เตือนพ่อแม่ระวัง! ใช้ยาผิดวิธี ทำลูกเสี่ยงตายได้ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ใช้ยาผิดวิธี

เตือนพ่อแม่ระวัง! ใช้ยาผิดวิธี ทำลูกเสี่ยงตายได้

event
ใช้ยาผิดวิธี
ใช้ยาผิดวิธี

อย่างที่กล่าวไป ยาเป็นเสมือนดาบสองคม คือ ให้คุณเมื่อใช้ถูก และให้โทษเมื่อ ใช้ยาผิดวิธี ซึ่งก่อนใช้ยารักษาลูกน้อยจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรพึงระลึกถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยข้อควรพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการใช้ยาในเด็ก ได้แก่

  1. ไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็น หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง เพราะโรคบางโรคที่ไม่รุนแรงสามารถปล่อยให้อาการทุเลาเองได้ หรือบางอาการอย่างเช่น ลูกตัวร้อน เพียงแค่หมั่นเช็ดตัวและเช็ดให้ถูกวิธี ก็สามารถทำให้ไข้ลดลงได้ โดยไม่ต้องกินยา
  2. ควรเลือกยาที่มีความปลอดภัยสูง โดยพยายามเลือกยาที่คุ้นเคยหรือที่เคยใช้แล้วปลอดภัย พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดใหม่ๆโดยไม่จำเป็น
  3. ควรอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ยา และสังเกตลักษณะของยาว่ามีลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงจากที่เคยใช้หรือไม่ เนื่องจากแพทย์หรือเภสัชกรมักเลือกยาประเภทน้ำเชื่อมให้เด็ก ซึ่งยาประเภทดังกล่าวจะหมดอายุเร็วกว่ายาประเภทยาเม็ด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของยาอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กที่กินยานั้นได้
  4. หากเด็กโตพอที่จะกินยาเม็ดได้ ให้เลือกใช้ยาเม็ดดีกว่ายาน้ำ เพราะนอกจากจะราคาถูกกว่าแล้วยังพกพาสะดวกและหมดอายุช้ากว่าด้วย สำหรับยาฉีดควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ โดยแพทย์เป็นผู้สั่งให้ฉีดยาและฉีดโดยแพทย์หรือพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากยาฉีดมีโอกาสแพ้แบบช็อค (Anaphylaxis) อย่างรุนแรงมากกว่ายาชนิดอื่น

ใช้ยาผิดวิธี

ใช้ยาผิด ชีวิตเปลี่ยน!

สิ่งที่สำคัญมากที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้ยากับเด็กก็คือข้อควรระวัง และข้อห้ามต่างของยาแต่ละชนิดเพราะหากมองข้ามประเด็นเหล่านี้แล้ว การให้ยาเพื่อรักษาอาจ แปรเปลี่ยนเป็นการซ้ำเติมเด็กให้มีอาการเลวร้ายมากขึ้นและในบางกรณีอาจถึงแก่ชีวิตได้

ข้อควรระวังเมื่อใช้ยากับเด็ก

  1. ยาปฏิชีวนะ นิยมทำเป็นรูปผงแห้ง ก่อนผสมน้ำควรเคาะขวดยาให้ผงยากระจายตัวก่อน จึงผสมน้ำสุกต้มที่เย็นแล้วให้ได้ระดับที่กำหนด ยาบางชนิดเมื่อผสมน้ำแล้วต้องเก็บในตู้เย็นและต้องกินยาติดต่อกันจนหมด แม้ว่าอาการจะหายดีแล้ว ยกเว้นกรณีแพ้ยาให้หยุดยาทันทีและรีบไปพบแพทย์
  2. ยาลดไข้ ที่นิยมให้เด็กกินก็ คือ พาราเซตามอล (Paracetamol) โดยให้เด็กกินยาทุก 4-6 ชั่วโมงจนไข้ลด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน หรือมีไข้สูงมาก ควรไปพบแพทย์ ห้ามเปลี่ยนไปใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) หรือ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เพราะหาก เด็กเป็นไข้เลือดออกจะทำให้เกิดอันตรายได้ และยาพาราเซตามอล ไม่ควรกินยาติดต่อกันเกิน 5 วัน เพราะอาจมีผลเสียต่อตับได้

ส่วนกรณีจำเป็นเมื่อต้องใช้ยาลดไข้แอสไพริน หรือ ไอบูโปรเฟน ควรให้กินยาหลัง รับประทานอาหารทันที เนื่องจากยานี้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และนอกจากการให้ ยาลดไข้แล้ว ควรเสริมด้วยการเช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำ หมาดๆ เช็ดตามข้อพับ ตามซอกต่างๆและลำตัว เพราะจะช่วยระบายความร้อนและลดไข้ได้ดีขึ้น

  1. ยาแก้ไอ ไม่ควรนำยาแก้ไอของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน เพราะยาบางชนิดอาจจะผสมแอลกอฮอล์ หรือยาบางตัวอาจมีฤทธิ์กดศูนย์กลางการหายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้
  2. ยาแก้ท้องเสีย ไม่ควรให้ยาที่มีความแรงมากในเด็กเล็ก เพราะอาจไปกดการหายใจได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ เพราะอาการขาดน้ำในเด็กอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่าลูกทารกมีอาการป่วยควรรีบพาไปหาหมออย่างเร็วที่สุดเท่านั้น ไม่ควรให้ยากินเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตัวลูกน้อยเป็นอย่างมากได้ และที่สำคัญที่สุดนอกจากฟังคำแนะนำการใช้ยาจากคุณหมอหรือเภสัชกรมาแล้ว แต่ก่อนจะใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไร ก็ควรอ่านดูฉลากให้ดี ให้แน่ใจก่อนว่าเป็นยาใช้ภายนอกหรือยากิน และควรใช้ให้ถูกวิธีตามฉลากระบุ เพียงเท่านี้ก็ช่วยรักษาชีวิตของลูกน้อยไปได้อย่างครึ่งทางแล้ว

ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจในการใช้ยารักษาลูก สามารถโทรสอบถามการรักษาไปที่สายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.ayo.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up