คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า ช่วงไหนที่พบว่ามีผู้ป่วยถูกงูกัดเยอะที่สุด? คำตอบก็คือ ช่วงหน้าฝน นับไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงพฤศจิกายน จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกงูกะปะกัดมากเป็นอันดับหนึ่งในภาคใต้ รองลองมาคือ งูเขียวหางไหม้และงูเห่าในภาคกลาง
งูที่มีพิษมีทั้งสิ้น 2 ประเภท และแบ่งตามลักษณะของพิษงู ดังนี้
- พิษต่อระบบประสาท ตัวอย่างเช่น งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม และงูทะเล สำหรับกลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือ “งูเห่า” โดยจะทำให้ผู้ถูกกัดมีอาการได้ ภายใน 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ ตาพร่ามัว หนังตาตก พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้เอง หายใจไม่สะดวก และอาจจะหยุดหายใจ จนทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
2. พิษต่อโลหิต ตัวอย่างเช่น งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ และงูกะปะ ที่พบมากโดยเฉพาะในเขตตัวเมือง คือ “งูเขียวหางไหม้” เมื่อถูกกัดได้รับพิษปริมาณน้อย จะมีอาการปวดหรือบวมบริเวณที่ถูกกัดเท่านั้น แต่ถ้าได้รับพิษปริมาณมาก
จะทำให้เลือดออกไม่หยุดตามที่ต่าง ๆ ในรายที่อาการรุนแรงมาก จะไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด และปัสสาวะเป็น
เลือดได้
เนื่องจากพิษงูประกอบด้วยโปรตีนและเอนไซม์ หลายชนิดและล้วนมีผลต่อบริเวณที่ถูกกัดและทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ทั่วร่างกาย อาการจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น