ตรวจ Sleep Test ก่อน! ป้องกันเสี่ยงโรคใหลตาย - Amarin Baby & Kids

ตรวจ Sleep Test ก่อน! ป้องกันเสี่ยงโรคใหลตาย

Alternative Textaccount_circle
event

ตรวจ Sleep Test ก่อน! ป้องกันเสี่ยงโรคใหลตาย

จากข่าวการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ของนักแสดงหนุ่ม ที่จากไปในวัยเพียง 25 ปี เนื่องจากนอนหลับแล้วไม่ตื่น หรือเรียกกันว่า “ภาวะใหลตาย” ทำให้หลายคน เริ่มตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะภัยเงียบ ที่เกิดจากการนอนที่มีสภาวะผิดปกติ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ นอนกรนเสียงดังผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งในทางการแพทย์ มีการตรวจการนอนหลับ ที่เรียกว่า ตรวจ Sleep Test ถือเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ใช้เพื่อตรวจสุขภาพการนอน ก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับชีวิตค่ะคุณพ่อคุณแม่

Sleep Testคืออะไร?

Sleep Test คือ การตรวจสุขภาพการนอน เพื่อสังเกตความผิดปกติของร่างกายขณะที่นอนหลับ เช่น ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ฯลฯ โดยจะนำผลการ ตรวจSleep Test ไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์เพื่อประเมินสุขภาพ และความรุนแรงของโรค รวมถึงวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ

วิธี ตรวจSleep Test 

ผู้ที่ต้องการตรวจวัดสุขภาพการนอนหลับ จะต้องมาพักค้างคืนที่โรงพยาบาล และคลินิกที่ทำการตรวจSleep Test เนื่องจากจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจระหว่างนอนหลับ โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยจับสัญญาณอัตราการหายใจ คลื่นสมอง ค่าออกซิเจนในเลือด รวมถึงตรวจจับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอนหลับ เช่น การหยุดหายใจ เสียงกรน การขยับของหน้าท้อง การกระตุกของกล้ามเนื้อ เป็นต้น

การตรวจ Sleep test มีแบบใดบ้าง และควรเลือกตรวจอย่างไร

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ หรือ sleep test  สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ระดับ ตามความละเอียดของข้อมูลที่ตรวจ โดยใช้ตามนิยามของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Sleep Medicine หรือ AASM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลดังนี้ 

ระดับที่ การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน  การตรวจแบบนี้จะประกอบด้วย การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง  คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ลูกตา ใต้คาง และขา คลื่นไฟฟ้า หัวใจ การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด การตรวจวัดลมหายใจ เป็นอย่างน้อย โดยอาจทำภายในห้องตรวจเฉพาะของสถานพยาบาล หรือนอกสถานที่ แต่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดทั้งคืนที่ตรวจ  

ระดับที่ การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้าตลอดทั้งคืน วิธีนี้อาจตรวจตามบ้าน ในห้องนอนของผู้รับการตรวจเองซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย หรือ ตามสถานที่พักต่าง ๆ ทำให้คล้ายกับการนอนในชีวิตประจำวันมากกว่า โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้แต่ไม่ได้เฝ้าระหว่างเวลาที่ตรวจ  มีความน่าเชื่อถือได้ใกล้เคียงกับ การตรวจระดับ 1  มีข้อดี เช่น ค่าใช้จ่ายถูกกว่า เนื่องจากไม่มีค่าห้องของโรงพยาบาล  นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการรอคิวตรวจน้อยกว่า ผู้ที่เหมาะสำหรับการตรวจวิธีนี้ ได้แก่ ผู้ที่เคลื่อนไหวและเดินทางไม่สะดวก หรือผู้ที่มีอาการมากและต้องการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องรอคิวตรวจในโรงพยาบาลนานมาก เป็นต้น    

ระดับที่ การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล  จะมีเพียงการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ 2 แต่ผลการตรวจมักได้ค่าความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง  เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถประเมิน ประสิทธิภาพในการนอน รวมระยะความลึกของการนอน ทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำน้อยกว่า

ระดับที่ การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และหรือ วัดลมหายใจขณะหลับ เป็นการตรวจเพียงบางส่วน และได้ข้อมูลไม่เกิน 3 อย่างเท่านั้น  จึงเลือกใช้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถตรวจในแบบต่าง ๆ ที่กล้าวมาแล้ว เนื่องจากข้อมูลที่ตรวจได้มักจะไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอที่จะนำมาใช้ยืนยันการวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับได้

ตรวจ Sleep Test
นอนหลับไม่ปกติ ควรตรวจ Sleep Test

อาการแบบไหนที่ควรไปตรวจSleep Test

  • นอนกรนเสียงดังผิดปกติ
  • นอนละเมอ ฝันร้ายบ่อย กัดฟัน แขนขากระตุกระหว่างนอนหลับ
  • สะดุ้งตื่นเพื่อหายใจในเวลากลางคืนอยู่บ่อยๆ
  • มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าอาจหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • รู้สึกง่วงนอนมากๆ ในตอนกลางวัน ทั้งที่พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนเรื้อรัง ที่ยังหาสาเหตุไม่ได้

ผู้ที่มีอาการข้างต้น และพบว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์อายุรกรรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับ หู คอ จมูก หรือพบแพทย์ด้านโรคนอนไม่หลับโดยตรง

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจsleep test

  • ผู้ที่เสี่ยงจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน
  • ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (narcolepsy)
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ยังรักษาไม่ได้

การเตรียมตัวก่อนตรวจSleep Test

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มกาแฟอีน ประมาณ 24 ชั่วโมงก่อนมาตรวจ
  • คืนที่จะมาตรวจ ไม่ควรนอนหลับในตอนกลางวัน
  • ก่อนมาตรวจ แนะนำให้ดื่มน้ำน้อย ๆ เพื่อป้องกันการลุกขึ้นไปปัสสาวะระหว่างตรวจสุขภาพการนอนหลับ
  • อาบน้ำ สระผม (งดใส่สเปรย์ผม) และรับประทานอาหารเย็นมาให้เรียบร้อย
  • หากกินยาประจำ เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต และยารักษาเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ค่าใช้จ่ายในการตรวจSleep Test ราคาเท่าไร?

Sleep Testที่ไหนดี? ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐ เอกชน และคลินิกด้านสุขภาพการนอนอีกหลายแห่ง มีบริการตรวจ Sleep Test(ควรสอบถามบริการก่อนทุกครั้ง) ซึ่งแบ่งการตรวจออกเป็นหลายระดับ แต่ละระดับก็จะมีราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบและสถานพยาบาล ส่วนใหญ่ราคาSleep Test จะอยู่ที่ประมาณ 7,000-13,000 บาท

Sleep Testเบิกได้ไหม?

ผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพการนอนแบบSleep Test สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิที่มีอยู่ได้ เช่น เบิกตรงข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิประกันสุขภาพ เป็นต้น แต่ก็ควรสอบถามอย่างละเอียดกับโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ทั้งเรื่องรูปแบบระดับการรักษา การจองคิว รวมถึงศึกษาเอกสารการเบิกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ ก่อนเข้ารับการตรวจทุกครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก
ไทยรัฐ ออนไลน์, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ระวัง! คนท้องนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ทารกเสี่ยงขาดออกซิเจน!

สามีนอนกรน เสียงดัง แก้ได้ด้วยวิธีนี้!

หมอเตือน! ลูกนอนกรน! เสี่ยงพัฒนาการถดถอย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up