วิตามินเค เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ถ้าขาดวิตามินเค จะทำให้เกิดภาวะมีเลือดออกในเด็กแรกเกิดได้ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิต
รู้หรือไม่? ทารกที่ขาด “วิตามินเค” เสี่ยงตายจากโรคเลือดออก
วิตามินเค คืออะไร?
วิตามินเค เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน ร่างกายมนุษย์สามารถ สังเคราะห์วิตามินเคได้จากแบคทีเรียภายในลำไส้ และยังได้รับจากการทานอาหารประเภทผักใบสีเขียว เนื้อสัตว์ นม และ ไข่ โดยหน้าที่หลักของวิตามินเค คือ ช่วยในกระบวนการจับตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นกลไกป้องกันการเสียชีวิตจากการสูญเสียเลือด ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคเลือดออก เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตเช่นกัน
โดยกลุ่มเสี่ยงที่มักจะมีภาวะขาดวิตามินเค ได้แก่ เด็กทารกแรกเกิด ดังนั้นจะมีการฉีดวิตามินเคให้กับทารกแรกเกิดทุกคน
ความต้องการวิตามินเค “จากอาหาร” ของเด็ก
เนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ จึงอาจสร้างวิตามินเคได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ดังนั้นเด็กทารกแรกเกิด – 18 ปี ควรได้รับวิตามินเคต่อวัน ดังนี้
- ทารกแรกคลอด – 6 เดือนควรได้รับวิตามินเค 2 ไมโครกรัม/วัน
- ทารกอายุ 7- 12 เดือนควรได้รับวิตามินเค 2.5 ไมโครกรัม/วัน
- เด็กอายุ 1- 3 ปีควรได้รับวิตามินเค 30 ไมโครกรัม/วัน
- เด็กอายุ 4 – 8 ปีควรได้รับวิตามินเค 55 ไมโครกรัม/วัน
- อายุ 9 – 13 ปีควรได้รับวิตามินเค 60 ไมโครกรัม/วัน
- วัยรุ่นอายุ 14 – 18 ปีควรได้รับวิตามินเค 75 ไมโครกรัม/วัน
ในเด็กแรกเกิด – 12 เดือน อาหารหลักที่ควรทานคือ นมแม่ แล้วทำไมยังต้องฉีดวิตามินเคให้กับทารกอีก? มาดูเหตุผลกันค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่