ลูกไอมีเสมหะ เสี่ยงเป็น 6 โรคร้ายต่อระบบทางเดินหายใจ - amarinbabyandkids
ลูกไอมีเสมหะ

ลูกไอมีเสมหะ เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย กับระบบทางเดินหายใจ

event
ลูกไอมีเสมหะ
ลูกไอมีเสมหะ

ลูกไอมีเสมหะ

(ต่อ) ลูกไอมีเสมหะอาจเกิดจาก

5. โรคกรดไหลย้อน เนื่องจากภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหูรูดที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะ ทำให้มีอาหารหรือกรดไหลย้อนขึ้นมาระคายเยื่อบุทางเดินหายใจ จึงไอเรื้อรัง แก้ไขโดยใช้ยาช่วยลดกรดไหลย้อน กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ

 

6. อาจมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ เช่น สำลักชิ้นส่วนของเล่นหรือเศษอาหาร แก้ไขโดย การส่องกล้อง คีบเอาสิ่งแปลกปลอมออก และรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อ

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ผลสรุปส่วนใหญ่จากอาการ เมื่อลูกไอมีเสมหะ

ลูกไอมีเสมหะ

แต่โดยสรุปแล้ว อาการไอในเด็ก หรือ อาการ ลูกไอมีเสมหะ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักพบว่ามีอาการไข้ร่วมด้วย หากเด็กมีอาการไอ แต่ไม่มีไข้ในแต่ละช่วงวัย อาจต้องคิดถึงสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการไอ ในเด็กวัยทารก อาจเกิดจากความผิดปกติ หรือความพิการแต่กำเนิด

สำหรับในเด็กเล็ก ควรคิดถึงสาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวม รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อโรคไอกรน หากไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวเกินเป็นผลจากโรคหอบหืด

ส่วนในเด็กโต วัยรุ่น นอกจากเกิดจากการติดเชื้อแล้ว ควรหาสาเหตุอื่นประกอบด้วย เช่น แพ้ควันจากการสูบบุหรี่ ฝุ่นละอองที่กระตุ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่จมูกหรือหลอดลมร่วมด้วย

ทั้งนี้ปัจจุบันการรักษาเด็กที่มีอาการไอ น้ำ ยังคงเป็นยาแก้ไอที่ดีที่สุด หากเด็กมีอาการไอ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น และควรเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำในอุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงน้ำเย็น น้ำแข็ง ที่อาจทำให้ไอเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เพื่อลดการอาเจียนที่อาจเกิดร่วม หากการไอเกิดจากหวัด อาการจะดีขึ้นเมื่อโรคหวัดทุเลาลง อย่างไรก็ดี หากเด็กมีอาการไอต่อเนื่องกันนาน หรือไอรุนแรงจนเกิดการอาเจียน กินอาหาร หรือดื่มไม่ได้ หรือมีอาการหอบ หายใจแรง ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาให้ถูกต้องเหมาะสม

แต่ถ้าไม่อยากให้ลูกเกิดอาการไอ คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการเป็นหวัด กินอาหารครบ 5 หมู่ ซึ่งควรเป็นอาหารปรุงสุก ร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เหมาะสม อย่างว่ายน้ำจะช่วยให้เด็กมีสุขภาพปอดที่แข็งแรง เท่านี้แหละครับบุตรหลานของท่านก็จะมีสุขภาพดีตลอดไป

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com , www.manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up