ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา - amarinbabyandkids
ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก

แม่เตือนแม่! ระวัง ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา

event
ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก
ลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก

ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ

  • การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ)
  • การทำโพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด
  • การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
  1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ) แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชื้อของระบบหายใจตามปกติ อาจจะให้นานถึง 3-6 สัปดาห์ ตามที่แพทย์จะแนะนำ ซึ่งจะต้องรักษาจนหนองหมดไปจากโพรงไซนัส
  2. การทำโพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด การทำให้โพรงจมูกลดบวมทำได้โดย การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ การใช้ยาพ่นจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทำได้ง่าย ๆ โดย
  • หาซื้อน้ำเกลือหรืออาจผสมขึ้นเองง่าย ๆ โดยใช้น้ำสะอาด 750 cc. ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนช้า หรืออาจใช้ 9% normal saline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่
  • เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด
  • ดูดน้ำเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยางหรือหลอดฉีดยา (Syringe)
  • พ่นน้ำเกลือจากลูกยางหรือหลอดฉีดยาเข้าในจมูกในท่าก้มหน้า กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก
  • ทำซ้ำจนน้ำมูกหมด ปฏิบัติวันละ 2-3 ครั้ง ตามคำแนะนำของแพทย์
  • บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาพ่นจมูก หรือยาล้างจมูกให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : รวมผลิตภัณฑ์ ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหนดี!
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย
  1. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบจำนวนหนึ่ง (อาจถึงร้อยละ 50) อาจจะมีอาการของโรคไซนัสอักเสบที่เนื่องมากจากโรคภูมิแพ้ของจมูก ซึ่งจะทำให้จมูกบวมและมีอาการติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงสารแพ้จากไรฝุ่นตามคำแนะนำของแพทย์
  • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง ควันบุหรี่ การติดเชื้อจากคนรอบข้าง การอยู่ในที่แออัด การว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ

การติดตามผลการรักษา

เป็นสิ่งที่สำคัญมากผู้ป่วยควรจะต้องมารับการประเมินผลการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : อาบน้ำต้มใบมะขาม สูตรโบราณจากคุณยาย

♦ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ

  1. ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้ทุกฤดูกาลตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศชื้น และเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย
  2. ไซนัสอักเสบอาจจะเป็นเพียงซีกเดียว หรือจุดใดจุดหนึ่งก็ได้
  3. ไซนัสอักเสบเป็นโรคเฉพาะตัว ส่วนบุคคล จึงไม่ติดต่อแม้จะกินอาหารร่วมกันหรืออยู่ใกล้ชิดกัน
  4. คำว่า “เฉียบพลัน” หมายความว่า เมื่อร่างกายติดเชื้อแล้วจะเกิดอาการของโรคนั้นทันที
  5. การติดเชื้อไวรัส น้ำมูก หรือเสมหะจะไม่เป็นหนอง แต่ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียจะทำให้น้ำมูกข้นและเป็นหนอง
  6. การแยกอาการระหว่างโรคหวัดกับไซนัสอักเสบ ถ้าเป็นหวัดผู้ป่วยควรจะหายภายใน ๕-๗ วัน แต่ถ้าถึงวันที่ ๕-๖ แล้วยังไม่หาย และกลับเป็นมากขึ้น เช่น ไอมากขึ้น ปวดหัว ปวดแก้ม เสมหะลงคอมากขึ้นหรือบ้วนออกมาเสมหะเป็นสีเขียวข้น แสดงว่าอาจเป็นไซนัสอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์
  7. ถ้าเป็นหวัดคัดจมูก ให้สั่งน้ำมูกทีละข้าง อย่าสูดเข้าไป เพราะด้านหลังของจมูกจะติดกับช่องระหว่างหูชั้นกลางกับหลังจมูกจะทำให้หูอื้อ และเป็นการทำให้เชื้อโรค เข้าไปสู่ไซนัสได้ง่ายขึ้น
  8. ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยไซนัสอักเสบว่ายน้ำในสระ เพราะสระว่ายน้ำส่วนใหญ่จะใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ แต่ปัจจุบันสระว่ายน้ำบางแห่งมีสระน้ำเกลือ จึงไม่น่าเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยไซนัส เพราะจะทำให้ผู้ชอบว่ายน้ำมีทางเลือกในการออกกำลังกาย แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลัน

√ การป้องกันไม่ให้เกิดไซนัสอักเสบ4

  • เนื่องจากไข้หวัดเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัดโดยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดจะลดการเป็นไซนัสอักเสบได้
  • เมื่อเป็นไข้หวัดควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาไข้หวัดให้หายโดยเร็ว
  • ถ้าเคยมีประวัติป่วยเป็น หวัดเรื้อรังจากภูมิแพ้ ต้องหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ด้วย เช่น ฝุ่น  ไรฝุ่น  นุ่น  เชื้อราในอากาศ  และขนสัตว์ต่างๆ เท่าที่ทำได้เพื่อลดอาการของหวัดเรื้อรังจากภูมิแพ้
  • ในบางคนที่มีปัญหาเยื่อบุจมูกไวต่อสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันรถยนต์  ควันจากการประกอบอาหาร จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ด้วยเพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกบวมและเกิดไซนัสอักเสบตามมาได้
  • ถ้าสังเกตว่าลูกหรือตนเองมีแกนกั้นจมูกคดจนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง หรือมีก้อนริดสีดวงจมูก  ควรต้องรีบผ่าตัดแก้ไขภาวะเหล่านั้นเสียก่อนที่จะเกิดไซนัสอักเสบตามมา

เพราะอาการเจ็บป่วยของลูกถือเป็นเรื่องสำคัญหากปล่อยไว้อาจ บานปลายเป็นโรคร้ายได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรตื่นตระหนกตกใจกลัวหรือกังวลจนเกินไป ควรตั้งสติและดูแลรักษาอาการของลูกน้อยในเบื้องต้นก่อน หากดูท่าทีใน 2-3 วันไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากกว่าไข้หวัดธรรมดา ให้รีบพาไปหาหมอ เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


1“มารู้จักไซนัสอักเสบในเด็กและวิธีรักษาที่ถูกต้องกันเถอะ” ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล www.si.mahidol.ac.th

2ไซนัสอักเสบมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง haamor.com

3www.breastfeedingthai.com

4www.entpmk.pmk.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up