องค์การระหว่างประเทศ International Childhood Cancer Classification (ICCC) ได้แบ่งโรคมะเร็งออกเป็น 12 ชนิด โดยข้อมูลจากชมรมโรคมะเร็งในเด็กแห่งประเทศไทย ได้จัดทำทะเบียนมะเร็งผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กของประเทศไทย โดยความร่วมมือของโรงพยาบาลและสถาบันที่ดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งทั้งสิ้น 20 สถาบันทั่วประเทศ โดยร่วมกันเก็บบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง แรกเกิดถึง 14 ปีได้ข้อมูลโรคมะเร็งในเด็ก จำนวน 2,792 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยใหม่ระหว่างปี 2546 ถึง 2548 (1,602 คนในเพศชายและ 1,190 คน ในเพศหญิง) อายุเฉลี่ยที่ 6.5 ปี
3 โรคมะเร็งที่พบว่าเด็กไทยป่วยเป็นกันมากที่สุด ได้แก่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- โรคมะเร็งสมอง
ส่วนโรคมะเร็งที่พบว่าเด็กไทยเป็นน้อยที่สุดก็คือ โรคมะเร็งเยื่อบุผนังอวัยวะชนิดคาร์ซิโนมา
โรคมะเร็งในเด็กเกิดจากอะไร?
- พันธุกรรม ทั้งชนิดถ่ายทอดได้และถ่ายทอดไม่ได้ จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสูงสุดของการเกิดโรคมะเร็งในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เช่นการเกิดความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดของยีน ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโต และการตายตามธรรมชาติของเซลล์ปกติ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในเด็กเกือบทุกชนิด หรือโรคกลุ่มอาการดาวน์ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล
- การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อไวรัส ชนิด อีบีวี หรือ ชนิดเอชไอวี ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด
- สิ่งแวดล้อม การได้รับสารเคมีบางชนิดในปริมาณสูงต่อเนื่อง เช่น จากยาฆ่าแมลง อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การดื่มน้ำที่มีสารก่อมะเร็งไนเตรทปนเปื้อนปริมาณสูงต่อเนื่อง อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การได้รับรังสีเอกซ์ (รังสีในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค) ปริมาณสูงขณะอยู่ในครรภ์ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
- จากมารดาได้รับสารบางชนิดปริมาณสูงต่อเนื่องในขณะตั้งครรภ์ เช่น ยาฆ่าแมลง หรือจากมารดาบริโภคสารก่อมะเร็งจากเนื้อสัตว์แปรรูป (เช่น ไส้กรอก และปลาร้า) อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเนื้องอกหรือมะเร็งสมองของลูก การติดสุราของมารดาอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของลูก หรือการบริโภคสารกาเฟอีน ยกตัวอย่างเช่น ชา กาแฟ โคลา ยาชูกำลัง ในปริมาณสูงต่อเนื่องของมารดาอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองของลูก
คลิกอ่านอาการป่วยเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
เครดิต: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นางสาวนิลทิตา ศรีไพบูลย์กิจ และรศ.สามารถ ภคกษมา หน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี