แม่ตัดสินใจพาลูกไปๆ ถึงหมอส่องดูตาบอกตาดำไม่เป็นอะไรโดนแค่เปลือกนอกนัดดูอีกทีวันจันทร์ แม่โล่งใจขึ้นมา
หมอบอกด้วยว่ากิ้งกือมีพิษทุกชนิดแต่ตัวใหญ่พิษด้วยกว่าตัวแดงๆเล็กๆ เรื่องนี้จะเตือนใจแม่ไปตลอดก่อนเอาลูกนอนต้องดูให้ละเอียด ระวังตอนฝนตกอย่าเปิดประตูหน้าต่างไว้ ปล.แม่ก็โดนด้วยนิดนึงรู้สึกแสบๆเคืองๆแต่เด็กผิวยังบางเลยเป็นอย่างที่เห็น #ไม่ดราม่านะค่ะ ขอบคุณที่อ่านค่ะ
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Andaman focus อันดามัน โฟกัส
โดยคุณแม่ กล่าวต่อว่า หลังจากได้พบกับจักษุแพทย์แล้ว ซึ่งได้ทั้งยากินและยาทามารักษา โดยตนเองสงสารลูกเป็นอย่างมากที่เกิดอาการอักเสบจะลืมตาด้านขวาไม่ได้เกือบ 1 อาทิตย์ จากนั้นก็กลายเป็นรอยไหม้ที่ริมขอบตา แต่อาการก็ทุเลาลงเรื่อยๆ ล่าสุดรอยแผลก็หายเป็นปกติแล้ว จึงอยากเตือนให้ทุกคนระวังภัยจากกิ้งกือโดยเฉพาะบนที่นอนให้ตรวจที่นอนก่อนนอนทุกครั้ง
จากความเชื่อและข้อสงสัยเหล่านี้ ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้ไปสอบถามความรู้จากกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มาไขข้อสงสัยให้คุณแม่ค่ะ
ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า
“กิ้งกือไม่กัดครับ และกิ้งกือส่วนมากไม่ทำให้เกิดปัญหาอะไร แต่จะมีกิ้งกือบางชนิดที่สามารถหลั่งสารพิษซึ่งอยู่บริเวณข้างลำตัว และทำให้เกิดการระคายและอักเสบของผิวหนังได้ จากรูปที่มีการโพสต์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กที่แสดงการอักเสบของผิวหนัง อาจเกิดจากการสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้ระคายผิวหนัง หรือสัมผัสกับกิ้งกือบางชนิดที่หลั่งสารพิษดังกล่าวก็ได้ครับ ซึ่งการรักษาหลังสัมผัสกิ้งกือ คือการล้างด้วยน้ำและสบู่ แต่หากเกิดการอักเสบของผิวหนังลุกลาม ควรให้การรักษาโดยการใช้ยาสเตียรอยด์ทาครับ”
ดังนั้น เมื่อรู้สาเหตุที่แท้จริงและการรักษาการอักเสบของแผลจากคุณหมอกันแล้ว คุณแม่ก็หายห่วงได้เลยว่า “กิ้งกือไม่กัด” แต่จะมีสารพิษที่อาจส่งผลระคายเคืองต่อผิวหนังลูกน้อยได้ ดังนั้นขอให้ดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่ไม่น่าไว้ใจเอาไว้ให้มากที่สุดนะคะ
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!