วิธีการคำนวณปริมาณยาต่อน้ำหนักตัวในเด็ก
ยาน้ำสำหรับเด็ก มีความเข้มข้นต่างๆ ดังนี้
- แบบหยด มีตัวยา 60มก./0.6 มล. หรือ 80 มก./0.8 มล. เหมาะกับเด็กอ่อนน้ำหนักตัวไม่ถึง 10 กก. (อายุไม่ถึง 1 ปี)
- แบบยาน้ำเชื่อม มีตัวยา 120, 125 มก./ 5 มล. เหมาะกับเด็กน้ำหนักตัว 12 – 15 กก. (อายุน้อยกว่า 2 ปี)
- แบบยาน้ำเชื่อม มีตัวยา 160 มก./5 มล. เหมาะกับเด็กน้ำหนักตัว 16 – 24 กก. (อายุประมาณ 3-7ปี)
- แบบยาน้ำเชื่อม มีตัวยา 250 มก./5 มล. เหมาะกับเด็กน้ำหนักตัว 25-40 กก. (อายุประมาณ 8-10ปี)
**ทั้งนี้ให้คิดตามน้ำหนักตัวของเด็กแต่ละคน เพราะบางทีเด็กที่อายุน้อย อาจน้ำหนักตัวมาก ซึ่งการกินยาในความเข้มข้นน้อยเพียง 1 ช้อนชา อาจไม่สามารถรักษาอาการได้ดังนั้นให้คำนวณขนาดยาให้ได้ประมาณ 10 – 15 มก./กก. ของน้ำหนักตัวเด็ก
** ตัวอย่าง**
- เด็กน้ำหนักตัว 15 กิโลกรัม ควรได้รับยา (15 กก. x 10 มก.) ถึง (15 กก. x 15 มก.) = 150 – 225 มก./ครั้ง
- ทานยาขนาด 120 มก./5 มล. คิดเป็นขนาดยาน้อยสุด (150 มก. x 5 มล.) / 120 มก. = 6.25 มล.
- ทานยาขนาด 120 มก./5 มล. คิดเป็นขนาดยาสูงสุด (225 มก. x 5 มล.) / 120 มก. = 9.375 มล.
- สรุป เด็กน้ำหนักตัว 15 กิโลกรัม ทานยาได้ 6.25 – 9.375 มิลลิลิตร / ครั้ง
วิธีทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง
- ไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ
การกินยาพาราเซตามอลพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะการกินยาร่วมกับแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการตับอักเสบมากขึ้น
- ไม่ใช้ยาเกินขนาด
การกินยาพาราเซตามอลต่อครั้ง ต้องดูที่น้ำหนักตัวของลูกว่าสัมพันธ์กับขนาดยา 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หรือไม่ ถ้าหากนำน้ำหนักตัวผู้ป่วยมาคำนวณแล้วเกินกว่า 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) แปลว่าใช้ยาเกินขนาด จะทำให้มีความเสี่ยงต่อตับเช่นเดียวกับการใช้ยาพร่ำเพรื่อ
- ไม่ใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ
การ กินยาดักไข้ เพื่อป้องกันอาการไข้ ทั้งที่ยังไม่มีไข้เกิดขึ้น ถือเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล และไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากยาได้
ยาที่มีข้อบ่งชี้ว่าใช้รักษาอาการหรือรักษาโรค ควรใช้หลังจากมีอาการเท่านั้น เพราะยาไม่ใช่วัคซีน จึงสามารถป้องกันโรคได้ การให้ลูก กินยาดักไข้ จึงไม่ช่วยป้องกันไข้ แต่เป็นการยื่นสิ่งที่ทำลายตับของลูกมากกว่า
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
กินยากับนม ได้หรือไม่? ยากับนมและเครื่องดื่มที่ห้ามกินคู่กัน
9 พฤติกรรมการกินยาผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงตายจาก “เชื้อดื้อยา”
ไขข้อสงสัย! ลูกเป็นหวัด เป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม?
ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก 5 วิธีรักษาแบบไม่ต้องพึ่งยา
ขอบคุณข้อมูลจาก : med.mahidol.ac.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่