สำหรับการนอนกรนในเด็ก (Snoring children) ที่หลายๆ ครอบครัวอาจจะกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ และยังไม่แน่ใจว่าลูกนอนกรนแล้วมีภาวะแทรกซ้อนใดเกิดขึ้นบ้าง ทีมงานขออนุญาตนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนกรนในเด็ก จาก คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[1] ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างละเอียด ดังนี้…
เด็กที่มีการหายใจลำบากขณะนอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome :OSAS) ซึ่งอาจมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบสะดุ้งสำลัก และผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าเวลาหายใจเข้าแล้วหน้าอกบุ๋มโดยการอุดกั้นของทางเดินหายใจมักเกิดจากช่องคอที่แคบลง และปิดในระหว่างหลับ
จะทราบได้อย่างไรว่าอาการกรนของลูกเป็นชนิดรุนแรง?[2]
ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับได้กล่าวไว้ว่าการนอนกรนธรรมดาอาจสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นการนอนกรนธรรมดา(primary snoring) นั้นถือว่าเป็นปกติและไม่เป็นอันตรายต่อเด็กอย่างไรก็ตามภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเป็นภาวะที่อันตรายมากสำหรับเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นอาจจะนอนหลับยากและมีปัญหาด้านพฤติกรรมถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการเจริญเติบโต และโรคหัวใจได้เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนทั้งเด็กผู้ชาย และผู้หญิงสามารถเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นได้
อาการที่พบได้ทั่วไปในเด็กมีดังต่อไปนี้
- การนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ
- กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำ
- สังเกตเห็นว่าหยุดหายใจขณะหลับในระยะเวลาสั้นๆตามด้วยเสียงกรนหายใจหอบหรือตื่นระหว่างกลางคืน
- เหงื่อออกมากขณะหลับ
- มีปัญหาในการเรียนและพฤติกรรม
- นอนกระสับกระส่าย
- ปลุกตื่นยากหลังตื่นนอนอยากนอนหลับต่อ
- ปวดศีรษะในระหว่างวัน หรือ ปวดศีรษะหลังตื่นนอน
- อารมณ์หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
- หลับขณะเรียนหนังสือ
- สมาธิสั้นและซนกว่าปกติ (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)
- ปัสสาวะรดที่นอน (enuresis)
บทความแนะนำ คลิก>> อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข
คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตลูกขณะนอนหลับ ถ้าพบว่านอนกรนแล้วมีอาการเหล่านี้ไม่ว่าจะ 2 หรือ 3 อาการจากทั้งหมดให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เร็วที่สุดนะคะ
อ่านต่อ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่