ลูกหกล้ม

แม่แชร์! ลูกหกล้ม ที่โรงเรียนสุดท้ายเป็นแบบนี้?!!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกหกล้ม
ลูกหกล้ม

 

 

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกหกล้ม ?

เค้าว่ากันว่า คนล้มอย่าข้าม! เช่นเดียวกันค่ะ หากพบว่ามีลูกหลายหรือคนเฒ่าคนแก่ล้มนั้น ยิ่งอย่ามองข้ามใหญ่ อย่าเพียงแต่คิดว่า ไม่มีเลือดออกไม่เป็นอะไรหรอก เพราะบางที การที่ไม่มีเลือดออกไหลออกมาให้เห็นนั้น ผลลัพธ์ที่ออกมา อาจจะทำให้เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้อีก

กระดูกร้าวคืออะไร

กระดูกร้าวคือ กระดูกหักประเภทหนึ่ง ที่การแตกของกระดูกเกิดขึ้นเพียงบางส่วนของกระดูกเท่านั้น ไม่ได้หักหรือแตกครบตลอดความกว้างของกระดูก ดังนั้น กระดูกที่หักจึงยังคงยึดติดกันอยู่ไม่แยกเป็น 2 ท่อน แต่ผู้ป่วยก็ยังจะมีอาการเหมือนกระดูกหักทั่วไป เพียงแต่กระดูกชิ้นที่หักอาจไม่มีการผิดรูปร่าง
สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกร้าวนั้น ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เกิดกระดูกหัก เช่น การลื่นล้ม หรือการตกจากที่สูง เป็นต้น
วิธีการรักษา คือ การใส่เฝือก แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ใส่เฝือกไม่ได้ หรือใส่เฝือกไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดใส่เหล็กดามแทน
กล่าวโดยทั่วไปถึงระยะเวลาของกระดูกร้าว กระดูกจะสามารถกลับมาติดและใช้งานได้ช้าหรือเร็วนั้น จะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น
  • ตำแหน่งของกระดูกที่ร้าว
  • การร่วมมือในการดูแลตนเองของผู้ป่วย
  • สุขภาพโดยรวมและอายุของผู้ป่วย
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกหลานลื่นล้ม ให้รีบปฐมพยาบาลด้วยวิธีการ ดังนี้
  1. พักการใช้งานของอวัยวะนั้น
  2. หาน้ำแข็งมาประคบครั้งละ 20-30 นาทีในทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง
  3. หาผ้ายืดมาพันไว้ แต่อย่าพันแน่นหรือหลวมจนเกินไป
  4. ยกบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นสูงเหนือระดับหัวใจ หากมือบวม ก็ต้องฝืนยกแขนให้สูงเอาไว้ เช่นเดียวกับนักฟุตบอล เวลาที่เขาลื่นล้ม ก็จะนอนเอาหมอนหนุนเท้าให้สูงขึ้นเช่นกัน
  5. หากปวด ให้ทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล หรือ Ibuprofen ลดปวดไปก่อน
หากไม่รู้ว่ากระดูกร้าวหรือหักหรือไม่ รวมถึงเอ็นได้รับบาดเจ็บหรือขาดหรือเปล่า ต้องพยายามอย่าให้ผู้ป่วยขยับ ด้วยการหาอะไรมาดามเอาไว้ แล้วเอาผ้าพัน และรีบนำตัวไปพบแพทย์ทันที

ที่มา: คุณแม่ยุ้ย หาหมอ และ คุยกับหมอพิณ ประชาชาติธุรกิจ

อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up