วัคซีนเสริม

“ลูกรับวัคซีนช้า” จะเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่?

event
วัคซีนเสริม
วัคซีนเสริม

ลูกรับวัคซีนช้า

วิธีการที่ได้ผลในการทำให้ลูกไม่กลัวการมาพบคุณหมอเด็ก และ มีความรู้สึกต่อต้านการฉีดวัคซีนลดลง คุณพ่อและคุณแม่สามารถทำได้ ดังนี้…

1. พาลูกไปรีบวัคซีนตามกำหนด  ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่าเป็นเรื่องที่โชคดี เพราะวัคซีนส่วนใหญ่ที่ฉีดในช่วงขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกยังเล็กอยู่ ลูกจะยังจำความสัมพันธ์ระหว่างการมาพบแพทย์กับความเจ็บปวดไม่ได้ ต่างกับลูกวัยที่โตกว่า 1 ขวบ ซึ่งจำความเจ็บจากการฉีดยาครั้งก่อนได้แล้ว ทำให้เวลาเลี้ยวรถเข้ารพ. ลูกก็ร้องไห้จ้าขึ้นทันที

ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ลูกจำได้จนร้องไห้ทุกครั้งตั้งแต่ก่อนเข้าห้องตรวจและหลังฉีดยาเสร็จ ก็ยังร้องไห้ต่ออีกนาน แต่ถ้าเป็นเด็กเล็ก ก็จะร้องไห้แค่ตอนฉีด เพราะเด็กเล็กยังไม่รู้จักเจ็บใจ

2.ท่าทีของพ่อแม่ ยิ้ม ๆ เข้าไว้ค่ะ ^_^ เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่ดูเครียดๆ ลูกก็จะวิตกกังวลมากขึ้น ส่วนคำพูดว่า “ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัว” กลับจะยิ่งเพิ่มความกลัวให้กับลูก เพราะลูกจะคิดว่ากำลังจะมีสิ่งน่ากลัวเกิดขึ้น!!

3. อย่าโกหกลูก ถ้าคุณแม่บอกว่า วันนี้จะไม่มีฉีดวัคซีน หรือ บอกว่า…ฉีดยาไม่เจ็บเลยแม้แต่น้อย จะทำให้ลูกไม่ไว้ใจคุณอีกต่อไป >> ให้พูดว่า “ฉีดยาทำให้เจ็บ แต่แม่จะอยู่กับหนู และความเจ็บจะเป็นไม่นาน” โดยคุณอาจซ้อมเล่นจิกแขนลูกตอนอยู่ที่บ้าน แล้วถามลูกว่ารู้สึกอย่างไร อีก 5 นาทีต่อมาถามลูกอีกครั้งว่ายังเจ็บที่แขนที่ถูกจิกไหมซึ่งจะไม่รู้สึกอะไร อีก แล้วบอกลูกว่า การฉีดยาก็จะเป็นแบบเดียวกันนั่นเอง

4. ชวนเล่นสมมติเป็นหมอพยาบาล ทำทุกขั้นตอนเหมือนเวลาไปหาหมอจริงๆ เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดไข้ เช็ดตัวเวลามีไข้ อ่านหนังสือเกี่ยวกับการหาหมอ ยิ่งถ้าลูกเอาตุ๊กตาติดมาด้วยเวลามารพ. ให้สมมติฉีดยาตุ๊กตาก่อน จะทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งยอมให้ฉีดเหมือนกัน พ่อแม่อาจพูดว่า…ทุกคนก็ต้องฉีดวัคซีนเหมือนกัน พ่อกับแม่ก็ฉีด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ถึงแม้ว่าจะเจ็บตัวก็ไม่นาน

5. หาเรื่องเบี่ยงเบนความสนใจขณะกำลังฉีดยา ถือเป็นวิธีเบี่ยงเบน ซึ่งขึ้นกับอายุ เช่น ถ้าเป็นเด็กไม่เกิน 3 ขวบให้ร้องเพลง เล่าหรืออ่านนิทาน หรือ เล่นของเล่น ถ้าเป็นเด็กโตกว่า 3 ขวบให้ดูคลิปวิดิโอ ดูรูปภาพ หรือ ฟังเพลงจากไอโฟน ควรให้พ่อแม่อุ้มลูกเอาไว้ลูกจะกลัวน้อยกว่าการจับแยกออกไป

6. ทำให้ผิวหนังที่จะฉีดยาชาด้วยการวางน้ำแข็งนาน 1 นาที ยิ่งถ้าเย็นบวกกับการสั่นด้วยจะยิ่งทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นสับสนจนไม่ รู้สึกเจ็บเหมือนเดิม แต่เด็กบางคนไม่ชอบให้วางน้ำแข็งก็อย่าทำ ส่วนการทายาชาทิ้งไว้ก่อนฉีดยา 1 ชม.ร่วมกับการเบี่ยงเบนความสนใจขณะฉีดยา ก็ได้ผลดีไม่น้อย แต่ทำให้ต้องเสียเวลารอที่รพ.นานขึ้น ยกเว้นทายาชาเตรียมมาจากบ้าน

7. สำหรับเด็กโตหลังฉีดยามักพูดว่าไม่เห็นเจ็บเลย แต่พอมาครั้งต่อไป ก็ลืมความรู้สึกนี้ไปแล้ว และร้องไห้ไม่ยอมฉีดยาโดยง่าย วิธีแก้ไข คือ เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว ให้ลูกเขียนโน้ตสั้นๆถึงตัวเอง เช่น “ฮันน่าห์ที่รัก จดหมายนี้เขียนไว้เพื่อเตือนว่า วันนี้เธอเครียดล่วงหน้าเรื่องฉีดยามากเพียงใด แต่ก็พบว่ามันไม่เจ็บมากอย่างที่คิด จงจำความรู้สึกนี้ไว้สำหรับการฉีดยาครั้งต่อไป …จาก ฮันน่าห์

8. หมอบางคนมีสติ๊กเกอร์ หรือ วิตามินซีไว้แจกหลังฉีดยา เพื่อเป็นรางวัลให้หยุดร้องไห้ แต่บางครั้งคำชมเชยว่า “เก่งมากๆ กล้าหาญจริงๆ เลยลูกแม่” ก็ช่วยได้เช่นกัน หรือ การนำของเล่น หรือ ให้จุกหลอกทันทีหลังฉีดยา จะทำให้หยุดร้องไห้ได้เร็ว หรือ การพาลูกแวะสนามเด็กเล่นก่อนกลับบ้านเป็นรางวัลพิเศษที่ได้มาฉีดวัคซีน ก็ช่วยให้ลูกมีความสุขมากขึ้นถึงแม้ว่าต้องโดนฉีดยาได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี การพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีน นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อไปเสริมสร้างเกราะป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดในอนาคต

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.breastfeedingthai.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up