นดูบริเวณช่องคอ จะเห็นน้ำมูกไหลลงคอ

การเอ็กซเรย์ไซนัส อาจมีความจำเป็นในรายที่อาการและการตรวจร่างกายไม่ชัดเจน ทำได้ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป อาจพบว่ามีการขาวทึบ หรือเป็นระดับน้ำขังอยู่ในโพรง หรือเยื่อบุโพรงหนาตัวขึ้น ในบางรายที่เป็นในตำแหน่งหลังจมูกอาจไม่พบจากการเอ็กซเรย์ธรรมดา การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์จะช่วยให้วินิจฉัยได้

ไซนัสอักเสบมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?2

ผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบ คือ

  1. ลำคอและกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง จากการที่หนองไหลลงลำคอต่อเนื่อง
  2. การกระจายของการติดเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น กระดูกส่วนที่เป็นผนังของไซนัส ก่อให้เกิดกระดูกอักเสบติดเชื้อ การอักเสบอาจลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้าเกิดเนื้อเยื่ออักเสบ หรือเกิดเป็นฝีได้ อาจอักเสบทะลุมาที่ผิวหนังเกิดเป็นช่องติดต่อระหว่างผิวหนังกับไซนัสได้ หรืออาจอักเสบติดเชื้อลุกลามเข้ากะโหลกศีรษะ ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบได้

3.โรคแทรกซ้อนที่เกิดบริเวณฟัน มักเกิดตามหลังการถอนฟันกรามน้อย โดยเกิดรูทะลุเข้าไปในไซนัส ทำให้มีหนองระบายออกมาที่รูที่ถอนฟัน

  1. เกิดเป็นถุงเมือกต่างๆในไซนัส (Mucocele และ Pyocele) เมื่อถุงนี้มีขนาดใหญ่จะดันผนังของไซนัสส่วนที่ไม่แข็งแรงให้โป่งออกช้าๆ พบบ่อยที่ไซนัสฟรอนตัล ส่งผลให้ลูกตาถูกดันออกไปอยู่ผิดที่ คือไปอยู่ ด้านล่างและด้านข้าง

ภาวะแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อจากโพรงไซนัสลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้ารอบเบ้าตา (periorbital cellulitis) ทำให้หนังตาและหน้าบวมแดง และที่พบได้แต่ไม่บ่อยได้แก่ การติดเชื้อของกระดูกบริเวณใบหนัา (osteomyelitis) การติดเชื้อของเส้นประสาทตา (optic neuritis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง เป็นต้น ในกรณีที่มีน้ำมูกไหลลงคอทำให้เด็กมีปัญหาเจ็บคอบ่อย หากน้ำมูกตกลงไปบริเวณหลอดลมทำให้มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือมีอาการหอบได้ จึงมักพบว่าเด็กที่มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือหอบบ่อยๆ อาจเกิดจากการเป็นโรคไซนัสอักเสบซ่อนเร้นอยู่3

หากคุณแม่สงสัยว่าลูกเป็นโรคไซนัสอักเสบ ควรพาพบหมอเพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้หายขาดได้

อ่านต่อ >> “วิธีการรักษาโรคไซนัสอักเสบ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up