โรคติกส์ (ลูกกระพริบตาบ่อย) อันตรายหรือไม่? - amarinbabyandkids
โรคติกส์

โรคติกส์ (ลูกกระพริบตาบ่อย) อันตรายหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติกส์
โรคติกส์

โรค TICS มีสาเหตุมาจากอะไร?

การที่ต้องกระพริบตา หรือขยิบตาอยู่บ่อยๆ นอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับเด็กๆ ที่เป็นแล้ว ยังจะทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย  สำหรับโรคติกส์นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม  ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง และมาจาก ความเครียด ซึ่งสาเหตุอย่างหลังนี้พบว่าทำให้เด็กเป็นโรคติกส์กันมากค่ะ

พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานนท์ จากคลินิกเด็ก.คอม[1] ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กเครียดจนเกิดอาการของ TICS นั้นมีหลาย องค์ประกอบร่วมกัน คือ…

1. ลักษณะบุคลิกประจำตัวของเด็ก

ที่มักจะเป็นเด็กที่ขี้อาย หรือมีความรู้สึกอ่อนไหว ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิจากผู้อื่น กลัวที่จะทำอะไรผิดหรือไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น เด็กที่พบว่ามีอาการ TICS ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเด็กปกติที่ค่อนข้างฉลาด แต่อ่อนไหวง่าย

2. คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง

( เช่น ญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด) และคนรอบข้าง (เช่น คุณครู) ที่ส่วนใหญ่จะตั้งความคาดหวังไว้ค่อนข้างสูง เกินกว่าที่เด็กเอง จะทำได้ พบว่าจะมีลักษณะเป็นผู้ที่คอยจ้ำจี้จ้ำไช หรือขี้บ่นกับการกระทำของเด็กอยู่ตลอดเวลา หรือคอยที่จะเปรียบเทียบ ในทางลบ หรือตำหนิติเตียนเด็ก กับเด็กคนอื่นๆ อยู่เป็นประจำ

3. พฤติกรรมการเลียนแบบ

จากคนที่อยู่รอบข้างเด็กที่มีอาการ TICS ที่เด็กได้เคยพบเห็นมาก่อน จึงเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้ อย่างไม่ได้ตั้งใจ  การกระพริบตาบ่อยๆ หรือการกระตุกของกล้ามเนื้อแก้มที่เกิดขึ้นในเด็กที่เป็น TICS นี้ เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีการระบาย ความเครียดของเด็ก ที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น (involuntary) และเป็นไปอย่างไม่ได้กำหนดเอง เพราะเป็น จากจิตใต้สำนึก และไม่ได้คิดจงใจทำ จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดไปว่า เด็กดื้อ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ยิ่งว่ายิ่งกระพริบตาตลอดเวลา[1]

บทความแนะนำ คลิก>> โรคเลือดออกง่าย ฮีโมฟีเลีย อีกโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตในเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกมีอาการของโรคติกส์ และกังวลว่าลูกเป็นแล้วจะหายเป็นปกติหรือไม่นั้น แนะนำว่าเมื่อพบว่าลูกมี อาการกระพริบตา ขยิบตาเร็วๆ เป็นประจำ ในเบื้องต้นขอให้ไปพบกุมารแพทย์เพื่อรับการตรวจก่อนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เพราะอย่างที่บอกไปข้างต้นว่าสาเหตุของติกส์ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นแล้วก็จะได้ดูแลรักษาได้อย่าง ถูกต้องค่ะ

อ่านต่อ 4 วิธีรับมือกับโรค TICS หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up