วิธีจัดการเมื่อถูกเห็บกัด
จากคลิป วิธีที่ดีที่สุดจะเอาเห็บออกจากผิวหนังคือ การใช้แหนบถอนขนคีบเห็บส่วนที่ใกล้ ผิวหนังมากที่สุดแล้วค่อยๆ ดึงออก ห้ามใช้บุหรี่จี้หรือใช้น้ำยาล้างเล็บ ขี้ผึ้ง สบู่เหลว สารพวกนี้จะทำให้เห็บระคายเคืองและปล่อยสารพิษเข้าไปในแผลที่มันกัดได้ ไม่บิด หรือกระชาก ไม่ควรบีบขยี้หรือเจาะตัวเห็บ เพราะจะทำให้ของเหลวจากตัวเห็บ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคถูกปล่อยออกมา หลังจากเอาเห็บออกแล้ว ควรล้างมือ และผิวหนัง บริเวณที่ถูกกัดด้วยสบู่ให้สะอาดถ้าเห็นส่วนของปากเห็บติดอยู่ที่ผิวหนังให้ปล่อยเอาไว้ ร่างกายจะพยายามกำจัดออกมาเอง อย่าพยายามแกะ หรือแคะออก เพราะจะทำให้ผิวหนังเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
การรักษาตุ่มคันจากเห็บกัด
ถ้าตุ่มอักเสบไม่มาก ใช้ยาในกลุ่ม สเตียรอยด์ลดการอักเสบ ทาสม่ำเสมอ เช้าและเย็นผื่นก็จะดีขึ้น ถ้าอักเสบมาก เรื้อรัง ตุ่มใหญ่เป็นก้อน ต้องใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ เฉพาะที่บางรายอาจต้องตัดตุ่มที่อักเสบออก เพราะมีการอักเสบเรื้อรังไม่หาย เนื่องมาจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อส่วนปากของเห็บที่ติดอยู่ในผิวหนังนั่นเอง
ในประเทศไทยไม่พบโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ แต่ “ไร” ซึ่งมีลักษณะที่มองด้วยตาเปล่า อาจคล้ายเห็บ สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่หรือ สครับไทฟัส ไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคหลังไรกัด ดังนั้นผู้ที่ถูกไรกัด ควรสังเกต ตัวเองว่าเป็นไข้หลังจากถูกไรกัดหรือไม่ โดยทั่วไประยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ไรกัดจน ถึงไข้ขึ้น) ประมาณ 10-12 วัน
วิธีป้องกันเห็บกัด
ควรกำจัดให้รวดเร็วเพื่อลดเวลาที่จะได้รับเชื้อโรคที่จะติดมาจากเห็บ
- การควบคุมเห็บบนตัวสุนัข ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ให้ผลได้ดี เช่น
- แบบสเปรย์ วิธีนี้จะให้ผลในการกำจัดเห็บได้ดีและรวดเร็ว โดยต้องทำการพ่นไปให้ทั่วตัวสุนัข ตามขนาดน้ำหนักตัว แต่ค่อนข้างยุ่งยากในการพ่นและมีกลิ่นฉุน แต่หากสุนัขมีเห็บเยอะ วิธีนี้เหมาะสมที่สุดและช่วยประหยัดเงินได้มากกว่า ตัวอย่างเช่นสเปรย์ของยี่ห้อ Frontline
- แบบหยดหลัง วิธีนี้ใช้ง่ายและสะดวก เพียงหยดตัวยาในหลอดลงกลางหลังคอของสุนัข โดยแหวกขนเพื่อให้ตัวยาสัมผัสกับผิวหนังให้มากที่สุด เหมาะสำหรับกรณีใช้ป้องกันหรือในกรณีที่มีเห็บน้อยๆ ตัวอย่างเช่นยาหยดหลังของยี่ห้อ Frontline, Revolution, Advantix, Proticall เป็นต้น
- แบบอื่น ๆ เช่น ยาแบบผสมน้ำราดตัว (ซึ่งมีขอบเขตความปลอดภัยต่ำกว่า) ส่วนแบบแป้งหรือแชมพู อาจมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า
ถ้ามีเห็บมากจริง ๆ และถ้าการใช้เพียงวิธีเดียวไม่ได้ผล อาจใช้หลายวิธีร่วมกันได้ เช่นแบบสเปรย์หรือหยดหลัง ร่วมกับแบบผสมน้ำราด ร่วมกับอาบน้ำด้วยแชมพูกำจัดเห็บ เป็นต้น
ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ออกมาหลายยี่ห้อหลายรูปแบบ ซึ่งก็มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้แบบที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยอาจต้องศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้องและปลอดภัย หรืออาจต้องปรึกษาจากสัตวแพทย์
- การควบคุมเห็บที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อม อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วในหัวข้อวงจรชีวิตของเห็บ ที่จะเคลื่อนลงมาที่พื้น 3 ครั้งใน 1 วงจรชีวิต ดังนั้นตามสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่สุนัขอยู่อาจมีเห็บอยู่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดที่สิ่งแวดล้อมด้วย มีผลิตภัณฑ์ในหลายๆ แบบ โดยอาจต้องศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้องและปลอดภัย หรืออาจต้องปรึกษาจากสัตวแพทย์เช่นกัน
- จำเป็นต้องควบคุมและกำจัดเห็บกับสุนัขทุกตัวที่เลี้ยงไว้บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียง เพื่อตัดวงจรเห็บให้หมดไป และป้องกันการติดซ้ำจากตัวที่ยังคงมีเห็บอยู่
- ควรหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีเห็บ เช่น ถ้าเป็นไปได้ งดให้น้องหมาออกวิ่งนอกบ้านหรือตามพื้นดินพื้นหญ้านอกบ้านหรือแม้แต่ในสนามหญ้าในบ้านเอง เพราะบางครั้งอาจมีสุนัขบริเวณหน้าบ้านที่มีเห็บผ่านมาและปล่อยเห็บลงมาตามพื้น ซึ่งจะติดมาที่สุนัขของเราได้
และที่สำคัญระวัง อย่าให้ลูกไปเดินในบริเวณที่รกๆ ถ้าจำเป็นต้องไป อาจใช้ยาทาป้อง กันแมลงทาบริเวณแขนขาก่อน เห็บก็จะไม่กล้ำกลายมาใกล้ได้
อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!
- ติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะจูบหมาแมว และปล่อยให้เลียปาก
- 12 วิธีกำจัดแมลง และสัตว์ร้ายใกล้ลูกน้อย
- ไรฝุ่น สาเหตุภูมิแพ้ อันตรายใกล้ตัวที่มองไม่เห็น!!
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.tm.mahidol.ac.th , pet.kapook.com