วิธีการสังเกตอาการ
- มี หรือ คลำได้ก้อนเนื้อผิดปกติ
- มีไข้บ่อย
- ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้
- ซีด หรือมีจุด จ้ำ ห้อเลือดง่าย
- อ่อนเพลียง่าย ไม่ซุกซนเหมือนเคย หรือโยเยผิดปกติ
อาการรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
- ระยะของโรค
- ชนิดของโรคมะเร็ง (เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรุนแรงกว่าโรคมะเร็งต่อมน้ำ เหลือง)
- การแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง (โรคมะเร็งของอวัยวะเดียวกัน หรือ โรคมะเร็งประเภทเดียวกัน มีเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวได้ได้หลายชนิด คือ แบ่งตัวต่ำ แบ่งตัวปานกลาง และแบ่งตัวสูงหรือโรครุนแรงกว่า)
- สุขภาพของเด็ก ถ้าสุขภาพไม่ดี ความรุนแรงโรคสูงขึ้น
- การขึ้นสูงของค่าสารเคมีบางชนิด เช่น สารทูเมอร์มากเกอร์ เพราะเป็นตัวบ่งชี้ ปริมาตรของเซลล์มะเร็ง
- การไม่สามารถผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งออกได้หมดจะเพิ่มความรุนแรงโรคให้สูงขึ้น
- การดื้อต่อยาเคมีบำบัด
- การดื้อต่อรังสีรักษา
สรุปก็คือ โรคมะเร็งในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กนั้นเป็นโรคมะเร็งชนิดแตกต่างจากในผู้ใหญ่ค่ะ โดย อัตราการเกิดโรคต่ำกว่าในผู้ใหญ่มาก ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคก็คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ส่วนวิธีรักษาที่สำคัญ คือ การผ่าตัด และยาเคมีบำบัด โดยมีปัจจัยต่อความรุนแรงของโรคที่สำคัญขึ้นกับ ระยะของโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง โอกาสผ่าตัดก้อนมะเร็งออกได้ทั้งหมด และการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด นั่นเอง
เครดิต: หาหมอ
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
- แพทย์เตือน! โรคภาวะขาดธรรมชาติ โรคใหม่ที่พ่อแม่ต้องรู้!
- หมอชี้ 4 อาการร้าย! ที่บอกว่าลูกคุณเป็น โรคภูมิแพ้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่