กิ้งกือ กัด ไม่ได้ แต่มีพิษ! ระวังมีมากช่วงหน้าฝน - amarinbabyandkids

ระวังลูกน้อยให้ดี! แม่โพสต์เตือน กิ้งกือ กัด ไม่ได้ แต่มีพิษ โดนไปเป็นแผลพุพอง

event

กิ้งกือ กัด
ลักษณะรอยแผลไหม้ จากการทับตัวกิ้งกือ ของคุณ Wipaporn Pindang

ซึ่ง กิ้งกือ กัด ได้ไหม และมีพิษร้ายหรือไม่ นั้น เรื่องนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา” อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของไทย ได้ให้ข้อมูลของเจ้าสัตว์ร้อยขา พันขา นี้ไว้ว่า…

“กิ้งกือ” หรือสัตว์พันขา (Millipede) เป็นสัตว์มีขามากที่สุดในบรรดาสัตว์บก ไม่มีกระดูกสันหลัง ในโลกนี้มีมากถึง 10,000 ชนิด (สปีชีส์) สำหรับบ้านเราจากการสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด มักจะเห็นบ่อยครั้งตามถนนหนทาง ชายป่า สวนครัว ป่าละเมาะ เขาหินปูน เป็นกิ้งกือตัวใหญ่ ทรงกระบอก หรือกิ้งกือหนอน มีลักษณะสีออกแดงๆ หรือสีน้ำตาล

โดยรูปร่าง เป็น ส่วนหัว มีตาอยู่ด้านข้าง (ยกเว้นกิ้งกือถ้ำจะไม่มีตา) และ ลำตัว ลักษณะขาข้อ หนวดสั้น ปาก 2 ส่วน บนล่างเพื่อใช้เคี้ยวและกด ลำตัวยาว มีขาสองคู่ต่อหนึ่งวงปล้อง ผิวมันแข็งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน

กิ้งกือ กัด
กิ้งกือ แต่ละชนิด

กิ้งกือไม่ว่าจะเป็น กิ้งกือยักษ์ กิ้งกือมังกร กิ้งกือตะเข็บ กิ้งกือกระสุน กิ้งกือเหล็ก หรือกิ้งกือขน ล้วนมีบทบาทสำคัญเหมือนเทศบาลกำจัดขยะ เป็นสัตว์กินพืช โดยจะกินไม้ผุ ขอนไม้ ใบไม้เน่า ซึ่งมีเชื้อรา แบคทีเรีย พร้อมกับ ถ่ายมูลเป็นก้อนคล้ายยาลูกกลอน เต็มไปด้วย จุลินทรีย์ สารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดิน และการช่วยย่อยสลายซากในระดับต้นๆ ดังนั้นมันจึงเป็นเสมือน “โรงงานธรรมชาติเคลื่อนที่”

จึงไม่จำเป็นต้องพัฒนาอวัยวะสำหรับการล่าเหมือนอย่างตะขาบ และไม่มีเขี้ยวสำหรับกัด มีเพียงแผ่นฟันคล้ายช้อนตักไอศครีมสำหรับกัดแทะซากได้เท่านั้น  และเพราะว่ามีขามากมายนับไม่ถ้วนขนาดนั้น กิ้งกือจึงได้รับฉายาว่า “สหัสบาท” หรือสัตว์พันขา แต่ที่จริงกิ้งกือมีขาไม่ถึงพันขา เท่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยศึกษากันมาจนถึงปัจจุบันพบว่ากิ้งกือมีขามากที่สุด 710 ขา และมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ถึง 30 เซนติเมตร โดยมักอาศัยอยู่ทั่วไปในดิน ใต้ก้อนหิน ใต้ซากใบไม้ทับถม ตามขอนไม้ผุ ตลอดจนในถ้ำ

“กิ้งกือมีพิษอันตรายต่อมนุษย์ หรือกัดแล้ววางไข่ใส่ในร่างกาย”

ซึ่งไม่เป็นความจริง! ! !   เพราะกิ้งกือไม่มีเขี้ยวสำหรับกัดจะมีเพียงปากที่เป็นแผ่นเข็ง ๆ ไว้สำหรับกัดแทะแต่ซากพืชเท่านั้น ถึงกัดก็กัดคนไม่เข้าอย่างมากก็แค่ทำให้คนที่ถูกกัดรู้สึกคันหรือจักจี้เล็กน้อยเท่านั้นเอง

กิ้งกือ กัด

แล้วถ้าไม่มีปากสำหรับกัดแล้วจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร???

กิ้งกือมีวิธีป้องกันตัวเองโดยใช้การขดตัวเป็นเกราะป้องกันอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ เมื่อเวลาเราเอาไม้ไปเขี่ย หรือไปโดนกิ้งกือแบบไม่ตั้งใจ มันจะม้วนตัวขดเป็นวงกลม ขณะเดียวกันก็ ปล่อยสารเคมีกลุ่ม “ไซยาไนต์” หรือสารที่เรียกว่า “เบนโซควิโนน” ลักษณะสีเหลือง เมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเข้มในที่สุด มีกลิ่นเหม็นคล้ายน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำตามโรงพยาบาล ซึ่งสารพิษที่ปล่อยออกมานี้ สามารถฆ่าได้แต่สัตว์เล็กๆ เช่น มดเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในคนแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่ากิ้งกือไม่มีกลไกที่จะทำร้ายคนได้เลย

และมีกิ้งกือบางสารพันธุ์ที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล พิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีฤทธิ์ ทำให้ผิวหนังไหม้ แผลไหม้จะมีอาการปวดอยู่ 2-3 วัน รวมทั้งจะมีอาการระคายเคืองร่วมด้วย และถ้าสารพิษเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบได้ โดยเมื่อถูกพิษของกิ้งกือทำได้โดยการล้างแผล ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณที่ถูกพิษ เพื่อล้างสารพิษออกให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากพิษเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำอุ่น และปรึกษาจักษุแพทย์ทันที

อ่านต่อ >> “วิธีไล่กิ้งกือออกจากบ้าน ให้ห่างไกลลูกน้อย โดยไม่ต้องฆ่า” คลิกหน้า  3


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.oknation.net , www.vcharkarn.com , www1a.biotec.or.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up