ผู้เชี่ยวชาญแชร์!! วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อ "เด็กจมน้ำ" - Amarin Baby & Kids
วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อเด็กจมน้ำ

ผู้เชี่ยวชาญแชร์!! วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อ “เด็กจมน้ำ”

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อเด็กจมน้ำ
วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อเด็กจมน้ำ

เด็กจมน้ำ จะมีวิธีป้องกันและให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างไร และหากพบเห็นเหตุการณ์เข้า จะช่วยเหลือเด็กได้อย่างไร วิธีไหนจึงช่วยให้เด็กปลอดภัยได้

ผู้เชี่ยวชาญแชร์!! วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อ “เด็กจมน้ำ”

ทีมกองบรรณาธิการ ABK ขอรีวิว!! วันนี้ได้มีโอกาสไปเดินงาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 21 Presented By Lazada มา และได้ฟังงานเสวนาเรื่อง วิธีป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อลูกจมน้ำ โดย คุณครูซู ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสอนว่ายน้ำทารกและเด็กเล็ก จบหลักสูตรนานาชาติจากประเทศออสเตรเลีย เฮดโค้ช Academic  จากโรงเรียนสอนว่ายน้ำทารกและเด็กเล็ก swimming kids Thailand เป็นงานเสวนาที่ทำให้ผู้ปกครองได้รับความรู้ในการช่วย เด็กจมน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ๆ จึงอยากนำความรู้จากคุณครูซูมาแชร์ให้แม่ ๆ ได้อ่านกันค่ะ

วิธีป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อลูกจมน้ำ โดยคุณครูซู
วิธีป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อลูกจมน้ำ โดยคุณครูซู

ผู้เชี่ยวชาญแชร์!! วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อ “เด็กจมน้ำ”

หากพบ เด็กจมน้ำ ควรทำการช่วยเหลือดังนี้

  1. ประเมินสถาณการณ์ว่าตนเองสามารถช่วยเหลือได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กและตนเองอีกด้วย
  2. โทรศัพท์แจ้งทีมแพทย์กู้ชีพที่หมายเลข 1669 หรือหน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด
  3. เมื่อช่วยเหลือเด็กขึ้นจากน้ำได้แล้ว นำเด็กนอนบนพื้นราบ แห้ง และแข็ง อย่านำเด็กอุ้มพาดบ่า และกระแทก เพื่อหวังให้น้ำออกมา วิธีนี้อาจทำให้เด็กอาเจียน หรือสำลักน้ำ ทำให้เด็กขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น
  4. ตรวจดูว่าเด็กรู้สึกตัวหรือไม่
  5. หากรู้สึกตัว ให้เช็ดตัวให้แห้ง นำผ้ามาห่มให้ร่างกายอบอุ่น แล้วนำเด็กส่งโรงพยาบาล
  6. หากไม่รู้สึกตัว ให้ช่วยหายใจโดยการเป่าปาก 2 ครั้ง และกดหน้าอก 30 ครั้ง โดยกดให้ยุบประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอก ความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที ทำสลับกันไปจนกว่าเด็กจะรู้สึกตัวและหายใจได้เอง แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

จากข้อมูลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2555-2564) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิต 7,374 ราย เฉลี่ยปีละ 737 ราย หรือวันละ 2 ราย และจากข้อมูลเบื้องต้นของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปี 2564 เพียงปีเดียว มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จมน้ำเสียชีวิต ถึง 219 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 ของการจมน้ำเสียชีวิตในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และเป็นกลุ่มเด็กที่มีอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำต่อประชากรเด็กแสนคนสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 6.9 และจากข้อมูลระบบรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ ของกองป้องกันการบาดเจ็บ

จากข้อมูลอ้างอิงของกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี 2549 – 2558 สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยอันดับหนึ่งคือ การจมน้ำ

อุบัติเหตุทางน้ำ เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้เกิด มาป้องกันด้วยการให้ลูก เรียนว่ายน้ำกันค่ะ

