เตือนคุณแม่ ติดไข้ออกผื่นจากลูก กินแต่ยาเขียว เสี่ยงปอดอักเสบ - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
ติดไข้ออกผื่นจากลูก

เตือนคุณแม่ ติดไข้ออกผื่นจากลูก กินแต่ยาเขียว เสี่ยงปอดอักเสบ

account_circle
event
ติดไข้ออกผื่นจากลูก
ติดไข้ออกผื่นจากลูก

จากประสบการณ์ตรงของแม่ปานน่าจะเตือนให้คุณแม่ ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุดตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไข้ออกผื่น ผู้ใหญ่ ได้ หากปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอและภูมิคุ้มกันต่ำลง สิ่งสำคัญคือ ความประมาทที่เลือกรักษาโรคด้วยตัวเองแทนการปรึกษาแพทย์ จนเกือบต้องเป็นโรคร้ายอย่างคาดไม่ถึงแล้วค่ะ

ทำไมผู้ใหญ่ถึงติดไข้ออกผื่นจากลูก

ไข้ออกผื่น เป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางกลุ่ม ทำให้มีผดผื่นสีแดงขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มักเป็นร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น มีไข้สูง ปวดหัว เจ็บคอ และอ่อนเพลีย เป็นต้น ส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผื่นคันหรือมีตุ่มน้ำ อาจกระจายเป็นพื้นที่กว้าง หรือเป็นเฉพาะจุดขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสแต่ละชนิด

 

ลักษณะของไข้ออกผื่น
ผื่นที่ผิวหนัง เป็นจุดสีแดง เริ่มจากไรผม หน้าผาก และหลังหูก่อน แล้วจึงกระจายไปทั่วตัว

อาการของโรคแบ่งออกตามชนิดของเชื้อไวรัส ดังต่อไปนี้

  1. จากโรคหัด (measles) มักเป็นตุ่มสีขาวคล้ายสิวก่อน แล้วกลายเป็นผื่นนูนแดง ประกอบกับมีไข้ ตาแดง น้ำมูก ไอแห้ง และเจ็บคอร่วมด้วย
  2. จากโรคหัดเยอรมัน (rubella) เป็นผื่นแดงเริ่มขึ้นจากศีรษะลามมาถึงปลายเท้า พร้อมกับอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบ มีไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ หรือต่อมน้ำเหลืองโต
  3. จากโรคฟิฟธ์ (Erythema Infectiosum) มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา และลำตัว หรือปวดข้อร่วมด้วย แต่อาจไม่มีไข้
  4. จากโรคหัดกุหลาบ (Roseola Infantum) มีไข้สูง 3-5 วัน และมีผื่นสีชมพูคล้ายดอกกุหลาบตามใบหน้า ลำคอ แขนและขา แต่ไม่รู้สึกคัน
ไข้ออกผื่นติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง
โรคไข้ออกผื่น ติดต่อกันได้ง่ายมากผ่านสารคัดหลั่งต่างๆผ่านการไอ จาม

นอกจากนี้ยังมีเชื้อไวรัสอีกหลายชนิดที่ทำให้เป็นไข้ออกผื่นได้ และติดต่อกันได้ง่ายมากผ่านสารคัดหลั่งต่างๆผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสอย่างใกล้ชิด ตามปกติแล้วเด็กที่ได้รับวัคซีนโรคหัดหรือหัดเยอรมันจะสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ราว 95 % นั่นหมายความว่า ลูกน้อยจึงยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ได้อีกส่วนผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ แต่อาการไม่รุนแรง อาจมีไข้ต่ำและอ่อนเพลีย หากมีผื่นแดงขึ้นด้วยขอให้สำรวจตัวเองว่า เคยได้รับวัคซีนหรือไม่ พักผ่อนน้อย ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือกำลังป่วยด้วยโรคอื่นๆ อยู่ ซึ่งกระตุ้นให้เป็นไข้ออกผื่นแทรกซ้อนด้วยหรือไม่ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ไวรัสเอ็บสไตบาร์ พาร์โวไวรัส บี19 ผื่นชนิด AGEP  ผื่นชนิด Erythema multiforme และการติดไวรัส HIV แบบเฉียบพลัน

 

อ่านต่อ “กินยาเขียว ช่วยรักษาไข้ออกผื่นได้จริงหรือ” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up