จะทราบได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่?[3]
คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่ หรือ เป็นเพียงนอนกรนธรรมดา
การตรวจการนอนหลับเป็นการตรวจในช่วงกลางคืน ขณะที่ผู้ป่วยหลับ จะมีการติดอุปกรณ์ไปบนศีรษะและลำตัวผู้ป่วยเพื่อติดตามดูลักษณะการนอนหลับตลอดทั้งคืน โดยการตรวจจะดูลักษณะของคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของแขนขา การทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของหัวใจ และการหายใจ การตรวจนี้ไม่ทำให้เกิดอันตราย และไม่ทำให้เด็กเจ็บ โดยในระหว่างการตรวจผู้ปกครองควรจะอยู่กับเด็กตลอดทั้งคืน
การตรวจนอกจากจะบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือนอนกรนธรรมดา ยังช่วยบอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้
แนวทางการรักษาเด็กที่มีอาการนอนกรน[4]
- การผ่าตัดผู้ป่วยเด็กส่วนมากมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์โตซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก โดยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ออกการผ่าตัดนี้เรียกว่า “Adenotonsillectomy” สำหรับการผ่าตัดแบบอื่นอาจแนะนำในผู้ป่วยที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างศีรษะและใบหน้า
บางครั้งการผ่าตัดสามารถทำให้หยุดนอนกรนได้ แต่อาจไม่หายขาดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นการตรวจการนอนหลับหลังการผ่าตัดอาจจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นยังมีอยู่หรือไม่
- การรักษาวิธีอื่น การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศชนิดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง(Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นหน้ากากอันเล็กครอบบริเวณจมูกในระหว่างการนอนหลับ หน้ากากนี้จะให้แรงดันอากาศ เพื่อประคับประคองไม่ให้ทางเดินหายใจส่วนบนปิดในขณะหลับ การรักษาวิธีนี้จะมีประโยชน์ในผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือ เมื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแล้วไม่หาย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นในเด็กที่มีโรคอ้วน ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้จะรักษาด้วยวิธีอื่นแต่การลดน้ำหนักในผู้ป่วยเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานควรเป็นเป้าหมายระยะยาวในการรักษา
การนอนกรนในไม่ใช่เรื่องปกติ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการนอนกรนขณะนอนหลับ อย่าได้นิ่งนอนใจให้รีบพาลูกไปตรวจสุขภาพให้เร็วที่สุด เพื่อที่หากพบภาวะแทรกซ้อนจากการนอนกรน คุณหมอจะได้ให้การรักษาอย่างตรงจุดและเร็วที่สุด เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ปัญหาการนอนหลับในเด็ก และการแก้ไข
แชร์ประสบการณ์ตรง!! สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อกล่อมลูกนอนหลับ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา). ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. www.sleepcenterchula.org
ขอขอบคุณต้นเรื่องจาก
ig @mari_horn คุณเมย์ มาริษา
news.sanook.com