โรงเรียนสอนว่ายน้ำสวิมมิ่งคิดส์ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการร่วมเสริมสร้างพัฒนาการให้สมวัยและป้องกันการสูญเสีย ทางผู้บริหารจึงได้เริ่มค้นคว้าหาข้อมูลและงานวิจัยหลักสูตรการสอนว่ายน้ำทั้งหมดของประเทศออสเตรเลีย เพื่อปรับปรุงให้เข้าเด็กไทยมากที่สุด

เป้าหมายในการก่อตั้งโรงเรียนสอนว่ายน้ำ คือ เพื่อเป็นส่วนนึงในการ ลดการสูญเสียจาก อุบัติเหตุทางน้ำ ของเด็กไทย เป็นหลัก

เด็กสามารถเริ่มเรียนว่ายน้ำได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งทางโรงเรียนมีสอนทั้งหมด 4 หลักสูตร เริ่มตั้งแต่ 4 เดือน หรือคอแข็งตั้งได้ สอนพัฒนาต่อเนื่องจนถึง 12 ปี โดยโรงเรียนได้จัดแบ่งกลุ่มน้องตามช่วงอายุและพัฒนาการไว้อย่างเหมาะสม สำหรับเรื่องการสอนเด็กที่มาเรียนเริ่มต้น  แต่ละช่วงอายุ คุณครูจะสอนเรื่องการคุ้นชินกับน้ำ เรื่องของความปลอดภัยสำหรับการเรียนว่ายน้ำ การเล่นน้ำเมื่ออยู่ตามแหล่งน้ำ และสอนทักษะเกี่ยวกับการเอาตัวรอดในน้ำขั้นพื้นฐานถึงแอดวานซ์ เมื่อน้อง ๆ ได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่องและชำนาญ

ในการเรียนว่ายน้ำนั้น หากจะให้ได้พัฒนาการที่ดีและต่อเนื่องอย่างที่คุณครูซูแนะนำ ควรจะให้ลูกเริ่มเรียนตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก คือ ตั้งแต่ 4 เดือนนั่นเอง เพราะยิ่งเริ่มเร็ว เด็กจะไม่ลืมสัญชาติญาณตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่

ในระยะนี้เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ อุบัติเหตุทางน้ำ ที่เกิดกับเด็ก ๆ บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือสระว่ายน้ำ เพราะเด็กกับน้ำเป็นของคู่กัน เด็ก ๆ มักชอบเล่นน้ำ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิดไม่ให้คลาดสายตา ไม่ควรปล่อยลูกให้เล่นน้ำตามลำพัง แม้แต่อ่างอาบน้ำในบ้าน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ เพลอไปทำธุระเพียงแป๊บเดียว ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีทักษะ หรือไม่ได้มีการฝึกอย่างถูกต้อง อาจจะทำให้เกิดอาการสำลักน้ำอย่างรุนแรงในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 5 วินาที ก็อาจจะเกิดอันตรายกับเด็กได้

สำหรับวิธีการแก้ปัญหา อุบัติเหตุทางน้ำ ขอแนะนำว่า เด็ก ๆ ทุกคนควรได้รับการฝึก และการเรียนว่ายน้ำถูกวิธีอย่างถูกวิธี เช่น

  • สำหรับเคสเด็กเล็กๆ น้องๆหลักเดือนที่อาบน้ำในอ่าง แล้วเผลอเรอลื่นตัวไหลจมลงในน้ำ เด็ก ๆ จะมีทักษะในการกลั้นหายใจได้ ทำให้เด็ก ๆ ไม่สำลักน้ำ
  • กรณีที่ หากเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากแหล่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำ หากเป็นเด็กที่ได้รับการฝึกแล้วจะสามารถกลั้นหายใจ ดำน้ำ แล้วควบคุมตัวเอง พาตัวเองไปยังจุดที่ปลอดภัยได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
ช่วย เด็กจมน้ำ โดยใช้ 2 นิ้วกดที่กลางหน้าอกเด็ก
ช่วย เด็กจมน้ำ โดยใช้ 2 นิ้วกดที่กลางหน้าอกเด็ก

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกการทำ CPR ในเด็กเล็ก เผื่อวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ลูกจมน้ำ ขึ้นมา จะได้ช่วยเหลือลูกได้อย่างทันท่วงที

การทำ CPR เด็กเล็กมีดังนี้

  1. รีบช่วยเด็กขึ้นจากน้ำ ให้เด็กนอนหงายราบบนพื้นแข็ง เปิดลมหายใจให้เด็กได้หายใจสะดวก ตรวจเช็คในปาก โดยเอามือคว้านว่ามีอะไรขวางอยู่ไหม ตรวจดูว่าเด็กมีสติอยู่ไหม โดยตบบริเวณอุ้งเท้า หรือตบที่บ่า แล้วเรียกชื่อเด็กดัง ๆ ในกรณีที่รู้ชื่อ หากยังไม่มีการตอบสนอง ให้เช็คชีพจร หากไม่พบ รีบให้ผู้อื่นโทรแจ้ง 1669 แจ้งมีเด็กจมน้ำหมดสติ เช็คชีพจรไม่เจอ ขอเครื่อง AED สำหรับเด็กด่วน ห้ามวางสายเด็ดขาด เมื่อบอกให้ผู้อื่นโทรแจ้ง 1669 แล้ว ลงมือทำ CPR ทันที อย่ารอ
  2. ในกรณีที่เป็นเด็ก หากอยู่คนเดียว ให้ช่วยเด็กก่อน เพราะการที่เด็กหมดสติมักเกิดจากทางเดินหายใจอุดตัน ในกรณีที่จมน้ำ ให้เริ่มจากการเป่าปาก 2 ครั้งก่อน(หากไม่ใช่กรณีจมน้ำ ให้ทำการกดหน้าอกก่อน เป่าปาก) ในกรณีเป็นเด็กเล็ก ๆ ให้ใช้ 2 นิ้ว กดลงบริเวณกลางอก กดลึก 1 – 1.5 นิ้ว หากเป็นเด็กโต ประมาณ 5 ปีขึ้นไป ใช้สันมือกดหน้าอก ทำการกดหน้าอก 15 ครั้ง ทำสลับกันไปเป็นเซตแบบนี้ 10 ครั้ง แล้วดูปฎิกิริยาตอบสนอง หากยังไม่มีการตอบสนอง ทำอีก 10 เซต แล้วดูปฎิกิริยาตอบสนอง ทำจนกว่าเด็กจะได้สติ หากเด็กได้สติ ให้จับนอนตะแคง เพื่อรอเจ้าหน้าที่
  3. ใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) หากมีเครื่องเออีดี ให้เปิดเครื่องทันทีที่เครื่องมาถึง ใช้งานตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
  4. ทำตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี (AED) กดหน้าอก ทำ CPR อย่างต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

ความรู้เรื่อง เด็กจมน้ำ ที่ ทีมกองบรรณาธิการ ABK นำมาฝากจากงาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 21 Presented By Lazada นี้ คงทำให้คุณพ่อคุณแม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ลูก เรียนว่ายน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ ลูกจมน้ำ กันนะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เบอร์ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมี

อุทาหรณ์ เด็กจมน้ำ อุบัติเหตุอันดับต้น ๆ ที่เกิดกับลูกหลาน

คลิป! ช่วย “เด็กจมน้ำ” เตือนใจอย่าปล่อยลูกหลานเล่นน้ำลำพัง

เทคนิคสอนเด็กว่ายน้ำเอาตัวรอด ป้องกันเด็กจมน้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณครูซู ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสอนว่ายน้ำทารกและเด็กเล็ก จบหลักสูตรนานาชาติจากประเทศออสเตรเลีย เฮดโค้ช Academic  จากโรงเรียนสอนว่ายน้ำทารกและเด็กเล็ก swimming kids Thailand

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up